Rebranding คืออะไร พร้อมเทคนิคการเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ดีกว่าเคย !
ในการทำธุรกิจ ทำแบรนด์สินค้าของตัวเอง การมีภาพจำหรือ Branding ที่ชัดเจน ลูกค้าเห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าแบรนด์ต้องการขายอะไร จุดเด่นสินค้าคืออะไร มีสโลแกนที่ติดหูจนจำได้ขึ้นใจ เป็นสิ่งที่ส่งผลดีกับแบรนด์อย่างมาก เพราะจะช่วยให้ลูกค้าเกิดการตระหนักรู้กับตัวแบรนด์อยู่เสมอ แต่เมื่อเวลาผ่านไปมีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย แบรนด์ของคุณอาจไม่ได้ถูกจดจดจำอีกต่อไป นี่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณอาจต้องเริ่มวางแผนทำ Rebranding แล้วล่ะ
ดังนั้น บทความนี้ จึงชวนมาทำความรู้จักกับ “รีแบรนด์ (Rebrand) คืออะไร” ส่งผลดีอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง และอะไรเป็น “สัญญาณเเตือน” ว่า ถึงเวลาที่ต้อง “รีแบรนด์” ธุรกิจคุณ Digital Factory มีคำตอบ ติดตามได้ที่นี่ !
Rebrand คืออะไร ?
Rebrand หรือ การรีแบรนด์ หมายถึง กระบวนการการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ สินค้า หรือเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนโลโก้แบรนด์ เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์สินค้า สโลแกน รวมไปถึงวิสัยทัศน์ของแบรนด์ เพื่อสร้างภาพจำและเอกลักษณ์ใหม่ๆ ให้แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด
การรีแบรนด์ดิ้งนั่นส่งผลดีกับแบรนด์ก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยง ดังนั้น คุณควรที่จะประเมินความเสี่ยงด้วยความรอบคอบ และพิจารณาว่านี่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการรีแบรนด์แล้วหรือยัง
สัญญาณเตือนถึงเวลาที่ควรตัดสินใจทำรีแบรนด์ดิ้ง
ยุคสมัยเปลี่ยนไป การสื่อสารทางการตลาดแบบเดิม อาจจะไม่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าในยุคปัจจุบัน
แบรนด์เดิมหรือกลุ่มเป้าหมายเดิม ไม่สามารถสร้างยอดขายให้เติบโตได้อีกต่อไป
ต้องการเจาะตลาดกลุ่มใหม่หรือฐานลูกค้าใหม่
ต้องการสร้างความแตกต่างให้โดดเด่นจากคู่แข่งในตลาด
ต้องการปรับปรุงภาพลักษณ์ สร้างความเชื่อมั่นและชื่อเสียงที่ดีให้กับแบรนด์
มีการควบรวมกิจการ
Rebranding มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
ก่อนที่จะเริ่มวางแผนการรีแบรนด์ดิ้ง คุณต้องรู้ก่อนว่าแบรนด์ต้องใช้กลยุทธ์การรีแบรนด์แบบไหนจึงจะเหมาะสม การรีแบรนด์แบ่งได้ 2 แบบ คือ การรีแบรนด์บางส่วน และการรีแบรนด์ใหม่ทั้งหมด
1. การรีแบรนด์บางส่วน Partial Rebranding
การรีแบรนด์บางส่วนเป็นการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงเพียงบางส่วนของแบรนด์ บางครั้งอาจเป็นการปรับเปลี่ยนแค่ภาพจำภายนอก เช่น เปลี่ยนโลโก้แบรนด์ หรือปรับเปลี่ยนแพ็กเกจผลิตภัณฑ์ ให้ภาพลักษณ์ดูทันสมัยขึ้น
2. การรีแบรนด์ใหม่ทั้งหมด Total Rebranding
กลยุทธ์การรีแบรนด์ใหม่ทั้งหมด เหมาะกับธุรกิจที่มีการปรับเปลี่ยนภายในองค์กร เช่น การควบรวมกิจการ เปลี่ยนผู้นำองค์กร หรือมีการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมขององค์กร จึงต้องใช้กลยุทธ์นี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์และวางแบรนด์ดิ้งใหม่ทั้งหมด
6 ขั้นตอนการ Rebranding ยังไงให้แบรนด์ปัง ภาพลักษณ์ดีกว่าที่เคย
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมขององค์กร
ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัตถุประสงค์ รวมไปถึงจุดเด่นของแบรนด์ ขั้นตอนนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไป แต่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะเหมือนเป็นการสร้างรากฐานให้การรีแบรนด์ครั้งนี้มีความมั่นคง และมีจุดยืนที่ชัดเจน
2. ประเมินและสำรวจคู่แข่งในตลาด
ในระหว่างที่รีแบรนด์ดิ้ง การประเมินคู่แข่งในตลาดเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ คุณควรศึกษาว่าคู่แข่งกำลังทำอะไร แบรนด์ของคุณมีจุดแข็งหรือจุดเด่นอะไรที่แตกต่างจากคู่แข่งบ้าง เพื่อนำไปต่อยอดให้การวาง Positioning แบรนด์
3. วางกลยุทธ์ให้กับแบรนด์ใหม่
เมื่อแบรนด์มีจุดประสงค์ชัดเจน และศึกษาคู่แข่งมาเป็นอย่างดีแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการวางกลยุทธ์การตลาด วางแผนการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โดยต้องวางแผนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและค่านิยมของแบรนด์ที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างแบรนด์เดิมและแบรนด์ใหม่
4. สร้าง Brand Identity ใหม่
การสร้าง Brand Identity ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อแบรนด์, การออกแบบโลโก้, การกำหนดสี CI ของแบรนด์ เป็นอีกกระบวนการที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสิ่งนี้จะถูกจดจำโดยลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย แนะนำให้สร้าง Brand Identity ที่ชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายของแบรนด์และง่ายต่อการจดจำ ก็ยิ่งทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของคุณได้ง่ายขึ้น
5. เปิดตัวแบรนด์ไหม่ให้โลกได้รับรู้
เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ได้เวลาเปิดตัวเแบรนด์เก่าในภาพลักษณ์ใหม่ให้โลกได้รับรู้ แนะนำให้วางแผนการเปิดตัวด้วยความรอบคอบ เตรียมความพร้อมเพื่อบอกให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าจุดประสงค์ของการรีแบรนด์ครั้งนี้คืออะไร ส่งผลดีกับพวกเขาอย่างไร นอกจากจะช่วยลดความสับสนของลูกค้าแล้ว ยังมีโอกาสสร้างความ Loyalty ต่อแบรนด์ได้ด้วย
6. เช็กฟีดแบ็ก
หลังจากการรีแบรนด์ใหม่และเปิดตัวแบรนด์ไปแล้ว อย่าลืมเช็กฟีดแบ็กและความคิดเห็นของลูกค้า รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการรีแบรนด์ดิ้ง และนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข จะช่วยให้แบรนด์ใหม่ของคุณประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว
ตัวอย่างการรีแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในไทย และกลับมามัดใจลูกค้าได้อีกครั้ง
1. ศรีจันทร์
แบรนด์เครื่องสำอางที่อยู่คู่กับคนไทยมายาวนานกว่า 84 ปี ตัดสินใจรีแบรนด์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2557 พร้อมเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นมากขึ้น
2. ชาตรามือ
แบรนด์ชาสัญชาติไทยที่เปิดมานานกว่า 79 ปี ได้รีแบรนด์ด้วยการปรับภาพลักษณ์ให้ทันสมัย แต่ยังคงรสชาติชากระป๋องแดงสูตรเดิมที่คุ้นตา พร้อมคิดค้นเครื่องดื่มชาใหม่ๆ จนมัดใจทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวได้อยู่หมัด
3. แม่ประนอม
จากน้ำพริกแม่บ้านสู่แบรนด์อาหารพร้อมปรุงที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ การรีแบรนด์ของแม่ประนอมเน้นไปที่การสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่น่าสนใจ สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าผ่านโซเชียลมีเดีย และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยมากขึ้น
เห็นได้ว่า การรีแบรนด์ช่วยสร้างความสดใหม่ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นตัวช่วยสะท้อนให้เห็นว่าแบรนด์ของคุณมีความมุ่งมั่น พร้อมพัฒนาเพื่อการเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ยังสร้างความตื่นเต้นให้กับกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้การแข่งขันตลาดมีความน่าสนใจขึ้นด้วย
บทสรุป
อย่างไรก็ตาม การรีแบรนด์ต้องอาศัยการวางแผน และดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนด้วยความรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับรู้และภาพจำของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์นั่นเอง ถ้าหากธุรกิจของคุณกำลังวางแผนจะทำการรีแบรนด์ดิ้ง หรือต้องการคำแนะนำเรื่องการทำการตลาดให้กับแบรนด์ใหม่ Digital Factory มีบริการรับทําการตลาดออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญช่วยวางแผน วางกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจและแบรนด์ของคุณเติบโตอย่างมั่นคง
ขอบคุณข้อมูลจาก : Sendpulse Crowdspring Taokaemai Economictimes
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
แอป Threads คืออะไร พร้อมเปรียบเทียบฟีเจอร์ Threads vs. Twitter
Threads Instagram คืออะไร ระหว่าง Threads vs. Twitter อันไหนเจ๋งกว่ากัน เผยความแตกต่างที่คุณต้องรู้! พร้อมวิธีใช้งาน Threads แบบละเอียด !
Twitter เปลี่ยนชื่อเป็น X แล้วมีฟีเจอร์ใหม่อะไรเพิ่มเติมมาบ้าง ?
X คืออะไร ? ทำไมต้องเปลี่ยนจากทวิตเตอร์ ? คำตอบอยู่ที่นี่ ! มาเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับ X ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงฟีเจอร์ใหม่ที่คุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง