Storytelling คืออะไร ถอดรหัสการเล่าเรื่องให้โดนใจลูกค้าแบบมืออาชีพ
สำหรับคำกล่าวที่ว่า “Content is King” เห็นทีว่าจะไม่ผิด ยิ่งถ้าคุณคือนักการตลาดแล้วล่ะก็ บอกเลยว่าการทำ Story Telling ดี ๆ เพื่อสร้างจุดเชื่อมโยงให้ลูกค้าสนใจในสินค้าเป็นอะไรที่สำคัญมาก เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้คนมีพฤติกรรมการเสพสื่อที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่าย หากอยากให้เป็นจุดสนใจ จะต้องสร้าง การเล่าเรื่องสตอรี่เทลลิ่ง (Storytelling) ที่ทำให้กลายเป็นไวรัลได้ งานนี้ใครที่กำลังสงสัยอยู่ว่าตนเองควรสร้าง Storytelling เรื่องอะไรดี หรือต้องใช้วิธีการเล่าเรื่อง Storytelling ยังไงดีถึงจะปัง Digital Factory หาคำตอบมาให้คุณแล้ว !
Storytelling คืออะไร ? ทำความรู้จักก่อนเริ่มทำ Storytelling Script
Storytelling คือ การบอกเล่าเรื่องราวของสิ่งต่าง ๆ โดยสื่อผ่านในรูปแบบของบทความ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผู้คนที่สนใจเกิดการคล้อยตามหรือรู้จักสินค้าเพิ่มมากขึ้น
องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง Storytelling มีอะไรบ้าง ?
1. Character (ตัวละคร)
หนังหรือภาพยนต์แต่ละเรื่องล้วนต้องมีตัวละครหลัก ตัวละครรองอย่างไร ดังนั้น การเขียน Story Telling Script ของคุณก็ต้องมีตัวละครด้วยเสมอ อย่าลืมว่าตัวละครที่สร้างขึ้น มีไว้เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายเพื่อบิวท์ให้เกิดอารมณ์ร่วมกัน
2. Plot (โครงเรื่อง)
นอกจากการสร้างละครที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่คุณต้องมีเพื่อกำหนดทิศทางของเรื่องเล่าเลยก็คือการวางโครงเรื่องว่าคุณต้องการให้เนื่อเรื่องดำเนินไปอย่างไร เหตุการณ์ไหนเกิดก่อน เหตุการณ์ไหนเกิดหลัง และในแต่ละเหตุการณ์ส่งผลอย่างไรต่อตัวละคร เป็นต้น
3. Conflict (จุดหักเห)
ในการเล่าเรื่อง หากคุณเล่าเรื่องแบบเอื่อย ๆ ไปเรื่อยแบบไม่มีจุดที่น่าสนใจอย่างจุดหักเหแล้วล่ะก็ บอกเลยว่าเนื้อเรื่องของคุณก็จะดูธรรมดา ไม่โดดเด่น แตกต่างจากคนอื่น อย่าลืมว่าปมปัญหาหรือจุดเปลี่ยนบางอย่าง ที่ทำให้ตัวละครต้องตัดสินใจครั้งใหญ่ หรือทำอะไรที่เปลี่ยนชีวิตของตนเองไปนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและสร้างแรงดึงดูดของผู้ชมได้ดี
4. Theme (แนวคิด)
หลังจากที่พยายามมาเกือบทั้งหมดแล้ว แต่คุณดันลืมจุดสำคัญที่สุดอย่างแนวคิดไปคงไม่ดีแน่ อย่าลืมว่าแนวคิดเบื้องหลังของเรื่องเล่านั้นสำคัญมาก หากไม่มีหรือข้ามผ่านไป เนื่อเรื่องของคุณจะหลงประเด็นและสร้างความสับสนให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
5. Setting (ฉาก)
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าฉากในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่ต่าง ๆ ในการถ่ายทำเพียงอย่างเดียว แต่มันยังหมายถึง “เวลาและสถานที่” ที่เรื่องราวของคุณเกิดขึ้นด้วย เช่น ถ่ายละครสินใจแนวพีเรียด Setting เป็นสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น
Storytelling มีกี่ประเภท
สมัยนี้การเล่าเรื่องหรือ Storytelling กลายเป็นเทรนด์ยอดฮิตที่ธุรกิจต่าง ๆ นิยมนำมาใช้เพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างการจดจำ และกระตุ้นยอดขาย แต่รู้ไหมว่า Storytelling จริง ๆ แล้วมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการสื่อสารกับใคร
1. เล่าเรื่องส่วนตัว (Personal storytelling)
เหมือนการแชร์เรื่องราวชีวิต ประสบการณ์ หรือความท้าทายต่าง ๆ ของเราเอง อาจจะเป็นเรื่องราวความสำเร็จจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ หรือจะเป็นเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจจากชีวิตธรรมดาๆ ก็ได้
2. เล่าเรื่องแบรนด์ (Brand storytelling)
เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน หรือมีเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับการก่อตั้ง โดยจะเน้นไปที่การเล่าเรื่องราวการเติบโต อุปสรรค และความสำเร็จของแบรนด์
3. เล่าเรื่องธุรกิจ (Business storytelling)
คล้ายกับ Brand Storytelling แต่จะเน้นไปที่การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่กว้างกว่า เช่น พนักงาน คู่ค้า หรือพาร์ทเนอร์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และกระตุ้นให้ทุกคนร่วมมือกันพัฒนาธุรกิจไปสู่เป้าหมาย
4. เล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล (Digital storytelling)
ยุคนี้ Storytelling ไปไกลกว่าแค่การเล่าผ่านตัวหนังสือแล้วนะ แต่ยังรวมถึงการใช้สื่อดิจิทัลต่าง ๆ เช่น วิดีโอ อินโฟกราฟิก หรือแม้แต่ Social Media เพื่อดึงดูดความสนใจ
แล้ว Storytelling ประเภทไหนที่ใช่สำหรับธุรกิจของคุณ? ลองคิดดูว่าธุรกิจของคุณมีเรื่องราวน่าสนใจอะไรบ้าง กลุ่มเป้าหมายของคุณเป็นใคร และต้องการสื่อสารอะไร เมื่อรู้คำตอบแล้ว คุณก็สามารถเลือก Storytelling ประเภทที่เหมาะสม นำมาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของคุณ รับรองว่าลูกค้าของคุณต้องประทับใจและจดจำแบรนด์ของคุณได้แน่นอน !
ถอดรหัสเคล็ดลับการสร้าง Storytelling ให้โดนใจลูกค้า
อย่างที่เรารู้กันดีว่า Storytelling คือ เทคนิคที่ช่วยสร้าง Brand Awareness ให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี วันนี้เราขอนำเสนอ 4 เคล็ดลับที่จะทำให้การเล่าเรื่องเพื่อธุรกจของคุณ โดนใจลูกค้า จะมีเคล็ดอะไรบ้าง ไปดูกันเลย !
1. อ่านกลุ่มเป้าหมายให้ออก !
ก่อนที่จะเริ่มทำ Storytelling Script คุณควรรวบรวมข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดก่อน ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่ ความสนใจ และพฤติกรรม เพื่อให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่สนใจเรื่องราวประมาณไหน หรือมักจะมีปัญหาเกียวกับอะไรนั่นเอง
2. สร้าง Storytelling อย่างมีเป้าหมาย
เมื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็เริ่มกำหนดเป้าหมายของการทำ Storytelling ให้เด่นชัด เช่น เล่าเรื่องประวัติผู้ก่อตั้ง เพื่อปั้นภาพลักษณ์ของผู้ก่อตั้งในฐานะนักสร้างแรงบันดาลใจ เป็นต้น
3. วางโครงเรื่อง เนื้อหา และกำหนดช่องทางการสื่อสาร
แน่นอนว่าเมื่อมีเป้าหมายแล้ว ก็อย่าลืมกำหนดโครงเรื่องและเนื้อหาของการเล่าเรื่องขึ้นมา แล้ววางแผนว่า จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางไหนเป็นหลักด้วย เพื่อที่การสื่อสารของคุณจะไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4. วัดผลเป็นประจำเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพต่อไป
ทุกการคิดและปฏิบัติตามกลยุทธ์การตลาดจะต้องมีการวัดประสิทธิภาพของมันอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อคุณปล่อยชิ้นงานออกไปบนช่องทางใดก็ตาม อย่าลืมสำรวจข้อมูลในหน้า Insights เพื่อดูว่าชิ้นงานเหล่านั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีไหมด้วย
เปิดโฉมหน้าแบรนด์ Storytelling ตัวอย่าง
หากให้พูดถึง Storytelling ตัวอย่างของแบรนด์ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ เราขอยกตัวอย่างแบรนด์ที่น่าสนใจ อย่าง “Starbucks” โดย Starbucks ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1971 ในฐานะของร้านขายเมล็ดกาแฟคั่วใหม่ในซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ต่อมาปรับปรุงเป็นบาร์กาแฟ และขยายสาขาไปทั่วโลก โดย Starbucks ได้ทำ Storytelling อัปโหลดประวัติฉบับย่อไว้บนเว็บไซต์ พร้อมทั้งออกแบบหน้าเพจ “Stories and News” ขึ้นมาเพื่อเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Starbucks และวงการกาแฟโดยเฉพาะ เพื่อให้ลูกค้าทั่วโลกได้เสพเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ผ่านเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา
บทสรุป
และนี่ก็คือสาระดี ๆ ที่เรานำมาฝากคุณในวันนี้ เชื่อว่าหลังจากที่อ่านบทความนี้จบ เราหวังว่าจะมีประโยชน์ในการนำไปคิดคอนเทนต์เพื่อต่อยอด เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ กันมากขึ้นนะ อย่าลืมว่าโฆษณาที่ดี ไม่ได้มาจากงบที่ปัง ๆ แพงเท่านั้น แต่โฆษณาที่ดีสามารถมาจากความคิดที่ครีเอทผ่าน Storytelling ได้ด้วย สนใจคอนเทนต์คุณภาพดี ช่วยให้ธุรกิจปัง ให้ Digital Factory บริการคุณสิ เพราะที่นี่เรา รับคอนเทนต์ Social Media Marketing และ รับทําการตลาดออนไลน์ทุกรูปแบบ !
ขอบคุณข้อมูลจาก : Thedigitaltips Sphereagency Stepstraining
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Influencer vs KOL คืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับแบรนด์คุณ
Influencer vs KOL คืออะไร จ้างอินฟูเอนเซอร์หรือ KOL คุ้มกว่ากัน แบบไหนที่เหมาะสมกับแคมเปญการตลาดของคุณมากที่สุด บทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับกลุ่มคนเหล่านี้กัน
อินฟลูเอนเซอร์คืออะไร อยากเริ่มต้นหารายได้จากอาชีพนี้ต้องทำยังไง
อาชีพอินฟลูเอนเซอร์คืออะไร ทำเงินได้เยอะแค่ไหน และอยากลองเป็นบ้างต้องเริ่มยังไง ? Digital Factory พร้อมพาคุณไปเจาะลึกทุกซอกทุกมุมของอาชีพที่มาแรงที่สุดในตอนนี้