Keyword คืออะไร ? รู้จักประเภทและเทคนิคการเลือกคีย์เวิร์ดสำหรับการทำ SEO
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลล้นหลาม การจะทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำนั้น จำเป็นต้องอาศัย “Keyword” เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เพราะ Keyword คือดั่งกุญแจสำคัญที่ปลดล็อคให้ผู้คนค้นพบธุรกิจของคุณท่ามกลางข้อมูลจำนวนมหาศาลบนโลกออนไลน์ หากคุณเลือกใช้ Keyword ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Keyword คืออะไร ?
“Keyword” หรือ “คำสำคัญ” คือ คำหรือกลุ่มคำที่ผู้คนพิมพ์เข้าไปในช่องค้นหาของ Google, Bing หรือเครื่องมือค้นหาอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ เปรียบเสมือนกับการใช้ Keyword เป็นตัวบอกให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจว่า ผู้ใช้กำลังมองหาอะไร เพราะการเลือกใช้ Keyword ที่ตรงกับเนื้อหา จะช่วยให้บทความหรือเว็บไซต์ปรากฏในผลการค้นหาที่ผู้คนสนใจมากขึ้นและทำให้มีคนเข้ามาอ่านมากขึ้นตามไปด้วย
Keyword มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
Keyword มีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีความสำคัญและเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้น การเข้าใจประเภทของ Keyword จะช่วยให้คุณเลือกใช้ Keyword ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1. Generic Keyword
“Generic Keyword” หรือ “คีย์เวิร์ดทั่วไป” เป็นคำหรือวลีที่ใช้ค้นหาข้อมูลในวงกว้าง ไม่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น อาหาร โทรศัพท์ ที่เที่ยว เป็นต้น
ซึ่งจุดเด่นของ Generic Keyword คือ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมหลายหัวข้อ ทำให้มีปริมาณการค้นหาสูง ซึ่งก็หมายความว่าการแข่งขันเพื่อติดอันดับบนหน้าผลการค้นหาก็จะสูงตามไปด้วย เนื่องจากมีเว็บไซต์จำนวนมากที่ใช้คำเหล่านี้ในการทำ SEO นั่นเอง
2. Niche Keyword
“Niche Keyword” หรือ “คีย์เวิร์ดเฉพาะเจาะจง” เป็นคำหรือวลีที่ใช้ค้นหาข้อมูลในหัวข้อที่แคบขึ้น และเจาะลึกลงไปในกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเฉพาะด้านมากขึ้น เช่น เสื้อผ้าแฟชั่นเกาหลีพลัสไซส์ เป็นต้น
ซึ่งจุดเด่นของ Niche Keyword คือ เป็นคำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากขึ้นกว่า Generic Keyword มีปริมาณการค้นหาน้อยกว่า และมีการแข่งขันต่ำกว่า แถมยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าอีกด้วย
3. Long-Tail Keyword
“Long-Tail Keyword” คือ “คำหรือวลีที่ประกอบด้วย 3 คำขึ้นไป” เป็นการระบุคำค้นหาที่ละเอียดและตรงจุดมากขึ้น เช่น ซื้อ iPhone 14 Pro Max ที่ไหนดี
ซึ่งจุดเด่นของ Long-Tail Keyword คือ ช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณได้อย่างตรงจุด และเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย เนื่องจากผู้ที่ค้นหา Long-Tail Keyword มักจะมีความต้องการที่ชัดเจน ทำให้มีโอกาสที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณได้ง่ายขึ้น
4. Branded Keyword
“Branded Keyword” หรือ “คีย์เวิร์ดแบรนด์” คือ คำหรือวลีที่เกี่ยวข้องกับชื่อแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของคุณโดยตรง เช่น รองเท้า Nike Air Force 1 หรือ MacBook Air M2 เป็นต้น
ซึ่งจุดเด่นของ Branded Keyword คือ ช่วยให้คุณทราบว่ามีผู้สนใจในแบรนด์ของคุณมากน้อยแค่ไหน และช่วยให้คุณวัดผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดต่างๆ ได้ แถมยังช่วยให้คุณสามารถควบคุมผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณได้อีกด้วย
5. Transactional Keyword
“Transactional Keyword” คือ “คำค้นหาที่มีเจตนาการซื้อสูง (High-Intent Keyword)” โดยผู้ใช้พิมพ์เข้าไปในช่องค้นหาเพื่อแสดงเจตนาในการซื้อ การจอง และการสมัครรับสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน เช่น ซื้อ iPhone, จองตั๋วเครื่องบิน หรือสมัครบัตรเครดิต เป็นต้น
ซึ่งจุดเด่นของ Transactional Keyword คือ ผู้ใช้ที่ค้นหาคีย์เวิร์ดเหล่านี้มีการทำการบ้านเรื่องการเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการมาแล้ว ทำให้มีความพร้อมที่จะซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านั้นแทบจะทันที
6. Informational Keyword
“Informational Keyword” คือ “คำหรือวลีที่ผู้ใช้พิมพ์เข้าไปในช่องค้นหาเพื่อค้นหาข้อมูล” หรือหาคำตอบของคำถามใดคำถามหนึ่ง โดยไม่มีเจตนาที่จะซื้อสินค้าหรือบริการในทันที เช่น วิธีทำสปาเก็ตตี้, สาเหตุของโรคเบาหวาน หรือรีวิว iPhone 16 Pro Max เป็นต้น
ซึ่งจุดเด่นของ Informational Keyword คือ เมื่อผู้ใช้ค้นหาข้อมูลและพบเว็บไซต์ของคุณ พวกเขาจะจดจำแบรนด์ของคุณได้ และอาจกลายเป็นลูกค้าของคุณในอนาคต
7. Commercial Keyword
“Commercial Keyword” คือ “คำหรือวลีที่ใช้ค้นหาก่อนตัดสินใจจ่ายเงิน” ที่ผู้ใช้พิมพ์เข้าไปในช่องค้นหาเพื่อแสดงเจตนาในการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยมักจะมีคำที่บ่งบอกถึงความต้องการในการซื้อ เช่น ซื้อ, ราคา, โปรโมชัน, เปรียบเทียบ อาทิ ซ่อม iPhone ราคา, เปรียบเทียบราคา Macbook หรือ โปรโมชัน AirPods เป็นต้น
ซึ่งจุดเด่นของ Commercial Keyword คือ ช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและความพร้อมในการซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ แถมยังช่วยให้คุณวัดผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดต่างๆ ได้อีกด้วย
8. Navigational Keyword
“Navigational Keyword” คือ “คำหรือวลีที่ผู้ใช้พิมพ์เข้าไปในช่องค้นหาเพื่อนำทางไปยังเว็บไซต์หรือหน้าเพจเฉพาะเจาะจง” ที่พวกเขารู้จักอยู่แล้ว เช่น จองตั๋วเครื่องบิน AirAsia หรือสมัครบัตรเครดิตกรุงศรี เป็นต้น
ซึ่งจุดเด่นของ Navigational Keyword คือ ช่วยให้ลูกค้าที่เคยเข้ามาใช้บริการแล้วสามารถกลับมาใช้บริการได้ง่ายขึ้น และช่วยให้คุณทราบว่ามีผู้คนค้นหาแบรนด์ของคุณมากน้อยแค่ไหน
เทคนิคการเลือกคีย์เวิร์ดสำหรับการทำ SEO
วิธีหา Keyword และเลือก Keyword ที่นิยมหรือเหมาะสมเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบนหน้าผลการค้นหาของ Google และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น
เครื่องมือที่ช่วยในการหา Keyword มีดังนี้
Google Keyword Planner เครื่องมือฟรีจาก Google ที่ช่วยให้คุณค้นหาปริมาณการค้นหาของคีย์เวิร์ดต่างๆ ได้
SEMrush เครื่องมือ SEO ที่มีฟังก์ชันในการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดคู่แข่ง และอื่นๆ
Ahrefs เครื่องมือ SEO ที่ช่วยให้คุณวิเคราะห์ Backlink และคีย์เวิร์ดของคู่แข่งได้
Ubersuggest เครื่องมือฟรีที่ช่วยให้คุณค้นหาไอเดียคีย์เวิร์ด
ส่วนเทคนิคการเลือกคีย์เวิร์ดสำหรับทำ SEO ให้ดูจาก ปริมาณการค้นหา เลือกคีย์เวิร์ดที่มีปริมาณการค้นหาสูง, ความเกี่ยวข้อง เลือกคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณโดยตรง, ความเฉพาะเจาะจง เลือกคีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายของคุณ จะช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่สนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณได้มากขึ้น และความยาวของคีย์เวิร์ด ควรเลือกใช้ทั้งคีย์เวิร์ดสั้น (Short-tail keyword) และคีย์เวิร์ดยาว (Long-tail keyword) คีย์เวิร์ดสั้นมักจะมีการแข่งขันสูง แต่คีย์เวิร์ดยาวมักมีความเฉพาะเจาะจงและแข่งขันน้อยกว่า ทำให้มีโอกาสขึ้นอันดับได้ง่ายกว่านั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จในการทำ SEO การจ้างบริษัทรับทำ SEO อาจเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะช่วยเพิ่มผู้ใช้งาน ขยายฐานลูกค้าของคุณ ทำให้เว็บไซต์ของคุณโดดเด่นบนโลกออนไลน์ แถมยังได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
เช็กด่วน ! หลีกเลี่ยงคําต้องห้ามโฆษณา Facebook ก่อนเสี่ยงโดนปิดเพจ
หมดปัญหาโฆษณาโดนแบน ! กฎเฟสบุ๊ค แคมเปญ Facebook ไม่ให้โดนปิดกั้น พร้อมวิธีหลีกเลี่ยงคําต้องห้าม Facebook ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ! มาไขข้อข้องใจไปด้วยกัน
กลยุทธ์ O2O Marketing คืออะไร มาเข้าใจคอนเซปต์การตลาดรูปแบบนี้กัน
ทำตลาดแค่ช่องทางเดียวอาจไม่พอ! มาเรียนรู้ประโยชน์จาก O2O Marketing คืออะไร O2O Marketing VS. Online Marketing ต่างกันยังไง ทำไมต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองช่องทาง