รู้จักกับ Data-Driven Marketing สำหรับวางแผนการตลาดที่เน้นข้อมูล

รู้จักกับ Data-Driven Marketing สำหรับวางแผนการตลาดที่เน้นข้อมูล

“ ตอนนี้ธุรกิจของเราก็ไปได้ดีแล้วนะ ” เชื่อว่าประโยคนี้ออกมาจากปากเจ้าของธุรกิจคนไหนนั่นแปลว่า ธุรกิจนั้นมีองประกอบที่ดี สินค้า/บริการดี ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเรายึดแผนการตลาดนี้ไปตลอดเลยแล้วกัน รับรองขายดีตลอดไปแน่ๆ ฟังดูดีใช่ไหม แต่เชื่อไหมว่ายังไม่ดีที่สุด นั่นก็เพราะจิตใจและความต้องการของผู้คน เปลี่ยนแปลงได้เสมอ แถมยังเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วอีกด้วย 

หลายคนคงเคยเห็นเทรนด์ต่างๆ ตามโซเชียล เช่น เมนูชาโคล ช่วงหนึ่งคือฮิตมากถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารหลายเมนู แต่ในปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว หรือรองเท้าผ้าใบบางรุ่นที่ผู้คนยอมต่อแถวกันหลายชั่วโมงเพื่อซื้อ แต่ตอนนี้วางเต็มชั้นไม่มีคนสนใจ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้คนเปลี่ยนใจกันได้เสมอ เทรนด์ที่วันนี้ฮิต พรุ่งนี้อาจจะกลายเป็นของล้าสมัย

ดังนั้น การเกาะติดเทรนด์และแผนการตลาดเดิมๆ อาจจะใช้ไม่ได้ผลอีกเลยในวันข้างหน้า แล้วอะไรคือสิ่งที่จะเข้ามาช่วยเจ้าของธุรกิจได้ ? คำตอบก็คือ “Data Driven Marketing” นั่นเอง


Data Driven Marketing คืออะไร

Data Driven Marketing คืออะไรกันนะ ?

Data Driven Marketing คือ การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่คุณควรให้ความสนใจเป็นพิเศษนั้นก็คือ ข้อมูลลูกค้า (Customer Data) เหตุผลที่ควรสนใจข้อมูลลูกค้าเป็นพิเศษ นั่นเป็นเพราะคุณจะต้องนำข้อมูลไปวิเคราะห์ เมื่อวิเคราะห์หาผลลัพธ์ได้แล้ว ก็จะเอาผลลัพธ์นั้นไปใช้ในการ ออกแบบ และวางแผนการตลาดให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง ซึ่งข้อมูลลูกค้าที่ต้องให้ความสำคัญก็จะเป็นพวกพฤติกรรมของลูกค้า ชอบ/ไม่ชอบอะไร ลักษณะการใช้ชีวิต ปัญหาที่ลูกค้าพบเจอ เป็นต้น



ทำไมต้องสนใจ Data Driven Marketing ?

ร้านข้าวเหนียวหมูปิ้งเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่อาจจะอาศัยแค่การสังเกต และวิเคราะห์เพียงแค่เล็กน้อยก็สามารถหาช่องทางเพิ่มยอดขายได้แล้ว แต่พอเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้น มีโครงสร้างของธุรกิจ กลุ่มเป้าหมาย และคู่แข่งมากขึ้น การเริ่มต้นจากการทำ Data Driven Marketing จะช่วยให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อทำ Data Driven Marketing นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทุกรูปแบบ ทุกมุมมองแล้ว ก็จะส่งผลให้เกิด 3 อย่างที่สำคัญกับการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ดังนี้

1. Predictive Marketing การตลาดแบบรู้ล่วงหน้า

การตลาดแบบรู้ล่วงหน้า คือ การตลาดที่ทำนายว่าลูกค้า น่าจะชอบหรือไม่ชอบอะไร แล้วลูกค้าน่าจะซื้ออะไรต่อไปในอนาคต เช่น คุณมีข้อมูลว่าลูกค้าจำนวนหนึ่งเคยเข้ามาซื้อลิปสติกในเว็บคุณ 2 ครั้ง รุ่นเดียวกันแต่คนละสี การกลับมาซื้อลิปสติกรุ่นเดิมซ้ำ ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ลูกค้าชอบเนื้อลิปสติกแบบนี้ ชอบโทนสีประมาณนี้ นั่นส่งผลให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ว่า ลิปสติกรุ่นต่อไปควรจะผลิตออกมาลักษณะใด ใช้วัตถุดิบแบบไหนนั่นเอง

2. Contextual Marketing การตลาดที่ทำให้คนอินมากขึ้น

การตลาดที่ทำให้คนอินไป คือ การตลาดแบบใส่ใจ ใส่ใจว่าลูกค้ากำลังอินกับอะไร ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลอีกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณค้นพบว่ามีคนพิมพ์ค้นหาใน Google ว่า แต่งหน้า Everyday Look นับร้อยครั้งในช่วงเทศกาลรับปริญญา ทีนี้คุณก็เล็งเห็นแล้วว่าคุณควรจะทำการตลาดอย่างไร จะผลิตโฆษณาหรือสร้างบทความแบบไหน ให้เข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ได้ อาจจะทำโฆษณาลักษณะรีวิวแต่งหน้าแบบ Everyday Look โดยหยิบเครื่องสำอางภายในแบรนด์มาใช้ให้ดู ก็ช่วยให้ลูกค้าอินกับสินค้าของแบรนด์มากขึ้นไปด้วย

3. Augmented Marketing การตลาดโดยนำเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้

การตลาดโดยนำเครื่องมือใหม่มาใช้ เครื่องมือที่ว่าก็คือ การใช้ AI ในการโต้ตอบกับลูกค้า อาจจะเป็นการนำเสนอข้อมูลสินค้า คอยตอบคำถามเบื้องต้น เพื่อที่จะให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้า และบริการได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น มีคนสนใจขอข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางมาพร้อมกันถึง 20 คน ซึ่งถ้าคุณใช้พนักงานคอยตอบคำถามกับลูกค้าทุกคน อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้า อีกทั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดในการให้ข้อมูลอีกด้วย เพราะฉะนั้นการนำเครื่องมือเข้ามาใช้ในบางโอกาส นอกจากจะลดจำนวนคนให้เหลือแค่ที่จำเป็นแล้ว ก็สามารถเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้มากขึ้นด้วย



ประโยชน์ของการทำ Data Driven Marketing ที่ช่วยให้ธุรกิจตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

จากทุกอย่างที่เล่ามาข้างต้นนั้นทำให้คุณเห็นประโยชน์ของการทำ Data Driven Marketing อย่างชัดเจนที่สุดเลย ก็คือ

1. ตรงจุด ถูกกลุ่มเป้าหมาย

ช่วยให้คุณทำการตลาดได้ตรงจุด ถูกกลุ่มเป้าหมาย สินค้าของคุณควรเจาะลูกค้ากลุ่มไหน และควรทำการตลาดแบบใดให้ทัชใจพวกเขาที่สุด 

2. ลดต้นทุนลดลง

เริ่มจากต้นทุนในการทำการตลาด พอคุณรู้และเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายแล้ว การตลาดของคุณก็จะมีแบบแผนไม่สะเปะสะปะ เงินที่ใช้ในการลงทุนแบบลองผิดลองถูกก็จะลดลงด้วย

3. ผลิตสินค้าและบริการได้ตรงกับความต้องการจริง

เมื่อคุณมีข้อมูลอยู่ในมือคุณก็จะรู้แล้วว่า สินค้าและบริการอะไรควรผลิต อะไรควรลงทุนเพิ่ม และอะไรที่ควรหยุด 

4. ยอดขายและกำไรเพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าต้นทุนในการทำการตลาดลด พนักงานเหลือเท่าที่จำเป็น ผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น ยอดขายและกำไรก็จะมากขึ้นด้วยนั่นเอง



ตัวอย่างการใช้ Data-Driven Marketing ที่เห็นผลจริง

ปัจจุบันนี้ ธุรกิจทั่วโลกกว่า 40% ที่หันมาใช้ข้อมูลเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต ส่วนนักการตลาดเองก็ไม่น้อยหน้ากันถึง 64% ที่ใช้ข้อมูลเป็นเข็มทิศในการวางแผนแคมเปญให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ! เห็นแบบนี้แล้ว คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าข้อมูลสำคัญต่อธุรกิจขนาดไหน

1. A/B Testing

A/B Testing คือ การทดลองทางการตลาดเพื่อวัดผลลัพธ์ชิ้นงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน 2 ชิ้น เช่น หน้าเว็บไซต์สองหน้าที่ต่างกันแค่ปุ่มกด แล้วให้ลูกค้าได้ลองใช้ทั้งสองเวอร์ชั่น จากนั้นก็จะมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูว่าเวอร์ชั่นไหนจะทำให้ลูกค้าสนใจและทำตามที่ต้องการมากที่สุด หรืออีกกรณีหนึ่งคือ คุณมีเสื้อผ้า 2 แบบที่อยากโปรโมต แต่ไม่รู้ว่าแบบไหนจะขายดีกว่า ? การทำ A/B Testing จะช่วยให้คุณทดลองโฆษณาทั้ง 2 แบบไปพร้อมกัน แล้วดูว่าแบบไหนได้ผลตอบรับดีกว่า จากนั้นก็เอาแบบที่ได้ผลไปใช้ต่อ

2. Customer Journey Mapping

Customer Journey Mapping คือ ขั้นตอนการสำรวจและวิเคราะห์ประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่แรกเห็นจนตัดสินใจซื้อสินค้า เพราะเหมือนกับการทำความรู้จักลูกค้าให้มากขึ้น ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และอะไรที่ทำให้เขาตัดสินใจซื้อสินค้าของคุณ เมื่อคุณมีข้อมูลเหล่านี้แล้ว ก็จะสามารถวางแผนการตลาดได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าง่ายขึ้นนั่นเอง

3. Website Personalization

Website Personalization คือ การนำข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้ามาปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดการเยี่ยมชมแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งคุณเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้ามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น เช่น ถ้าพบว่าลูกค้ามักจะคลิกเข้ามาดูสินค้าประเภทหนึ่งบ่อยๆ ก็สามารถปรับตำแหน่งของสินค้าประเภทนั้นให้เด่นชัดขึ้น เพื่อให้ลูกค้าง่ายต่อการค้นหาและตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วมากขึ้น

4. Focus on Micro-Moment

Focus on Micro-Moment คือทุกเสี้ยววินาทีเล็กๆ เป็นช่วงนาทีที่สำคัญ การทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับใช้ในการสื่อสารทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น เมื่อลูกค้าค้นหาคำว่า ’รองเท้าผ้าใบสีขาว’ ใน Google ก็จะแสดงโฆษณาที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าทันที

5. Hyper-Personalization

Hyper-Personalization คือ การตลาดแบบเฉพาะบุคคล หรือ ’การปักหมุด’ ความต้องการของลูกค้าแต่ละคน โดยนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์นั้นเข้าใจและใส่ใจพวกเขาเป็นพิเศษ  เช่น

  • ลูกค้า A ชอบรองเท้าวิ่ง อาจจะส่งข้อเสนอเกี่ยวกับรองเท้าวิ่งรุ่นใหม่ หรือโปรโมชั่นพิเศษสำหรับนักวิ่งให้
  • ลูกค้า B ชอบเครื่องสำอาง อาจจะแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เหมาะกับสภาพผิวของเขา หรือส่งคูปองส่วนลดให้ใช้

บทสรุป

จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นทำให้คุณเห็นถึงความจำเป็นของ “Data Driven Marketing” อย่างชัดเจนที่สุด คุณอาจจะบอกว่า ธุรกิจของคุณขายดีมีผลกำไรงามอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่าในยุคที่ทุกอย่างหมุนเร็วเป็นใบพัด ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมดทั้งความชอบ ความต้องการ และเทคโนโลยี เป็นการยากที่หลายธุรกิจจะยังคงขายดีโดยไม่มีการปรับตัว จริงอยู่ที่ว่าสินค้าของคุณดียังไงก็ขายได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะขายให้ดีกว่าเดิมไม่ได้นะ และหากธุรกิจใดกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญที่รับวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบมืออาชีพอยู่ ที่นี่เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ทางการตลาดคอยให้คำปรึกษา คลิก



ขอบคุณข้อมูลจาก :  Wisesight  Katalyst

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

อินฟลูเอนเซอร์คืออะไร อยากเริ่มต้นหารายได้จากอาชีพนี้ต้องทำยังไง

อาชีพอินฟลูเอนเซอร์คืออะไร ทำเงินได้เยอะแค่ไหน และอยากลองเป็นบ้างต้องเริ่มยังไง ? Digital Factory พร้อมพาคุณไปเจาะลึกทุกซอกทุกมุมของอาชีพที่มาแรงที่สุดในตอนนี้

Segmentation คืออะไร ? พิชิตใจลูกค้าอย่างไรสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ

Segmentation คืออะไร หากคุณสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้อย่างชัดเจน เพื่อให้คุณยิงธนูได้ตรงเป้าตลอด กลยุทธ์นี้คือคำตอบ

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.