ตลาดเป้าหมาย (Target Market) คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
ในทางการตลาด กลุ่มเป้าหมาย หรือ Target คือจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ก็ล้วนให้ความสำคัญกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน แต่นอกจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว การกำหนด “Target Market” ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน และหลายแบรนด์ก็มักจะมองข้ามส่วนนี้ไป แล้ว Target Market คืออะไร ทำงานอย่างไร ส่งผลดีกับแบรนด์อย่างไร วิธีเลือกตลาดเป้าหมายต้องทำอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้
Target Market หมายถึงอะไร
“ตลาดเป้าหมาย” หรือ “Target Market” หมายถึง กลุ่มตลาดที่แบรนด์ต้องการทำกลยุทธ์ทางการตลาดหรือทำโฆษณาเพื่อสื่อสาร และตอบสนองต่อความต้องการของคนกลุ่มนั้น ซึ่งตลาดเป้าหมายนี้เป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณมากที่สุด เรียกได้ว่าเป็นเหมือนกลุ่มลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์
การกำหนด Target Market ส่งผลดีอย่างไรกับแบรนด์
ช่วยกำหนดทิศทางในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนและตรงประเด็นมากขึ้น
ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่ง และการแข่งขันในตลาด ว่ามีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหน อัตราการแข่งขันสูงหรือไม่ ต้องสื่อสารอย่างไรให้แตกต่างจากคู่แข่งจนชนะใจลูกค้าได้
เมื่อมีการกำหนดตลาดเป้าหมาย จะช่วยให้รับรู้ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาด และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนการกำหนดตลาดเป้าหมาย
ในการเลือกตลาดเป้าหมาย ส่วนใหญ่มักจะใช้ STP Marketing เป็นตัวช่วยในการกำหนดตลาดเป้าหมาย และวางกลยุทธ์สื่อสารกับลูกค้า แบ่งได้ 3 ขั้นตอน ต่อไปนี้
S-Segmentation การแบ่งส่วนตลาด
T-Targeting การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
P-Positioning การวางตำแหน่งสินค้า
1. Segmentation การแบ่งส่วนตลาด
ก่อนที่จะเริ่มแบ่งส่วนตลาด ขั้นตอนแรกควรสำรวจและทำความเข้าใจตลาดก่อนว่า สินค้าเหมาะกับใคร คนกลุ่มไหนที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด รวมไปถึงทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนกลุ่มนั้นด้วย เมื่อสำรวจตลาดแล้ว ขั้นตอนถัดมา คือ การจัดกลุ่มหรือแบ่งส่วนตลาด แบ่งลูกค้าเป้าหมายที่มีความคล้ายคลึงกัน ออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนกลยุทธ์ทำการตลาด โดยส่วนใหญ่มักใช้เกณฑ์การแบ่งตลาด ดังต่อไปนี้
แบ่งกลุ่มตลาดตามข้อมูลประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ
แบ่งกลุ่มตลาดตามภูมิศาสตร์ เช่น ที่อยู่อาศัย
แบ่งกลุ่มตลาดตามพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการซื้อ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
แบ่งกลุ่มตลาดตามจิตวิทยา เช่น ความสนใจ ค่านิยม ความเชื่อ
2. Targeting การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อแบ่งส่วนตลาดแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือ การเลือกหรือกำหนดตลาดเป้าหมาย เพื่อวางแผนการทำการตลาด และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเป้าหมายที่เลือกไว้ โดยตลาดเป้าหมายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
Target Market มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
1. ตลาดเป้าหมายไม่แตกต่าง (Undifferentiated Target Marketing)
เน้นความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด เป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “กลุ่มตลาดมวลชน” หรือ “Mass Market” ตลาดเป้าหมายนี้เหมาะกับธุรกิจหรือแบรนด์สินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าสะดวกซื้อ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำอัดลม เป็นต้น
2. ตลาดเป้าหมายแตกต่าง (Differentiated Target Marketing)
ตลาดเป้าหมายแตกต่าง เน้นทำการตลาดที่แตกต่างไปจากคู่แข่ง หรือเป็นกลุ่มตลาดที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Vaseline ที่เจาะตลาด LGBTQ+ ด้วยการผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวสำหรับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ
3. ตลาดเป้าหมายมุ่งเน้นเฉพาะส่วน (Concentrated Target Marketing)
ตลาดเป้าหมายมุ่งเน้นเฉพาะส่วน จะเน้นการจับตลาดเฉพาะกลุ่มเล็ก กลุ่มย่อย หรือที่คุ้นหูกันดีว่า Niche Market เป็นกลุ่มตลาดขนาดเล็ก มีความต้องการเฉพาะเจาะจง เช่น กลุ่มคนกินมังสวิรัติ เป็นต้น
4. ตลาดเป้าหมายหลายส่วน (Multi-segment Target Marketing)
ตลาดเป้าหมายหลายส่วน คือ การแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็นหลายกลุ่ม และเข้าไปทำการตลาดในแต่ละกลุ่มด้วยผลิตภัณฑ์หรือใช้กลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างกัน เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการเพิ่มยอดขายหรือต้องการส่วนแบ่งทางการตลาด เช่น ยาสีฟันหนึ่งยี่ห้อ มักมีการทำสินค้าออกมาหลายสูตร เพื่อต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างกัน
นอกจากนี้ในการเลือกตลาดเป้าหมาย ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญหลัก ๆ 2 ข้อ ดังนี้
1. ความน่าสนใจของตลาด
ในการเลือกตลาดเป้าหมาย จำเป็นต้องดูความน่าสนใจของตลาดในหลายแง่มุม เช่น ความกว้างของตลาด อัตราการเจริญเติบโตของตลาด ศักยภาพในการสร้างยอดขายและทำกำไร ความเสถียรภาพของตลาด เป็นต้น
2. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
เมื่อเทียบกับคู่แข่ง คุณควรหาจุดเด่นหรือข้อได้เปรียบของตัวเองให้เจอ มีจุดไหนที่โดดเด่นจากคู่แข่งในตลาด เช่น เงินทุน, ศักยภาพการผลิตสินค้าหรือเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตสินค้า เป็นต้น
ในกำหนดตลาดเป้าหมาย ควรพิจารณาจากปัจจัยสำคัญทั้ง 2 ข้อควบคู่กัน จะยิ่งทำให้การแข่งขันในตลาดมีความน่าสนใจมากขึ้น
3. Positioning การวางตำแหน่งสินค้า
ขั้นตอนสุดท้ายคือการวางตำแหน่งสินค้า เป็นขั้นตอนที่จะสร้างแนวคิดของสินค้าให้กลุ่มเป้าหมายและคู่แข่งได้รับรู้ โดยอาศัยการเปรียบเทียบและวิเคราะห์คู่แข่ง ว่าสินค้านี้เหมาะกับลูกค้าแบบไหน มีจุดเด่นที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าเกิดกระบวนการตัดสินใจ และเกิดการซื้อสินค้าขึ้น ในการวาง Positioning ของสินค้า อาจใช้เครื่องมือที่ชื่อ Perceptual Map ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้จากการวิจัยทางการตลาด ด้วยการสอบถามลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายว่า ลูกค้ามองเห็นภาพสินค้าของแบรนด์เป็นแบบไหน เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด เช่น เป็นสินค้าราคาถูกหรือแพง เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพหรือไม่ เป็นต้น
บทสรุป
กลยุทธ์ STP Marketing นับว่าเป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์และแบ่งส่วนตลาดนิยมใช้กัน เพราะช่วยให้เข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภค สื่อสารได้ตรงจุด และยังทำให้ได้ข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาสินค้าอีกด้วย จะเห็นได้ว่าการเลือกตลาดเป้าหมายนั้นมีประโยชน์และสำคัญมากกว่าที่คิด เพราะช่วยให้แบรนด์เจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และวางตำแหน่งของสินค้าได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และยังช่วยให้แบรนด์ต่อยอดในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้ง่าย และที่สำคัญยังทำให้ไม่เสียเงินลงทุนทำการตลาดไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วย
ถ้าหากไม่มั่นใจว่าจะเลือกกลุ่มเป้าหมายและตลาดเป้าหมายยังไงให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ Digital Factory มีบริการรับวางแผนการตลาดแบบครบวงจร พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาจากนักการตลาดที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Old-book.ru.ac Hootsuite Marketing Everywhere by Anothai
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
กลยุทธ์ O2O Marketing คืออะไร มาเข้าใจคอนเซปต์การตลาดรูปแบบนี้กัน
ทำตลาดแค่ช่องทางเดียวอาจไม่พอ! มาเรียนรู้ประโยชน์จาก O2O Marketing คืออะไร O2O Marketing VS. Online Marketing ต่างกันยังไง ทำไมต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองช่องทาง
Google Ads คืออะไร ? ทำไมเจ้าของธุรกิจถึงควรรู้จัก
หากคุณยังไม่รู้จักโฆษณา Google Ads (AdWords) ว่าสามารถทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ทำไมเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์ใหญ่ๆ ถึงใช้เครื่องมือตัวนี้ บทความนี้มีคำตอบ!