Marketing Strategy คืออะไร พร้อมทริคลับเฉพาะ ฉบับเจ้าพ่อการตลาด

Marketing Strategy คืออะไร พร้อมทริคลับเฉพาะ ฉบับเจ้าพ่อการตลาด

ว่ากันว่า ในการทำการตลาด กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต ฉะนั้นแล้วการวางกลยุทธ์ที่รัดกุมและรอบคอบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แล้ว Marketing Strategy ทำอะไรบ้าง และเจ้าของธุรกิจอย่างคุณจะต้องมีแนวคิดอย่างไรในการออกแบบกลยุทธ์การตลาดให้ปัง เพื่อเป็นแผนลับที่จะพาคุณไปสู่เป้าหมายได้ ใครที่เป็นนักการตลาดมือใหม่ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบกับปัญหานี้อยู่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณ !

Marketing Strategy คืออะไร ทำความรู้จักกับกลยุทธ์พื้นฐานที่นักการตลาดต้องรู้ !

Marketing Strategy คือ คำว่า “กลยุทธ์การตลาด” ในภาษาไทย โดยคำนี้เกิดจากการนำคำว่า “กลยุทธ์” และ “การตลาด” มารวมกัน โดยกลยุทธ์การตลาด คือ แนวทางในการทำให้สินค้า บริการ และแบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อให้มียอดขายและเกิดการเติบโตของธุรกิจ 

ว่ากันว่าในปัจจุบันมีกลยุทธ์ทางการตลาดมากมายเลยที่นักการตลาดนิยมใช้กัน แต่กลยุทธ์การตลาดแบบที่เป็นพื้นฐานที่นักการตลาดทุกคนจะต้องทราบนั้นก็คือ กลยุทธ์ Marketing Mix โดยการตลาดประเภทนี้ ในอดีตจะเป็นแบบ 4Ps ก่อน แต่ในปัจจุบันการตลาดแบบ 4Ps ไม่เพียงพออีกต่อไป จึงขยายออกมาเป็นกลยุทธ์การตลาดแบบ 7Ps และ 8Ps ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน


4Ps Marketing


1. กลยุทธ์การตลาด 4Ps Marketing

กลยุทธ์นี้เปรียบเสมือนสูตรผสมลับที่ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกใช้เพื่อดึงดูดลูกค้า เพิ่มยอดขาย และสร้างความสำเร็จ เป็นการตลาดแบบที่เน้นไปที่ตัวสินค้าและบริการเป็นหลัก ซึ่งจะประกอบไปด้วย 

  • Product (สินค้าหรือบริการ)

  • Price (ราคา)

  • Place (ช่องทางหรือสถานที่จัดจำหน่าย) 

  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) 

ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของการทำการตลาดทั่วไปเลยก็ว่าได้


7Ps Marketing


2. กลยุทธ์การตลาด 7Ps Marketing

กลยุทธ์การตลาด 7Ps เปรียบเสมือนสูตรอาหารลับฉบับพิเศษ ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากกลยุทธ์ 4Ps ดั้งเดิม เพิ่มเติมด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงใจลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และบรรลุเป้าหมายทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 7 ประการของกลยุทธ์ 7Ps ประกอบด้วย ดังนี้

  • Product (สินค้าหรือบริการ)

  • Price (ราคา)

  • Place (ช่องทางหรือสถานที่จัดจำหน่าย) 

  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) 

  • People (คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด ทั้งลูกค้า พนักงาน และพาร์ทเนอร์)

  • Process (กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า) 

  • Physical Evidence (สิ่งที่ลูกค้าจะสัมผัสได้จากเรา เช่น คุณภาพของสินค้า การบริการของพนักงาน หรือการตกแต่งร้านสวย ๆ เป็นต้น)


8Ps Marketing

3. กลยุทธ์การตลาด 8Ps Marketing

เมื่อการแข่งขันทางธุรกิจรุนแรง การสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างแบรนด์กับลูกค้า กลายเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จ กลยุทธ์การตลาดแบบ 8Ps จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่ มุ่งเน้นไปที่การสร้าง "Royalty" หรือความภักดีต่อแบรนด์ กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อซ้ำ บอกต่อ และกลายเป็นผู้สนับสนุนตัวยง ซึ่งกลยุทธ์ 8Ps ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ 8 ประการ ดังนี้

  • Product (สินค้าหรือบริการ)

  • Price (ราคา)

  • Place (ช่องทางหรือสถานที่จัดจำหน่าย) 

  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) 

  • People (คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด ทั้งลูกค้า พนักงาน และพาร์ทเนอร์)

  • Process (กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า) 

  • Physical Evidence (สิ่งที่ลูกค้าจะสัมผัสได้จากเรา เช่น คุณภาพของสินค้า การบริการของพนักงาน หรือการตกแต่งร้านสวย ๆ เป็นต้น)

  • Performance (ประสิทธิภาพของสินค้าและบริการ) 

  • Programs / Partnership (รูปแบบการให้บริการ)



8 กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ที่แนะนำว่าควรทำ จะได้ไม่ตกขบวนธุรกิจยุค 5G

เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ทุกกระแสและเทรนด์เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นยุคที่ทุกคนใช้งานโซเชียลมีเดียออนไลน์กันเป็นหลัก จากรายงานของ We Are Social ทราบว่าคนไทยนั้นมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 85.3% และอยู่ในอันดับ 23 ของโลกเลยทีเดียว นั่นจึงทำให้ธุรกจของคุณต้องแน้นการทำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มากขึ้น หากคุณอยากให้ธุรกิจเติบโตและเข้าถึงผู้คนมากกว่าเดิม และนี่คือ 8 กลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ ที่เราที่แนะนำว่าควรทำ จะได้ไม่ตกขบวนธุรกิจยุค 5G

1. SEO (Search Engine Optimization)

การทำการตลาดผ่านเครื่องมือการค้นหาอย่าง Google, Bing, Yahoo, Naver และ เว็บไซต์เพื่อการค้นหาอื่น ๆ อีกมากมาย โดยการทำ SEO นั้นจะเริ่มจากการสร้างเว็บไซต์ก่อนเพื่อเป็นฐานในการรวบรวมข้อมูล จากนั้นก็ปรับปรุงเว็บไซต์และผลิตคอนเทนต์คุณภาพที่ใช้ Keyword เป็นตัวนำผู้คนบน Search Engine ให้มาเจอกับเว็บไซต์

ข้อดีของการทำ SEO มีดังนี้

  • การเปิดการมองเห็นให้แก่เว็บไซต์

  • ติดอันดับการค้นหาในหน้าแรก

  • เพิ่มยอด Organic Traffic บนเว็บไซต์

  • สร้างความน่าเชื่อถือ และเปลี่ยน “ผู้ชม” ให้กลายเป็น “ลูกค้า” 

2. Google Ads

การทำโฆษณาผ่านช่องทาง Google Search ซึ่งจะมีการใช้ Keyword มาเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกันกับ SEO แต่กลยุทธ์นี้มีค่าใช้จ่ายในการยิงโฆษณา เพื่อทำให้เกิด Traffic เข้ามาบนเว็บไซต์ นั่นจึงทำให้มันมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Paid Search จริงอยู่ที่การทำการตลาดแบบนี้เห็นผลเลยในทันที แต่เนื่องจากมันเป็นการเสียเงิน เมื่อหยุดจ่ายเงินโฆษณาก็จะหยุดลงทันที การทำการตลาดด้วยกลยุทธ์นี้จึงไม่ยั่งยืน 

ข้อดีของการทำ Google Ads มีดังนี้

  • สร้างการรับรู้แบรนด์

  • เพิ่มยอดผู้ใช้งานบนเว็บไซต์

  • เพิ่มยอดลงทะเบียน

  • เพิ่มยอดสั่งจองสินค้า

  • เพิ่มยอดขาย

3. Facebook

คนไทยส่วนใหญ่นิยมเข้าใช้งาน Facebook เป็นประจำ ! การทำการตลาดด้วย Faceook Ads เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด เนื่องจากการทำโฆษณาของ Facebook Ads นั้น จะเน้นไปที่การทำรูปภาพและวิดีโอเพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้กลุ่มเป้าหมายหยุดอ่านโฆษณาภายในเวลาเพียงเสี้ยววินาที

ข้อดีของการทำ Facebook มีดังนี้

  • สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก 

  • ช่วยเพิ่มการมองเห็นได้ดี

  • สร้างการรับรู้ได้

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • ช่วยประกอบการพิจารณาในการซื้อสินค้า

  • ช่วยเร่งให้เกิดการซื้อสินค้า และทำให้การปิดการขายง่ายขึ้น

4. TikTok 

นอกจาก Facebbook จะเป็นแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศไทยแล้ว อีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่ฮิตตีคู่มากับ Faceook เลยก็คือ TikTok ด้วยจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และไม่มีทีท่าว่าจะน้อยลง อีกทั้งคอนเทนต์ก็ยังเป็นกระแสได้ง่าย ทำให้สินค้าตัวไหนที่เป็นไวรัลมียอดขายที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน !

ข้อดีของการทำ TikTok มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • สร้างการรับรู้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี 

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • ปิดการขายง่ายขึ้นด้วยฟีเจอร์และระบบหลังบ้านที่ดีของ TikTok

5. Social Media Marketing

จริงอยู่ที่ Platform Online อื่น ๆ อาทิ Facebook และ TikTok นั้นมีส่วนช่วยในการทำให้ธุรกิจเติบโต แต่นอกจาก 2 แพลตฟอร์มนี้แล้ว ยังมีแพลตฟอร์มอื่นอีกมากมายที่ช่วยทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและปิดการขายได้อย่างดี นั่นก็คือ X, Instagram, LinkedIn, LINE หรือ YouTube โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้จะเน้นไปที่การสร้างคอนเทนต์ให้ตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากจะเห็น โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างการรับรู้และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์

แต่การแข่งขันบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ค่อนข้างดุเดือดมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยมันสมองด้านการครีเอทีฟ หากคุณไม่แกร่งจริง ๆ บอกเลยว่า “ยาก” แนะนำให้จ้างเอเจนซี่รับทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะเข้ามาดูแลจะดีกว่า เพื่อประโยชน์สูงสุดและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ข้อดีของการทำ Social Media Marketing มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • สร้างการรับรู้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี 

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

6. e-Commerce Marketing

นี่คือกลยุทธ์การตลาดที่จะช่วยเพิ่มยอดขายของออนไลน์ให้แก่ธุรกิจโดยตรงเลยก็ว่าได้  โดยคุณอาจทำกลยุทธ์นี้บนร้านค้าของตนเอง (เว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่เปิดเอง) หรือจะทำผ่าน Marketplace อย่างพวก Lazada, Shopee, Facebook Marketplace, TikTok Shop หรือ LINE My Shop ก็ได้เช่นกัน

ข้อดีของการทำ e-Commerce Marketing มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • ปิดการขายง่ายขึ้น

7. Influencer Marketing

อาจกล่าวได้ว่ากลยุทธ์ทางการตลาดแบบนี้คือการใช้จิตวิทยาเข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากเป็นการใช้ “ผู้มีอิทธิพลทางความคิด” ในเรื่องนั้น ๆ มาโปรโมตสินค้าและแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านการแนะนำ รีวิว หรือบอกต่อ นั่นเอง เมื่อผู้ที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นได้รับชม ก็จะรู้สึก “เชื่อมั่น” ในสินค้ามากขึ้น จนเกิดการคล้อยตามและซื้อสินค้าเหล่านั้นมาใช้งานในที่สุด

ข้อดีของการทำ Influencer Marketing มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • เข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • สร้างการรับรู้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี 

  • ช่วยประกอบการพิจารณาในการซื้อสินค้า

8. Affiliate Marketing

การที่แบรนด์ให้บุคคลอื่น อาทิ บุคคลทั่วไป อินฟลูเอนเซอร์ หรือบริษัทต่าง ๆ มาโปรโมตสินค้าและขายสินค้าให้แทน โดยนายหน้าจะได้รับส่วนแบ่ง (Commission) ตามเปอร์เซ็นต์ที่แบรนด์กำหนด 

ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing มีดังนี้

  • Win-Win ทั้งสองฝ่าย

  • แบรนด์ไม่ต้องเสียเวลาโปรโมตเอง แค่รอรับออเดอร์และแพ็กสินค้าส่งเท่านั้น 

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

  • ปิดการขายง่ายขึ้น


บทสรุป

และนี่ก็คือสาระดี ๆ ที่เรานำมาฝากคุณในวันนี้ เพราะนี่คือการทำการตลาดในยุค 5G ที่ความไวเป็นเรื่องของปีศาจ กลยุทธ์การตลาด หรือ Marketing Strategy จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม อย่าลืมว่าแบรนด์ของคุณจะโตขึ้นมากแค่ไหน มียอดขายสูงเพียงใด และในระยะยาวจะต่อยอดธุรกิจไปได้ไกลหรือไม่ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการวางกลยุทธ์ทางการตลาดเป็นหลัก !

ทั้งนี้ ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่ากลยุทธ์แบบไหนดีถึงจะช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจของคุณสามารถปรึกษากับทีมผู้เชี่ยวชาญของ Digital Factory เพื่อให้เราวิเคราะห์ธุรกิจและแนะนำแนวทางในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะที่ Digital Factory พร้อมให้บริการ Social Media Marketing และ รับวางกลยุทธ์ทางการตลาด แบบครบวงจร !



ขอบคุณข้อมูลจาก :  Thedigitaltips Tumwai

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

200 ศัพท์การตลาดออนไลน์ A-Z เตรียมพร้อมสำหรับนักการตลาดมือใหม่

ศัพท์การตลาดออนไลน์ A-Z (ยกเว้น J และ X) กว่า 200 คำ พร้อมความหมายแบบเจาะลึก เข้าใจง่าย สาย Marketing สามารถเอาไปใช้ได้จริง! Digital Factory จัดให้แล้ว!

ส่องกลยุทธ์ Spotify Wrapped แคมเปญที่รู้ใจผู้ใช้จนกลายเป็นไวรัล

Spotify Wrapped สปอติฟาย เป็นการนำข้อมูลเชิงสถิติที่อยู่ในคลังออกมาใช้ และทำ Marketing แบบทางอ้อมโดยผ่านการแชร์ จะน่าสนใจอย่างไร บทความนี้จะมาขยายให้ฟัง

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.