สัญญาณเตือน ถึงเวลาเปลี่ยน Web Hosting ใหม่ที่ดีและปลอดภัยกว่า

สัญญาณเตือน ถึงเวลาเปลี่ยน Web Hosting ใหม่ที่ดีและปลอดภัยกว่า

ว่ากันว่า “ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนมีเวลาของมัน” เว็บไซต์เองก็เช่นกัน ยิ่งถ้าคุณคือนักการตลาดออนไลน์ของบริษัทที่ดูตั้งแต่ สากกะเบือ ยันเรือรบ ไม่ว่าจะเป็นงานออนไลน์ หรือ งานออฟไลน์ คุณรับจบเองหมดแล้วละก็ บอกเลยว่า งานเกี่ยวกับเว็บไซต์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณไม่ควรละเลย เพราะเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนกับหน้าบ้าน ถ้าเราละเลย ทุกอย่างก็จะพัง แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์ถึงเวลาเปลี่ยนหน้าเว็บ หรือเปลี่ยนเว็บ Hosting ใหม่ ? บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้ว !

ทำความรู้จักเกี่ยวกับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คืออะไร ?

ก่อนที่จะไปดูว่าอะไรคือสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) เราขอพาคุณไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ Web Hosting และ Hosting กันก่อน โดย “โฮสติ้ง” หรือ “Hosting” หมายถึง พื้นที่ที่มีเอาไว้เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลเว็บไซต์ทั้งหมด หากไม่มี Hosting เว็บไซต์ของคุณจะไม่สามารถออนไลน์หรือทำให้คนทั่วไปมองเห็นได้ 

นั่นจึงทำให้เจ้าของเว็บไซต์ทุกเว็บไซต์จำเป็นต้องมี Hosting โดยคุณสามารถเช่าใช้บริการได้เป็นแบบรายปี ตามขนาดพื้นที่ ตามความต้องการในการใช้งานจริงของแต่ละเว็บไซต์ เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Hosting กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สเต็ปถัดไปคือการทำความรู้จักเกี่ยวกับ Web Hosting กัน 



เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) มีหน้าที่อย่างไร ?

โดย เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ ทำหน้าที่เป็นบริการที่ผู้ให้บริการ นำเครื่องแม่ข่าย (Server) มาแบ่งพื้นที่ให้ลูกค้าทั่วไป องค์กร และ นิติบุคล ใช้เพื่อเก็บข้อมูลออนไลน์ ซึ่งเป้นรูปแบบการให้บริการเช่าพื้นที่สำหรับผู้ที่ต้องการฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ของตนเองนั้นออนไลน์อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. 

โดยที่ทางผู้ให้บริการจะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล ฯลฯ ไว้ในเครื่องเซิฟเวอร์ หรือที่เรียกกันว่าเว็บเซิฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งเว็บเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์ให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปได้เข้าชมผ่านโดเมนเนม




ประเภทของ Web Hosting

ประเภทของ Web Hosting มีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ? 

1. การเช่าพื้นที่ Server แบบส่วนตัว (Virtual Private Server Hosting)

การเช่าพื้นที่แบบมี Server ส่วนตัว คุณจะสามารถเพิ่มโปรแกรม หรือ Application ที่ใช้งานบนเว็บไซต์ได้ รวมถึงยังรองรับคนเข้าเว็บไซต์ (Traffic) จำนวนมากได้ เนื่องจากเว็บโฮสติ้งประเภทนี้มีการแบ่ง Data Transfer และ Bandwidth เอาไว้อย่างชัดเจน

2. การแบ่งพื้นที่เช่ากับเว็บไซต์อื่น (Shared Hosting)

การเช่าพื้นที่แบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ขนาดเล็กที่ไม่เน้นการใช้งานหนัก แถม Web Hosting ประเภทนี้ยังมีค่าบริการเช่าที่ถูกอีกด้วย เมื่อเทียบกับ Web Hosting ประเภทแรก แต่มีข้อเสียอยู่ตรงที่คุณจะไม่สามารถลง Application หรือโปรแกรมเพิ่มเติมได้

3. การให้เช่า Web Hosting จากผู้เช่าท่านหนึ่งสู่ผู้เช่าอีกท่านหนึ่ง (Reseller Hosting)

สำหรับ Web Hosting ประเภทนี้ มีความหมายที่ตรงตามหัวข้อเลย นั่นก็คือเป็นบริการให้เช่า Web Hosting จากผู้เช่าท่านหนึ่งสู่ผู้เช่าอีกท่านหนึ่ง โดยการแบ่งขายให้กับผู้ใช้คนอื่น ๆ อีกเป็นทอด ๆ ซึ่งผู้เช่าคนแรกสุดสามารถตั้งราคา สร้างกำไรเองได้

4. การให้บริการเช่าเซิร์ฟเวอร์แบบเหมาทั้งเครื่อง (Dedicated Server Hosting)

สำหรับ Web Hosting ที่เช่าเซิร์ฟเวอร์แบบเหมาทั้งเครื่อง เหมาะมากสำหรับการใช้งานขององค์กรหรือบริษัทที่มีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเครื่องที่สูง มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และข้อมูลที่เป็นความลับ เพราะให้บริการ Server แค่เพียงรายเดียว ทำให้มีความเสถียรและมีความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากผู้เช่าสามารถบริหารจัดการแบ่งพื้นที่เพื่อการใช้งานบน Dedicated Server ทั้งหมดได้เอง 

5. การให้บริการฝากเว็บไซต์ใน WordPress กับโฮสติ้ง (WordPress Hosting)

และสำหรับ Web Hosting ประเภทสุดท้าย เหมาะสำหรับคนที่ทำเว็บเองด้วย Wordpress แล้วต้องการให้ผู้อื่นสามารถเห็นข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการนำข้อมูลบนเว็บไซต์จากแพลตฟอร์ม WordPress ไปฝากไว้ที่ผู้ให้บริการโฮสติ้ง โดย Web Hosting ประเภทนี้ตอบโจทย์มาก สำหรับคนที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ให้สูงขึ้น

และนี่ก็คือ 5 ประเภทของ Web Hosting ที่เรานำมาฝากในวันนี้ คุณจะสังเกตได้ว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากนั้น มีแต่โฮสติ้งที่ต้องเสียเงิน แล้วโฮสติ้งฟรีล่ะ มีไหม? คำตอบก็คือ มี! แต่คุณจะต้องยอมแลกกับโฆษณามากมายบนหน้าเว็บที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ, ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในระยะยาว



6 สัญญาณเตือน ถึงเวลาเปลี่ยน Web Hosting ใหม่ที่ดีและปลอดภัยกว่า

เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Hosting และ Web Hosting เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาสู่หัวข้อสำคัญที่ทุกคนรอคอยกันเลยดีกว่า นั่นก็คือ “สัญญาณเตือนต่าง ๆ ว่าเว็บไซต์ของคุณ ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน Web Hosting แล้ว”

การจัดเก็บข้อมูลบน Web Hosting

1. ปัญหาในการจัดเก็บข้อมูลบน Web Hosting

เป็นที่ทราบกันดีว่า เว็บไซต์ที่มีไฟล์จำนวนมาก หรือมีไฟล์ขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพความละเอียดสูง อาจประสบปัญหาพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนเว็บโฮสติ้งไม่เพียงพอ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ นั่นหมายถึงโอกาสในการเอาชนะคู่แข่งทางการตลาดของคุณจะลดลงจนแทบจะเป็นศูนย์ 

2. ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ลดลง

เว็บไซต์ของคุณเคยล่มกี่ครั้ง ? 2-3% ก็ถือว่าเยอะแล้วนะ ยิ่งถ้าเป็นเว็บขายของออนไลน์ นี่คือพังแน่ๆ ! ลองนึกภาพลูกค้ากำลังจะซื้อของ แต่เว็บดันล่ม คิดดูสิว่าคุณจะต้องเสียโอกาสไปเท่าไหร่ จากประสิทธิภาพของเว็บไซต์ อาทิ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ, เว็บไซต์ล่มบ่อย ๆ และ ปัญหาหน้าเว็บเพจอื่น ๆ อีกมากมายเหล่านี้ แน่นอนว่าสาเหตุบางส่วนมักมาจากการที่ผู้ให้บริการเกิดหยุดอัปเดต หรือล้มเลิกกิจการ ดังนั้น หากเริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดี ทั้งในเรื่องของการอัปเดต และการบริการ นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเริ่มต้นสำหรับการเปลี่ยน Web Hosting

3. เว็บไซต์ไม่รองรับ SEO

ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าการทำการตลาดออนไลน์แบบ Organic ด้วยการทำ SEO นั้น ยังเป็นเรื่องที่จำเป็น หากเว็บไซต์ของคุณไม่ได้ทำไว้เพื่อรองรับ SEO แต่แรก คุณอาจต้องพิจารณาว่าจะปรึกษาผู้ให้บริการ SEO หรือ เปลี่ยน Web Hosting ที่พร้อมให้คำปรึกษาแบบครบวงจร

4. ต้องการปรับหน้าเว็บไซต์ครั้งใหญ่

การเปลี่ยนระบบปฏิบัติการของเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักเป็นสิ่งสุดท้ายที่คนจะทำ เนื่องจากวุ่นวาย เป็นการรื้อหน้าเว็บครั้งใหญ่ แต่ถ้าคุณอยากให้ธุรกิจก้าวหน้า ก้าวทันโลกแล้วล่ะก็ การยกเครื่องเว็บไซต์เพื่อทำธุรกิจในระยะยาวด้วยฟีเจอร์ใหม่ ๆ เทมเพลตที่มีเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร การทำเว็บไซต์ใหม่จาก Template Website มาเป็น Custom Website ก็เป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจได้

5. ระบบรักษาความปลอดภัยไม่เพียงพอ

เว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยสแปมหรือมัลแวร์  ไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับลูกค้า แต่ยังเสี่ยงต่อข้อมูลสำคัญของคุณอีกด้วย เว็บโฮสติ้งที่ดีจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณปลอดภัย ป้องกันภัยคุกคามต่างๆ เพื่อป้องกันแฮกเกอร์จากการฟิชชิ่งหรือแอบแฝงซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายไว้ในระบบของคุณ 

6. ไม่มีการสำรองข้อมูล

เว็บไซต์ล่ม ข้อมูลหายหมด แบบนี้เรียกว่างานเข้า !  เนื่องจากการสำรองข้อมูลมีความสำคัญเมื่อเว็บไซต์ของคุณประสบปัญหา หากบริการเว็บโฮสติ้งของคุณไม่ได้สำรองข้อมูลเว็บไซต์ของคุณเป็นประจำ เว็บไซต์ของคุณอาจเสี่ยง ! ดังนั้น โฮสติ้งที่ดีจะสำรองข้อมูลเว็บไซต์ของคุณเป็นประจำ เผื่อกรณีฉุกเฉิน จะได้กู้คืนได้ง่าย ๆ

 

บทสรุป

และนี่ก็คือสาระดี ๆ ที่เรานำมาฝากในวันนี้ หากคุณไม่ต้องการทำงานช้างอย่างการสร้างเว็บไซต์ใหม่ อย่าลืมอัปเดตเนื้อหาภายในเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย ตรวจสอบบริการหลังงานขายของผู้ให้บริการเว็บไซต์ และศึกษาหน้าเว็บไซต์ของคู่แข่งอยู่เสมอว่าเขาก้าวไปไกลถึงขั้นตอนไหนแล้ว อย่าลืมว่าการทำเว็บไซต์ใหม่นั้นต้องใช้ทั้งเงิน ทั้งเวลา แต่มันก็คุ้มค่าและดีกว่าการต้องใช้เว็บไซต์ไม่มีคุณภาพ 

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์อยู่ แล้วไม่รู้จะปรึกษาใคร ดิจิทัล แฟคตอรี่ เอเจนซี่ คือคำตอบ ! เพราะที่นี่ เราให้บริการปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์บนเว็บไซต์อย่างครบวงจร รวมถึงการรับทำเว็บไซต์ ด้วยประสบการณ์ด้านการตลาดออนไลน์กว่า 8 ปี มีทีมงานที่เชี่ยวชาญ พร้อมรับทำเว็บไซต์ทุกรูปแบบให้กับคุณ



ขอบคุณข้อมูลจาก  :  1001Click  Websiterating  Pathosting  Vpshispeed  Datatan

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

JavaScript คืออะไร ? พร้อมเรียนรู้ภาษาสคริปต์เริ่มต้นสำหรับมือใหม่

JavaScript คืออะไร พร้อมตัวอย่างคําสั่ง JavaScript ไม่ต้องมีพื้นฐานมาก่อนก็เข้าใจได้! รับรองว่าอ่านจบแล้ว คุณจะสามารถสร้างเว็บไซต์อินเทอร์แอคทีฟได้เองอย่างแน่นอน

SWOT Analysis คืออะไร พร้อมถอดรหัสการทำ SWOT สู่ความสำเร็จ

SWOT คืออะไร มีอะไรบ้าง ทำไมถึงสำคัญ ไขรหัสลับนี้ได้จะประสบความสำเร็จไหม รวมถึง SWOT ตัวอย่างธุรกิจ เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคในการทำงาน

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.