เริ่มต้นสร้างรายได้ออนไลน์ด้วย Affiliate Marketing ง่าย ๆ ไม่ง้อทุน
จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถหารายได้จากการ “ช่วยขายสินค้าออนไลน์” โดยไม่ต้องสต็อกสินค้าแบบตัวแทนจำหน่ายทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องควักกระเป๋าลงทุนด้วยตัวเอง เพียงแค่นำลิงก์สินค้ามาโปรโมตผ่านช่องทางของตัวเอง ถ้าหากมีคนกดสั่งซื้อก็รับส่วนแบ่งไปเลยทันที!
บทความนี้ Digital Factory จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “Affiliate Marketing” การตลาดออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสร้างผลประโยชน์ให้ทั้งกับเจ้าของสินค้าและคนช่วยโปรโมตแบบ Win-Win
Affiliate Marketing คืออะไร
Affiliate Marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้นายหน้าหรือตัวแทนช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการ โดยที่ตัวแทนโปรโมตสินค้าไม่ต้องลงทุนเอง ไม่ต้องสต็อกสินค้า และไม่ต้องส่งสินค้าด้วยตัวเอง เพียงแค่ใช้ช่องทางออนไลน์ในการลงโปรโมตสินค้า เช่น Facebook, X, Tiktok หรือผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
เมื่อมีคนสนใจและกดคลิกเข้าไปซื้อสินค้าจากลิงก์โปรโมตของตัวแทน นอกจากร้านค้าจะขายของได้แล้ว ตัวแทนยังจะได้รับส่วนแบ่งจากขายสินค้านั้นด้วย หรือที่เรียกกันว่า “ค่าคอมมิชชัน” โดยอาจให้ส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซนต์จากยอดขาย ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 1-20 เปอร์เซ็นต์ หรือให้เป็นค่าจ้างช่วยโปรโมตก็ได้
โมเดลของการทำ Affiliate Marketing ประกอบด้วยอะไรบ้าง
Merchant ร้านค้าหรือเจ้าของสินค้า
Publisher นายหน้าหรือตัวแทนโปรโมตสินค้า
Customer ลูกค้าที่สนใจซื้อสินค้า
ข้อดีการทำ Affiliate Marketing สำหรับเจ้าของสินค้า
มีคนช่วยโปรโมตสินค้า
ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณา
ข้อดีของการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า Affiliate Marketing
ได้รับส่วนแบ่งจากยอดขายเป็นค่าตอบแทน ยิ่งขายได้มากก็ยิ่งได้รับค่าคอมมิชชันเยอะ
ไม่ต้องลงทุนหรือสต็อกสินค้าด้วยตัวเอง
ไม่ต้องกังวลเรื่องบริการหลังการขาย
ตัวอย่างการทำ Affiliate Marketing ในไทยที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น Lazada Affiliate ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม E-Commerce ขนาดใหญ่ มีสินค้าหลากหลายหมวดหมู่ เปิดให้บุคคลทั่วไปหรืออินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงผู้ประกอบการและร้านค้า สามารถสมัครเข้าร่วมโปรแกรมเพื่อโปรโมตสินค้า โดยนำลิงก์สินค้าจากใน Lazada ไปสร้างเป็นลิงก์สำหรับ Affiliate Marketing แล้วนำไปโปรโมตผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ
การทำ Affiliate Marketing โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ
ในการทำ Affiliate Marketing ให้ประสบผลสำเร็จ ไม่ใช่แค่การนำสินค้ามาแปะลิงก์แล้วรอให้คนกดสั่งซื้อเพียงเท่านั้น แต่อาจต้องมีการวางแผน วางกลยุทธ์กันซักหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญมาก ยืนยันได้จากข้อมูลบนเว็บไซต์ Demand Sage พบว่า 95% ของคนที่ทำ Affiliate Marketing ไม่สำเร็จ นั่นเป็นเพราะพวกเขาไม่เข้าใจการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมนั่นเอง
โดยช่วงแรกของการเริ่มทำ Affiliate Marketing แนะนำให้โฟกัสไปที่ Niche Market เป็นหลัก แล้วเพราะอะไรคนกลุ่มนี้จึงสำคัญ มาหาคำตอบไปพร้อมกัน !
Niche Market คืออะไร ทำไมถึงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในการทำ Affiliate Marketing
Niche Market คือ กลุ่มเป้าหมายเล็ก ๆ หรือตลาดเฉพาะกลุ่ม เป็นส่วนหนึ่งของ Mass Market (กลุ่มตลาดใหญ่) เป็นกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะเจาะจง มีความสนใจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นับว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของการทำ Affiliate Marketing มากที่สุด เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะช่วยให้คุณเลือกสินค้าและบริการมาโปรโมตได้อย่างเหมาะสม ยิ่งเลือกสินค้ามาโปรโมตได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากเท่าไหร่ โอกาสในการขายสินค้าและได้รับค่าคอมมิชชันก็มีมากขึ้นเท่านั้น
ยกตัวอย่าง Niche Market เช่น แบรนด์เสื้อผ้าผู้หญิงมักจะทำเสื้อผ้าไซส์ S-XL เพราะเป็นไซส์มาตรฐาน ขายได้ปริมาณมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีสาวพลัสไซส์ต้องการเสื้อผ้าที่ใหญ่กว่าไซส์ XL เป็นกลุ่มตลาดเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ด้วย ในกรณีนี้สาวพลัสไซส์จึงนับเป็น Niche Market ในกลุ่มตลาดเสื้อผ้าผู้หญิงนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การเลือกกลุ่ม Niche Market เพื่อทำ Affiliate Marketing ควรเลือกให้ตรงกับความสนใจและความถนัดของตัวคุณเองด้วย เพราะจะช่วยต่อยอดในการทำคอนเทนต์และเลือกสินค้าเพื่อโปรโมตได้ง่ายกว่าสินค้าที่ไม่ถนัด เมื่อคุณทำคอนเทนต์ได้น่าสนใจ ขายของได้เยอะ ก็ยิ่งทำให้มีความน่าเชื่อถือ และยังสร้างรายได้จากการทำ Affiliate ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
Niche Market ที่เหมาะกับการทำ Affiliate Marketing
ข้อมูลบนเว็บไซต์ CHEQ ได้รวบรวมกลุ่ม Niche Market ที่เหมาะกับการทำ Affiliate Marketing และคาดว่าน่าจะทำกำไรได้สูงสุดในปี 2024 ไว้ทั้งหมด 7 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1. บริการด้านซอฟต์แวร์และสินค้าเทคโนโลยี
ตัวอย่างสินค้า : อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แกดเจ็ต, ซอฟต์แวร์หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ AI
2. การดูแลสุขภาพ
ตัวอย่างสินค้า : อาหารเสริมหรือวิตามิน, สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูร่างกาย เช่น ซาวน่า, อุปกรณ์ความเย็นบำบัด (Cryotherapy)
3. การเงินและการลงทุน
ตัวอย่างสินค้า : แอปจัดการการเงินหรือทำงบประมาณ, คริปโตเคอร์เรนซี และเทคโนโลยีบล็อกเชน, คอร์สเรียนที่เกี่ยวกับการเงิน
4. การศึกษาและ E-Learning
ตัวอย่างสินค้า : คอร์สเรียนเกี่ยวกับธุรกิจและการจัดการ, ศิลปะและการออกแบบ, การพัฒนาตนเอง และคอร์สเกี่ยวกับ Tech skills
5. การท่องเที่ยว
ตัวอย่างสินค้า : บริการรถเช่า, แพ็กเกจทัวร์, ประกันการเดินทาง, กระเป๋าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเดินทาง
6. แม่และเด็ก
ตัวอย่างสินค้า : ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก, หนังสือและหลักสูตรการเลี้ยงดูบุตร, ของเล่นเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้, เครื่องมือสำหรับติดตามพัฒนาการเด็ก
7. ความสวยความงามและแฟชั่น
ตัวอย่างสินค้า : สกินแคร์บำรุงผิว, เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์ความงามที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ, เสื้อผ้า โดยเน้นไปที่กลุ่มพลัสไซส์ และเสื้อผ้าแฟชั่น Unisex ไม่แบ่งเพศ
บทสรุป
ถ้าหากใครกำลังวางแผนหารายได้จากการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน Affiliate Marketing อาจเริ่มจากการเลือกสินค้าที่ตัวเองถนัดหรือสิ่งที่สนใจจากทั้ง 7 กลุ่ม Niche Market ตามที่กล่าวถึงด้านบนได้เลย เพราะยังสร้างยอดขายและทำรายได้อย่างต่อเนื่องในปี 2024 อย่างแน่นอน จะเห็นได้ว่า การทำ Affiliate Marketing นับว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่น่าสนใจในยุคนี้ เจ้าของสินค้าและแบรนด์มีโอกาสขายของได้มากขึ้น นายหน้าหรือตัวแทนก็มีโอกาสสร้างรายได้ออนไลน์ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินลงทุนด้วย
สำหรับเจ้าของสินค้าที่อยากสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขายด้วยการทำ Affiliate Marketing หรือสนใจทำกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ สามารถปรึกษา Digital Factory ได้ทันที ที่นี่มีบริการรับทำการตลาดออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Demandsage Cheq Partners Investopedia Similarweb
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
10 เว็บออกแบบโลโก้ฟรี ครีเอทโลโก้สวยๆ คุณภาพระดับมืออาชีพ
รวมเว็บออกแบบโลโก้ออนไลน์ฟรี ไม่มีลายน้ำ ไว้ให้คุณแล้ว ! เลือกสไตล์ได้ตามใจชอบ ปรับแต่งได้เองทุกจุด จนกว่าจะได้โลโก้ที่ใช่ ไม่ต้องมีทักษะด้านการออกแบบก็สร้างได้
Soft Skills คืออะไร ? ทำไมถึงสำคัญต่อการทำงานในโลกยุคดิจิทัล
Soft Skills คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทำงาน เผยเคล็ดลับพัฒนาทักษะ Soft Skills เหล่านี้ว่ามีอะไรบ้าง พร้อมเทคนิคการพัฒนาที่คุณสามารถนำไปใช้ได้จริงในสายอาชีพ