Segmentation คืออะไร ? พิชิตใจลูกค้าอย่างไรสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ

Segmentation คืออะไร ? พิชิตใจลูกค้าอย่างไรสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ

ปัญหาใหญ่ของการทำการตลาด ส่วนมากมักหนีไม่พ้นเรื่องของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน หรือเลือกกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กว้างจนเกินไปเหมือนหว่านแห ซึ่งหากเปรียบเทียบกลุ่มเป้าหมาย = เป้าธนู , ธุรกิจของคุณ = คันธนู แน่นอนว่า ไม่ว่าคุณจะเลือกคันธนูอย่างดี ราคาครึ่งแสน รุ่นหายากแค่ไหน ยังไงก็ไม่มีทางยิงเข้าตรงกลางของเป้าธนูได้เลย ! ฉะนั้น จะดีกว่าไหม หากคุณสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้อย่างชัดเจน เพื่อให้คุณยิงธนูได้ตรงเป้าตลอด ด้วยกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม นั่นก็คือ กลยุทธ์ STP หรือ Segmentation, Targeting และ Positioning นั่นเอง


ทำความรู้จักกับกลยุทธ์ STP (Segmentation, Targeting และ Positioning) คืออะไร ?

ภาพรวมของ STP หรือ Segmentation, Targeting, Positioning คือ กลยุทธ์พื้นฐานที่นักการตลาดทุกคนต้องรู้จักและนำไปใช้ในการวางแผนการตลาดของธุรกิจ เพราะศาสตร์นี้จะช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างตรงจุด


Segmentation หมายถึง

1. Segmentation หมายถึง ?

Segmentation หรือ Market Segmentation คือ การแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามลักษณะต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อให้เราสามารถเข้าใจพฤติกรรม ความต้องการ และความสนใจของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

*** เปรียบเทียบง่ายๆ ให้เห็นภาพ : Segmentation = ลูกบอลที่มีหลากหลายสี ***

ทำไมต้องทำ Segmentation หรือแบ่งกลุ่มตลาด ?

  • เพื่อให้เข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น : เมื่อเราแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ก็จะทำให้เราเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างชัดเจน

  • เพิ่มประสิทธิภาพการตลาด : ช่วยให้เราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่า โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจ : เมื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เราก็สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด

  • เพิ่มยอดขาย : การทำการตลาดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น

การแบ่ง Segmentation มีอะไรบ้าง ?

  • Demographic Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามข้อมูลประชากร เช่น เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ ศาสนา

  • Behavioral Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามหลักภูมิศาสตร์ เช่น ชนบท/เมือง การปกครอง สภาพภูมิอากาศ

  • Consumer Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรม เช่น ความสนใจในการซื้อ การมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์

  • Psychographic Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามหลักจิตวิทยา เช่น ลักษณะบุคลิกภาพ ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ ชั้นของสังคม


Targeting หมายถึง

2. Targeting หมายถึง ?

Targeting คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต่อยอดมาจาก Segmentation (การแบ่งกลุ่มตลาด) โดยเป็นการเลือกกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการจะเข้าถึงมากที่สุดจากกลุ่มที่เราแบ่งไว้ในขั้นตอนแรก

*** เปรียบเทียบง่ายๆ ให้เห็นภาพ : Segmentation = ลูกบอลที่มีหลากหลายสี ฉะนั้น Targeting = การเลือกหยิบลูกบอลสีที่เราต้องการ ***

ทำไมต้องทำ Targeting หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ?

  • ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า: การเล็งไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้เราใช้เงินและเวลาในการทำการตลาดได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

  • ผลตอบแทนที่สูงขึ้น : เมื่อเราเข้าถึงกลุ่มคนที่สนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราโดยตรง โอกาสที่พวกเขาจะตัดสินใจซื้อก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

  • สร้างความสัมพันธ์ : การสื่อสารที่ตรงใจจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสร้างความภักดีต่อแบรนด์

  • ลดการสื่อสารที่ไม่จำเป็น : การเลิกทำการตลาดกับกลุ่มคนที่ไม่ใช่ลูกค้าเป้าหมาย จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้

 

3. Positioning หมายถึง ?

Positioning คือ การวางตำแหน่ง ในแง่การตลาด หมายถึง การสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและแตกต่างของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์นั้นโดดเด่นและเป็นที่จดจำในตลาดที่มีคู่แข่งมากมาย

*** เปรียบเทียบง่ายๆ ให้เห็นภาพ : Positioning = การสร้างบ้านให้มีความ ‘Unique’ โดยอาจเลือกใช้วัสดุที่มีเอกลักษณ์ เช่น ไม้เก่า, อิฐเปลือย, หรือกระเบื้องลายเฉพาะตัว เพื่อให้คนอื่นจำได้ว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านของใคร ***

ทำไมต้องทำ Positioning หรือการวางตำแหน่ง ?

  • สร้างความแตกต่างและน่าจดจำ : ช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นจากคู่แข่ง ทำให้ลูกค้าจำได้ว่าแบรนด์ของคุณแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร

  • สร้างความเชื่อมโยง : สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับความต้องการหรือปัญหาของลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของคุณเข้าใจและตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้

  • สร้างความภักดีต่อแบรนด์ : การสร้างความภักดีต่อแบรนด์เป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกธุรกิจ เพราะลูกค้าที่ภักดีจะไม่เพียงแต่ซื้อซ้ำ แต่ยังเป็นเหมือนทูตแบรนด์ที่คอยบอกต่อให้คนอื่นรู้จักอีกด้วย

ตัวอย่างการทำ Positioning หรือการวางตำแหน่ง

  • การวางตำแหน่งตามคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (Functional Positioning) เช่น Nike : เน้นเรื่องของสมรรถนะ กีฬา และแรงบันดาลใจในการก้าวข้ามขีดจำกัด, Tide : เน้นประสิทธิภาพในการขจัดคราบสกปรก

  • การวางตำแหน่งตามคุณค่า (Emotional Positioning) เช่น Apple : เน้นความทันสมัย นวัตกรรม และไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง, Dove : เน้นความมั่นใจในตัวเอง ความรักในร่างกาย และความงามตามธรรมชาติ

  • การวางตำแหน่งตามกลุ่มเป้าหมาย (Target Market Positioning) เช่น Hello Kitty : เน้นกลุ่มเด็กผู้หญิงวัยรุ่นที่น่ารัก ชอบความหวาน และแฟชั่น, Harley-Davidson : เน้นกลุ่มผู้ชายที่ชอบความท้าทาย เสรีภาพ และไลฟ์สไตล์แบบร็อค


บทสรุป

และทั้งหมดนี้ ก็คือ STP (Segmentation, Targeting และ Positioning) หรือกลยุทธ์ที่ทำให้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ทั้งนี้ การทำการตลาดไม่ได้ใช้เพียงแค่กลยุทธ์ STP เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้การตลาดประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน เราจึงขอแนะนำให้คุณเลือกใช้บริการด้านการรับวางกลยุทธ์ทางการตลาด กับผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร ตอบโจทย์ทุกธุรกิจอย่าง Digital Factory เลย

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

LinkedIn Marketing คืออะไร พร้อมเผยสูตรลับสร้างโพสต์ให้โดนใจ

LinkedIn คืออะไร มีข้อดีอย่างไร ยังจำเป็นอยู่ไหมในปัจจุบัน และสำหรับธุรกิจที่สนใจอยากทำ LinkedIn Marketing ในปี 2024 ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด !

TikTok SEO คืออะไร สร้างคอนเทนต์ ปรับแต่งเนื้อหาอย่างไรให้ถูกค้นหาเจอ

หากคุณใช้ TikTok ในการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ควรพลาดบทความนี้เด็ดขาด ! เพราะเรานำสาระดี ๆ เกี่ยวกับ TikTok รวมถึง การทำ TikTok SEO มาฝากคุณแล้ว !

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.