นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) อาชีพนี้ทำอะไร พร้อมทักษะอะไรบ้างที่ควรมี
นักออกแบบกราฟิก Graphic Designer คือ การออกแบบรูปภาพเพื่อสื่อสารให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย เป็นการโฆษณาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณา ปกหนังสือนิตยสาร โลโก้สินค้า หรือรูปภาพโปรโมตสินค้าที่พบได้ตามสื่อโซเชียล และยังมีอีกมากมายก็ล้วนมาจากกราฟิกทั้งนั้น แต่คุณจะรู้จริงแท้แค่ไหนว่ากราฟิกถูกแบ่งแยกแต่ละประเภทเป็นอะไรบ้าง
และเพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่าย ๆ จึงได้เกิดบทความนี้ขึ้นมา หากใครได้อ่านจนจบ เราเชื่อว่าคุณคงเกิดไอเดียสร้างสรรค์เพื่อนำไปต่อยอดในการสร้างอาชีพนี้ได้ด้วยตัวคุณเองอย่างแน่นอน
นักออกแบบกราฟิก Graphic Designer แท้จริงแล้วทำหน้าที่อะไร ?
นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) คือ ศิลปินผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบต่าง ๆ ไม่ได้มุ่งเน้นแค่ความสวยงาม แต่สิ่งสำคัญคือการสื่อสารความหมาย ผ่านภาพและตัวอักษรให้ผู้ชมเข้าใจได้อย่างชัดเจน โดย Graphic Designer มีหน้าที่ออกแบบตัวอักษรบวกกับรูปภาพให้ดูสวยงาม และผู้ที่เห็นต้องมีความเข้าใจในรูปภาพว่าจะสื่อความหมายอะไร เช่น ภาพคำเตือน ชักชวน หรือโปรโมต ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้บรีฟอะไรมา ตัวอย่างเช่น ลูกค้าต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย Graphic Designer ก็ต้องใช้เทคนิคส่วนบุคคลออกแบบให้ตรงตามเป้าหมายของลูกค้า ซึ่งจะมีการผสมผสานระหว่างรูปภาพและข้อความเล่าเรื่องออกมาแล้วถูกเผยแพร่บนโลกอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
Graphic Designer ต้องทำงานร่วมกับใครบ้าง ?
- ลูกค้า – เพราะลูกค้าจะเป็นผู้ที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อออกไป ดังนั้น นักออกแบบจะต้องมีความคิดที่เป็นไปในทางเดียวกับลูกค้า เพื่อสร้างผลลัพธ์ให้ได้ตรงตามเป้าหมาย
- ทีมงาน – เมื่อได้รายละเอียดมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องมาวางแผนว่าใครควรทำอะไร เมื่อไหร่ และยังช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ
- Supplier – เนื่องจากการทำงานจะไม่ได้ทำแบบลูปเดิม ๆ มีงานยากง่ายปนกันไป และบางทีรายละเอียดของงานไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง อย่างเช่น การถ่ายภาพต้องใช้นางแบบเพื่อดึงดูดความน่าสนใจ จึงต้องใช้ทีมงาน (แล้วแต่งานที่ได้รับมอบหมาย)
- ผู้ประสานงาน – บางโอกาสอาจจะไม่ได้ติดต่อสื่อสารโดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีผู้ประสานงานระหว่างลูกค้ากับนักออกแบบ แต่ต้องสื่อสารกันให้ดีๆ เพราะถ้าเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนอาจจะทำให้งานเสียหาย และส่งผลที่ไม่ดีกับลูกค้าได้
แล้ว Graphic Designer ต้องใช้ทักษะอะไรบ้างล่ะ ?
- การสื่อสาร – เนื่องจากองค์ประกอบที่ใช้ตกแต่งภาพนั้นมีมากมาย ดังนั้นจะต้องมีการจัดวางข้อความที่อยู่บนรูปภาพให้พอเหมาะพอดี หากตกแต่งเยอะเกินไปจะทำให้ผู้อ่านเกิดความงงสับสนอย่างแน่นอน
- การคิดวิเคราะห์ – เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผ่านกระบวนการออกแบบให้ได้ผลลัพธ์มากที่สุด
- ความใส่ใจในรายละเอียด – ข้อความบนรูปภาพก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าต้องการสื่ออะไร หากข้อความหรือรูปภาพเกิดการผิดเพี้ยน ตัวอักษรหายไป หรือรูปภาพอยู่ไม่ตรงตำแหน่ง อาจทำให้เสียเวลาและงานเสร็จไม่ตรงกำหนด
- การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ –โปรแกรมพื้นฐานอย่าง Adobe Photoshop, Illustrator เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่นักออกแบบจะต้องรู้จักเครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรมเป็นอย่างดี
Motion Graphic Designer ต่างจาก Graphic Designer อย่างไร ?
ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย การดึงดูดความสนใจของผู้ชมกลายเป็นสิ่งที่ท้าทาย จึงทำให้ Motion Graphic Designer กลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น แต่หลายคนอาจสงสัยว่า Motion Graphic Designer ต่างจาก Graphic Designer ทั่วไปอย่างไร ? บางท่านอาจจะงง ๆ เอ๊..มันต่างกันตรงไหน เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจง่าย ๆ แบบนี้
- Graphic Designer คือ มุ่งเน้นไปที่การออกแบบภาพนิ่ง โดยใช้องค์ประกอบทางศิลปะสื่อสารผ่านรูปภาพ โลโก้ โปสเตอร์ เว็บไซต์ สัญลักษณ์ หรือสื่ออื่น ๆ โดยใช้โปรแกรมอย่าง Photoshop, Illustrator, InDesign เน้นความสวยงาม ดึงดูดสายตา และสื่อความหมาย
- Motion Graphic Designer คือ พัฒนางานจาก Graphic Designer โดยผสมผสานเทคนิคการออกแบบ เข้ากับหลักการเล่าเรื่อง ผ่านภาพ เสียง ใส่กิมมิคลูกเล่น การเคลื่อนไหว เปลี่ยนภาพนิ่งให้มีชีวิตชีวา เพื่อดึงดูดความสนใจ สร้างอารมณ์ และสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น แอนิเมชั่นตัวการ์ตูนประกอบสินค้า วิดีโอ Infographic นำเสนอข้อมูล หรือโฆษณาชิ้นสั้น ๆ
หากปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือ Graphic Designer เปรียบเสมือนกับจิตรกร ที่รังสรรค์ผลงานบนผืนผ้าใบ แต่ Motion Graphic Designer เปรียบเสมือนผู้กำกับภาพยนตร์ ที่เนรมิตเรื่องราวผ่านภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว ซึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับ Motion Graphic Designer นั้น นอกจากจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เช่นเดียวกับ Graphic Designer ทั่วไปแล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านซอฟต์แวร์ สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหว เช่น After Effects, Premiere Pro, Cinema 4D ฯลฯ รวมไปถึงทักษะการเล่าเรื่อง การตัดต่อ และการออกแบบเสียง
เราจะมาพูดถึงข้อดีของการทำ Motion Graphic กันบ้างดีกว่า
- เรื่องเล่าได้ชัดเจน การทำ Motion Graphic นั้นไม่ใช่การทำภาพเพียงภาพเดียว แต่เปรียบเสมือนเป็นลูก ๆ วีดิโอ ที่สามารถสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจและดึงดูดความน่าสนใจได้อย่างลึกซึ้ง
- ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายขึ้นบนวีดิโออันแสนสั้น นอกจากการนำเสนอด้วยภาพเคลื่อนไหวสามารถสื่อสารได้ว่าต้องการสื่ออะไร ยังบอกได้อีกว่าจะสื่อถึงใครเพียงใช้ระยะเวลาไม่เกิน 5 นาที
- คอนเทนต์ไม่น่าเบื่อ เพราะการนำเสนอด้วยภาพเคลื่อนไหวผสมผสานกับเสียงประกอบ และเทคนิคต่าง ๆ ช่วยให้คอนเทนต์น่าสนใจและยังทำให้เกิดภาพจำซึ่งเป็นผลดีต่อแบรนด์อีกด้วย
บทสรุป
Graphic Designer คือการออกแบบรูปภาพผ่านการกระบวนการคิดวิเคราะห์และเทคนิคเฉพาะด้าน เพื่อให้ตอบโจทย์ที่ต้องการจะสื่อสาร นอกเหนือจากการวาดภาพทางคอมพิวเตอร์ยังมีสิ่งที่สำคัญของนักออกแบบ คือ ความคิดสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด มาพร้อมกับหลักการในการทำงาน และแนวคิดที่ดีเลิศ หากคุณสามารถทำความเข้าใจได้ ในอนาคตเราเชื่อว่าตำแหน่ง Senior Graphic Designer และ Graphic Designer Experience อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมมือแน่นอน
และสำหรับโอกาสทางการงาน ของ Motion Graphic Designer นั้น ก็กำลังเติบโตสูงในยุคที่ผู้คนนิยมเสพสื่อผ่านหน้าจอออนไลน์ การออกแบบภาพเคลื่อนไหวจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทโฆษณา เอเจนซี่ดิจิทัล สื่อโทรทัศน์ บริษัทพัฒนาเว็บไซต์ สตูดิโอผลิตวิดีโอ ฯลฯ หากคุณมีความคิดสร้างสรรค์ ชื่นชอบการออกแบบ และหลงใหลในภาพเคลื่อนไหว อาชีพ Motion Graphic Designer อาจจะเป็นตัวเลือกที่ใช่สำหรับคุณ !
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Content Marketing คืออะไร ทำคอนเทนต์อย่างไรให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง
Content Marketing คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนวางแผนการทำคอนเทนต์อย่างชาญฉลาด เพื่อวิธีปั้นคอนเทนต์ให้ปังและวัดผลได้อย่างยั่งยื่น
Google ปรับอัลกอริทึมครั้งใหญ่ 2024 จัดการเนื้อหาสแปม คุณภาพต่ำ
Google ประกาศอัปเดตอัลกอริทึมครั้งใหญ่ เพื่อมอบประสบการณ์การค้นหาที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ เริ่มใช้งานจริง 5 พฤษภาคมนี้ โดยเน้นย้ำถึงการพัฒนาเครื่องมือ Core Ranking ให้ดียิ่งขึ้น