Content Creator คืออะไร มีหน้าที่อะไรในสายงานการตลาดออนไลน์

Content Creator คืออะไร มีหน้าที่อะไรในสายงานการตลาดออนไลน์

เมื่อพูดถึงอาชีพนักสร้างคอนเทนต์ หรือ Content Creator คนส่วนใหญ่มักจะนึงถึง อาชีพนักเขียนบทความลงโซเชียลมีเดียตลอดเลย หรือไม่ก็คิดถึงคนตัดต่อรูป วีดีโอหรือสื่อโซเชียลต่างๆ ใช่ไหม หรือบางคนอาจจะไม่รู้จักเลยว่าอาชีพคอนเทนครีเอเตอร์

Content Creator คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง บทความนี้เราจะนำเสนอว่า อาชีพ Content Creator คืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำหน้าที่อะไรบ้างในสายงานการตลาดออนไลน์ และคนที่สนใจอยากจะมาเริ่มทำงานหรือศึกษาด้านนี้ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เราลองมารู้จักสายงานอย่าง Content Creator กันเลย !


อาชีพ Content Creator คืออะไร ? 

คอนเทนครีเอเตอร์ (Content Creator) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “อาชีพนักสร้างคอนเทนต์” คือ นักสร้างสรรค์และผลิตเนื้อหาต่าง ๆ มากมายบนสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งสื่อออฟไลน์และสื่อออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์หลักในการสื่อสารเนื้อหาสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายผู้ติดตามบนช่องทางของพวกเขา หรือในอีกแง่หนึ่ง Content Creator มีคุณสมบัติเป็นผู้เล่าเรื่องราวผ่านการเขียน บทความ การทำสื่อวิดีโอ การทำรูปภาพกราฟิก หรือแม้แต่เสียง ในหัวข้อที่พวกเขาถนัด โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการสื่อสาร ดึงดูดผู้ติดตามใหม่ ๆ ที่สนใน Content เพื่อสร้างฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่น

ซึ่งคุณสามารถเห็นพวกเขาเหล่านี้ได้ในรูปแบบ 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

  • Influencer : กลุ่มนี้มีผู้ติดตามจำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย เช่น Blogger หรือ Youtuber
  • Freelance : กลุ่มนี้รับงานสร้างคอนเทนต์แบบอิสระ
  • นักผลิตคอนเทนต์ในองค์กร : กลุ่มนี้ทำงานให้กับบริษัทหรือองค์กร



Content Creator คืออะไร


Content Creator คืออะไร ? และมีกี่ประเภท

พวกคุณอาจจะสงสัยกันว่า แล้วแบบนี้อาชีพ Content Creator ต้องทำเป็นทั้งกราฟิก ทั้งเขียน ทั้งออกแบบวิดีโอเลยหรอ คำตอบก็คือไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมด เพราะคำว่า Content Creator เหมือนเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ๆ ที่สามารถแบ่งออกไปใช้ได้หลายประเภทแบ่งตามความเชียวชาญของแต่ละคน ออกมาเป็น 3 ซับเซต คือ

1. การทำคอนเทนต์ประเภทการเขียน

  • การเขียนบทความลงเว็บไซต์ หรือบล็อก
  • การเขียน Caption หรือ Coppy Writing
  • การเขียนรีวิวสถานที่ ของกิน หรืออื่นๆ ตามความถนัด
  • การผลิต E-book

2. การทำคอนเทนต์ประเภทรูปภาพ

  • การทำภาพ 3D
  • การทำ Infographic
  • การทำ Meme

3. การทำคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ

  • การทำ Youtuber
  • การทำวิดีโอ How-to
  • การ Live Streem

หลาย ๆ คนคงพอจะเห็นภาพรวมแล้วว่าอาชีพ Content Creator ทำอะไรบ้าง และอาชีพนี้มีกี่ประเภท แต่ทั้งนี้ Content Creator ที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในทุก ๆ ด้าน เพียงแค่คุณมีความรู้ความเข้าใจในแขนงที่เกี่ยวข้อง ก็สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาผลงานอย่างมีประสิทธิภาพได้เช่นเดียวกัน



Content Creator มีหน้าที่ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน

หลายคนที่ไม่รู้จัก Content Creator คุณสมบัติ ก็คงจะนึกว่าในหนึ่งวันอาชีพนี้ก็คงจะนั่งเขียนบทความอย่างเดียว หรือสายวิดีโอก็ตัดต่อวิดีโออย่างเดียวเลยหรือเปล่า? โดยจริงๆ แล้วหน้าที่ในแต่ละวันของอาชีพ Content Creator ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราได้รวบรวมมาเป็นวงกว้างๆ ช่วยให้คุณมองเห็นว่า อาชีพนี้พวกเขาทำอะไรกันบ้างในหนึ่งวัน

  • การวิเคาะห์ข้อมูลแบรนด์ หรือธุรกิจก่อนที่จะผลิตคอนเทนต์ออกมา
  • การค้นหาไอเดียใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง
  • การสร้างสรรค์ผลงาน
  • การตรวจสอบผลงาน
  • การติดตามความคืบหน้าของผลงาน



เจาะลึกในแต่ละหัวข้อของอาชีพ Content Creator กัน

1. วิเคราะห์แบรนด์เพื่อการสื่อสารคืออะไร ?

มาถึงหน้าที่แรกนั้นคนอาจจะยังสงสัยว่า Content Creator มีหน้าที่ทำแบบนี้ด้วยหรอ ไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายการตลาดหรอ? ที่ต้องมานั่งวิเคราะห์แบรนด์ ความจริงแล้วนัก Content Creator นั้นมีหน้าที่รับขอมูลจากฝ่ายการตลาดเพื่อมาวิเคราะห์แบรนด์ต่อ เมื่อนัก Content Creator คืออะไร รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเป็นใคร อายุเท่าไหร่ ชื่นชอบสิ่งไหน ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนว่าจะทำการสื่อสารผ่านคอนเทนต์ รูปแบบไหน และช่วงเวลาไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องสื่อสารอย่างไรให้ถึงใจลูกค้านั่นเอง

2. การค้นคว้าหาไอเดียใหม่ ๆ ในแต่ละวัน

Content Creator คุณสมบัติที่ควรมี คือ การแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นอีกหน้าที่ที่สำคัญมาก ๆ ของเหล่า Content Creator เพื่อจะได้นำไอเดียที่ได้นั้นมาพัฒนาและต่อยอดการผลิต เพราะการผลิตคอนเทนต์ที่สดใหม่ จะช่วยให้คนมาสนใจอ่านคอนเทนต์ และเข้ามาติดตามแบรนด์ของคุณมากขึ้นนั่นเอง

3. การวางแผนและสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ ๆ

เมื่อได้ Brainstorming กันเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่เหล่า Content Creator จะได้ลงมือทำกัน แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการผลิตงานนั้นจะต้องมีการวางแผนคอนเทนต์ให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้จัดตารางการทำงานได้ถูก ว่าวันไหน เวลาไหน ควรเริ่มงานชิ้นไหนก่อน เพื่อส่งให้ทันก่อนวัน Deadline

4. ตรวจสอบความเรียบร้อยของผลงาน

หน้าที่ต่อไปเมื่อผลงานหรือชิ้นงานของคุณออกมาเป็นรูปเป็นร่างแล้ว นั่นคือกระบวนการตรวจสอบความเรียบร้อยของผลงาน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคำผิด การตวรจสอบเนื้อหา รวมไปถึง Key Message ว่าตรงไปตามแผนที่วิเคราะห์ออกมาหรือไม่

5. ติดตามผลลัพธ์ของผลงานที่ทำ

หลังจากที่อาชีพ Content Creator ได้เผยแพร่ผลงานออกไปแล้วสักระยะหนึ่ง ก็ถึงเวลาที่ต้องมานั่งติดตามผลลัพธ์ว่า ผลงานของคุณนั้นไปได้สวยขนาดไหน และนำมาวิเคราะห์ผลเป้าหมายว่าสามารถทำได้ถึงที่วิเคราะห์ไว้หรือไม่

จะเห็นได้ว่า หนึ่งวันที่วุ่นวายแต่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ผ่านมุมมองเบื้องหลังของเหล่า Content Creator ที่เต็มไปด้วยความท้าทายและความคิดสร้างสรรค์ของ Content Creator ด้วยการ “วิเคราะห์แบรนด์” ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย คู่แข่ง และกลยุทธ์ของแบรนด์อย่างถ่องแท้ ต่อมาคือการ “ค้นคว้าหาไอเดีย” เสาะหาหัวข้อที่น่าสนใจ ตรงกับเทรนด์ และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย

เมื่อไอเดียบรรเจิด พวกเขาก็พร้อม “วางแผนและสร้างสรรค์คอนเทนต์” ผ่านรูปแบบเนื้อหาที่เหมาะสม ผลงานแต่ละชิ้นถูก “ตรวจสอบความเรียบร้อย” อย่างพิถีพิถัน ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ และปิดท้ายด้วยการ “ติดตามผลลัพธ์” วิเคราะห์ประสิทธิภาพของคอนเทนต์ เรียนรู้จากข้อมูล ปรับปรุงกลยุทธ์ และพัฒนาผลงานให้น่าสนใจยิ่งขึ้น


บทสรุป

อาชีพ Content Creator ที่คุณรู้จักไม่ได้มีแค่หน้าที่นั่งเขียนคอนเทนต์ หรือตัดต่อวิดีโอเพียงอย่างเดียว บทความนี่แสดงให้เห็นว่าอาชีพ  Content Creator ก็มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล และวางแผนงานอีกด้วย โดยต้องใช้ทักษะอย่างมาก และแน่นอนว่าการที่อยากจะเริ่มอาชีพ Content Creator นั้นจำเป็นต้องพึ่งความรู้ความสามารถ ด้านต่างๆ มาช่วยด้วย


Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

5 เหตุผลที่ควรทำ Tiktok Marketing เจาะตลาดกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่

หากคุณเป็นเจ้าของแบรนด์หรือธุรกิจ และอยากหาช่องทางการขายเพิ่มขึ้น แนะนำอ่านบทความนี้ เพื่อสามารถช่วยให้คุณสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น

7Ps Marketing คืออะไร อยากพิชิตใจลูกค้าอยู่หมัดต้องทำอย่างไรบ้าง

7Ps Marketing Mix (7Ps) คืออะไร ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps มีอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่าง 7Ps ง่ายๆ ที่นำวิธีการนี้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและพิชิตใจลูกค้าแบบอยู่หมัด

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.