7Ps Marketing คืออะไร อยากพิชิตใจลูกค้าอยู่หมัดต้องทำอย่างไรบ้าง

7Ps Marketing คืออะไร อยากพิชิตใจลูกค้าอยู่หมัดต้องทำอย่างไรบ้าง

การเริ่มต้นทำธุรกิจทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ อาจต้องมีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจอย่างเหมาะสม หนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง และทำให้ธุรกิจบางเจ้าถึงขั้นประสบความสำเร็จ ดึงดูดลูกค้าได้นับไม่ถ้วน ทั้ง ๆ ที่ขายของคล้าย ๆ กัน ? ซึ่งเคล็ดลับหนึ่งที่พวกเขามักใช้ก็คือ กลยุทธ์ “7Ps Marketing” หรือ “7Ps Marketing Mix” นั่นเอง !

แล้วเจ้ากลยุทธ์ 7Ps Marketing Mix คืออะไร มีส่วนประสมทางการตลาด 7Ps อย่างไรบ้าง ? วันนี้ Digital Factory จะมาแนะนำวิธีการนำกลยุทธ์นี้มาปรับใช้ในธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจออนไลน์ ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณครองใจลูกค้าแบบอยู่หมัด


7Ps Marketing หรือ 7Ps Marketing Mix คืออะไร


7Ps Marketing หรือ 7Ps Marketing Mix คืออะไร ? 

7Ps Marketing หรือ 7Ps Marketing Mix เป็นกลยุทธ์การตลาดที่เป็นขั้นพื้นฐานในการทำการตลาดของทุกธุรกิจ โดยจะเป็นการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นในทุกองค์ประกอบ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจของคุณประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีและมีแบบแผน ทั้งการให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ ราคาขายสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย กระบวนการ การส่งเสริมการตลาด ครอบคลุมไปถึงการบริการหลังการขาย



ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps Marketing Mix มีอะไรบ้าง ?

สำหรับเครื่องมือทางการตลาด 7Ps เป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากการตลาด 4Ps Marketing มาก่อน ที่เน้นให้ความสำคัญเฉพาะตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเป็นหลัก และมีเพียง 4 องค์ประกอบเท่านั้น อันได้แก่ Products, Price, Place และ Promotion แต่สำหรับ 7Ps Marketing จะเพิ่ม 3 องค์ประกอบเข้ามา อันได้แก่ People, Process และ Physical Evidence ซึ่งส่วนประสมทางการตลาด 7Ps นี้ ถือเป็นการเพิ่มกลยุทธ์เพื่อให้เข้ากับธุรกิจในปัจจุบัน และยังช่วยตอบสนองความต้องการให้กับกลุ่มผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แล้ว 7Ps มีอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันอย่างไร มาดูกัน

1. Product (สินค้า)

Product ในหลักการตลาด 7Ps Marketing ไม่ได้หมายถึงเพียงผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือการบริการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงลักษณะของสินค้าที่ต้องบ่งบอกความเป็น Branding ของธุรกิจคุณได้ ซึ่งจะต้องมีการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ผลตอบรับการใช้งานทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อนำมาปรับและพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือการบริการดียิ่งขึ้นไปอีก

สำหรับธุรกิจออนไลน์สามารถนำหลักการตลาด 7Ps มาปรับใช้ โดยอาจเริ่มจากการหาจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ทั้งคุณสมบัติ สรรพคุณ ลักษณะ ขนาด ปริมาณ ความทนทาน หรือจุดเด่นอื่น ๆ ที่จะช่วยบ่งบอกตัวตนของแบรนด์ได้ และยังต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ หรือคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับด้วย เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า จนนำไปสู่การกลับมาใช้บริการซ้ำ

2. Price (ราคา)

Price หรือราคาขายในการทำธุรกิจจะเป็นการคำนวณจากต้นทุน ค่าตอบแทน หรือผลกำไรที่จะต้องได้รับ หรือคาดหวังไว้ แต่ในหลักการตลาด 7Ps จำเป็นต้องคำนวณและคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ มากกว่านั้น เพราะราคามีส่วนในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เป็นอันดับต้น ๆ ต้องเป็นราคาที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจ่ายได้ และเต็มใจจ่าย หรือเป็นราคาที่อาจรวมการบริการที่ผู้บริโภคจะได้รับไว้แล้ว

อย่างเช่น หากสินค้าของคุณมีการตั้งราคาขายในเกณฑ์กลาง ๆ ทั่วไป หรือเทียบเท่ากับราคาในท้องตลาด แต่หากมีการคิดค่าบริการเพิ่มเติม เช่น ค่าขนส่ง ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการต่าง ๆ อาจทำให้ผู้บริโภคเริ่มลังเลที่จะจ่าย เพราะผู้บริโภคไม่ได้อิงจากราคาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองภาพรวมถึงคุณภาพ การบริการ ความคุ้มค่าอย่างอื่นที่ได้รับจากการซื้อผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ด้วย

สำหรับธุรกิจที่เป็นรูปแบบการซื้อขายแบบออนไลน์ จำเป็นต้องคิดค่าบริการขนส่ง อาจนำกลยุทธ์ 7Ps มาปรับใช้ เช่น การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยาของผู้ซื้อ อย่างการลงท้ายด้วยเลข 9 การตั้งราคาส่งเสริมการตลาดหรือแคมเปญ ด้วยการปรับลดราคาพิเศษ นอกจากนี้คุณยังสามารถกำหนดราคาตามจำนวนสินค้าที่ขายได้ อย่างเช่น ราคาขายปลีก ราคาขายส่ง การตั้งราคาขายโดยคำนึงถึงหลายปัจจัย และยึดหลักการตลาด 7Ps จะเป็นการรักษาฐานลูกค้าเก่าได้เป็นอย่างดี และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ในอนาคตได้อย่างเห็นผล 

3. Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย)

เมื่อมีผลิตภัณฑ์ และราคาขายแล้ว ขั้นต่อไปก็จะเป็นการมองหาช่องทางการจัดจำหน่าย หรือ Place ซึ่งในอดีตอาจมีเพียงการวางขายสินค้าบนเชลฟ์ในห้างสรรพสินค้า หรือการต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามากมาย จนสามารถวางขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ห้างสรรพสินค้า หรือหน้าร้านของตนเองเท่านั้น โดยอาจเริ่มต้นจากการวางขายในเว็บไซต์ของธุรกิจคุณก่อน

แต่หากอยากเพิ่มโอกาสในการขาย และเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์มากขึ้น จะต้องนำผลิตภัณฑ์หรือสินค้าไปวางขายบนเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่ได้รับความนิยม แต่จะต้องทำการตลาดออนไลน์ ทำการค้นคว้าศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้บริโภคก่อนทุกครั้งว่า นิยมซื้อผลิตภัณฑ์ในช่องทางใด หรือแพลตฟอร์มไหน เพราะหากเลือกใช้ช่องทางไม่เหมาะสม ก็จะไม่ส่งผลดีต่อยอดขายเลย

4. Promotion (การส่งเสริมการขาย)

Promotion หรือการส่งเสริมการตลาด ทั้งการจัดแคมเปญ หรือการทำโปรโมชัน การจัดอีเวนท์ต่าง ๆ ไปจนถึงการทำโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของ 7Ps Marketing ที่แบรนด์สามารถใช้สื่อสารกับผู้บริโภคได้โดยตรง แต่การเลือกช่องทางการสื่อสารจะต้องมีความเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจของคุณเหมาะกับการส่งเสริมการตลาดแบบใด ควรวางแผนทำออกมาในรูปแบบไหน ถึงจะสามารถสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างชัดเจนและทั่วถึง

5. People (บุคลากร)

อีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าของธุรกิจมักจะต้องพบเจออยู่เป็นประจำ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย นั่นคือการจัดการบุคลากร พนักงาน หรือ People เพื่อให้สามารถสื่อสารผลิตภัณฑ์ และส่งต่อข้อมูลของผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน รวมถึงการจัดการพนักงานในการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าตามที่คาดหวัง เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคได้รับความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีในการบริการ หลายธุรกิจจึงนิยมว่าจ้างฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลมาช่วยดูแล และจัดการบุคลากรให้เป็นไปตามความคาดหวังของแบรนด์

6. Process (กระบวนการ)

Process หรือวิธีการ กระบวนการในการให้บริการของแบรนด์ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับกลุ่มผู้บริโภค โดยจะต้องนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือการบริการ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี ทั้งการคำนึงถึง UX และ UI การยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากขึ้น การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดสินค้า ความรวดเร็วในการบริการ หรือการบริการให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ

7. Physical Evidence (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ)

Physical Evidence สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือองค์ประกอบทางกายภาพ คือ องค์ประกอบที่ผู้บริโภคจะสามารถจับต้องได้ พิสูจน์ได้ หรือต้องได้รับ โดยจะต้องเป็นสิ่งที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่การกลับมาซื้อซ้ำ ซึ่งองค์ประกอบนี้ยังถือว่าเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ทั้งการแต่งกายของพนักงาน หรือการได้รับบริการที่ดี 

แต่สำหรับโลกธุรกิจออนไลน์ จะเป็นการให้ความสำคัญกับหน้าตาเว็บไซต์โดยเฉพาะ ทั้งการออกแบบดีไซน์ สีสัน สไตล์ ช่องทางเซอร์วิสลูกค้า อย่าง Chatbot รวมไปถึงเบอร์โทรศัพท์ อีเมลสำหรับใช้ในการติดต่อ ซึ่งองค์ประกอบนี้จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี



มาดูเคล็ดลับง่าย ๆ ที่นำ 7Ps ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและพิชิตใจลูกค้าแบบอยู่หมัด

1. Product (สินค้า) : เริ่มต้น “สินค้า” ที่ใช่

  • รู้จักลูกค้า : เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจลูกค้า ว่าพวกเขาต้องการอะไร ปัญหาคืออะไร

  • สินค้าโดนใจ : พัฒนาสินค้า คุณภาพ บริการให้ตรงใจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

  • แตกต่างไม่ซ้ำใคร : สร้างจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ดึงดูดให้ลูกค้าหันมามอง

2. Price (ราคา) : กำหนดราคาที่ “โดนใจ”

  • ตั้งราคาอย่างชาญฉลาด : กำหนดราคาที่เหมาะสม คุ้มค่ากับสินค้า คุณภาพ บริการ

  • กลยุทธ์ดึงดูด : โปรโมชั่นส่วนลด ของแถม ต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • สร้างคุณค่า : ลูกค้าต้องรู้สึกว่าสินค้า คุณภาพ บริการของคุณคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย

3. Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย) : นำสินค้าไป “ใกล้ชิด” ลูกค้า

  • อยู่ที่ไหนลูกค้าก็เจอ : เลือกช่องทางที่ลูกค้าเข้าถึงง่าย

  • ออนไลน์ก็ปัง : ขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย 

  • หน้าร้านก็ดี : ตกแต่งร้านให้ดึงดูด น่าเข้า

4. Promotion (การส่งเสริมการขาย) : สื่อสาร “โดนใจ” ดึงดูดลูกค้า

  • โฆษณาให้โดนใจ : เลือกสื่อโฆษณาที่เหมาะสม ตรงกลุ่มเป้าหมาย

  • สร้างคอนเทนต์สุดปัง : ดึงดูดลูกค้าด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจ

  • กิจกรรมกระตุ้นยอดขาย : จัดกิจกรรม โปรโมชัน ลุ้นรางวัล สร้าง Engagement

5. People (บุคลากร) : ทีมงานที่ “เอาใจใส่”

  • ทีมที่ใช่ : พนักงานที่มีทักษะความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการเป็นอย่างดี

  • ฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง : พัฒนาทักษะ ความรู้ ให้พร้อมรับมือลูกค้า

  • สร้างแรงจูงใจ : สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

6. Process (กระบวนการ) : ระบบที่ “ราบรื่น”

  • สะดวกรวดเร็ว : ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่าย รวดเร็ว

  • ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก : ทุกขั้นตอนต้องราบรื่น ไร้สะดุด

  • ประสบการณ์ที่ดี : มอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ตั้งแต่ต้นจนจบ

7. Physical Evidence (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ) : สร้างประสบการณ์ที่ “ประทับใจ”

  • ดีไซน์โดนใจ : สินค้า บริการ หน้าร้าน เว็บไซต์ ต้องออกแบบมาอย่างสวยงาม ดึงดูดสายตา

  • บรรจุภัณฑ์สุดปัง : ใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบ

  • สร้างบรรยากาศ: สร้างบรรยากาศที่ดีในหน้าร้าน หรือเว็บไซต์ให้น่าจดจำ เพื่อประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์คุณ


บทสรุป

เห็นได้ว่า การปรับใช้กลยุทธ์ 7Ps Marketing สำหรับธุรกิจออฟไลน์หรือออนไลน์นั้น มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบผลสำเร็จได้เร็ว และเป็นระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น และหากอยากให้ธุรกิจของคุณเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้เร็วขึ้นอีก การมองหาบริษัทรับวางแผนกลยุทธ์การตลาดก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะ Digital Factory มีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดออนไลน์คอยให้คำแนะนำ คำปรึกษา วางแผน ลงมือทำ และรายงานประสิทธิผลที่เกิดขึ้นว่า ควรแก้ไข หรือปรับปรุงส่วนไหน อีกทั้งเราพร้อมช่วยคุณพิชิตใจลูกค้าด้วยกลยุทธ์ 7Ps Marketing ! เพื่อที่จะช่วยยกระดับแบรนด์ของคุณมีคุณภาพ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์



ขอบคุณข้อมูลจาก :  Contentshifu  Thedigitaltips

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

ChatGPT คืออะไร แชตบอทอัจฉริยะ AI เขียนบทความแทนคนได้จริงเหรอ ?

แชตบอทอัจฉริยะ AI ChatGPT คืออะไร ใช้ยังไง สามารถช่วยทำให้การทำงานเป็นเรื่องที่ง่ายและราบรื่นมากยิ่งขึ้นจริงหรือ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบเรื่องนี้ไปด้วยกัน

TikTok SEO คืออะไร สร้างคอนเทนต์ ปรับแต่งเนื้อหาอย่างไรให้ถูกค้นหาเจอ

หากคุณใช้ TikTok ในการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ควรพลาดบทความนี้เด็ดขาด ! เพราะเรานำสาระดี ๆ เกี่ยวกับ TikTok รวมถึง การทำ TikTok SEO มาฝากคุณแล้ว !

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.