Music Marketing คืออะไร ทำการตลาดวงการดนตรีอย่างไรให้พิชิตใจวัยมันส์
คุณเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจำเนื้อ หรือทำนองเพลงที่ถูกเปิดในร้านค้า รวมถึงร้านอาหารกันบ้างหรือเปล่า แล้วพวกคุณรู้ไหมว่า นั่นคือหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ช่วยสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ผ่านตัวกลางอย่าง ‘‘เสียงเพลง’’ แน่นอนว่า เสียงเพลง หรือ เสียงดนตรี เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการสื่อสารแบรนด์ที่ถูกนำมาใช้กันเยอะมากในปัจจุบัน ข้อดีของการนำเสียงเพลงเข้ามาใช้ในการทำการตลาดนั้น คือการทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกที่ทางแบรนด์ต้องการจะถ่ายทอดออกไปได้ง่ายและรวดเร็ว แม้จะฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่การทำการตลาดผ่านสิ่งที่เรียกว่าเสียงดนตรีให้พิชิตใจคนหมู่มากได้กลับเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทาย ดังนั้น กลยุทธ์ Music Marketing ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำยังไงให้แบรนด์ของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ได้ มาหาคำตอบกับเราไปด้วยกัน !
Music Marketing คืออะไร ?
หลังจากที่คุณได้คำจำกัดความคร่าวๆ เกี่ยวกับการทำการตลาดในรูปแบบของเสียงดนตรีกันไปประมาณหนึ่งแล้ว หัวข้อนี้เราขอมาขยายความหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า Music Marketing เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ดังนี้ Music Marketing คือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาด ที่ใช้เสียงเพลงในการโปรโมตสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม (แม้แต่วงดนตรีเองก็นับได้ว่าเป็นสินค้าอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน) โดยความสำคัญของ Music Marketing คือ การสร้างความจดจำให้กับแบรนด์ ไม่ว่าจุดประสงค์นั้นจะเป็นการสร้างตัวตน หรือในมุมของการสร้างรายได้ ก็สามารถเป็นได้ทั้งสิ้น
กลยุทธ์ Music Marketing เป็นอย่างไร ?
คุณเคยได้ยินสิ่งที่เรียกว่า ‘จิตวิทยากับเสียงดนตรี’ กันมาก่อนไหม แล้วรู้หรือไม่ว่า Impact ของเสียงดนตรีมีอิทธิพลกับมนุษย์เรามาตั้งแต่สมัยลืมตาดูโลกกันแล้ว
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องเปิดเพลงกล่อมลูกน้อยตั้งแต่ตอนที่อยู่ในท้อง หรือพอโตขึ้นมาได้สักพักเด็กคนนั้นก็จะเริ่มเรียนภาษาผ่านบทเพลง ก-ฮ, A-Z หรือบทเพลงฝึกทักษะการเรียนรู้ต่างๆ เมื่อบทเพลงได้ถูกเปิดซ้ำไปวนมา ก็จะส่งผลทำให้เด็กคนนั้นจดจำรายละเอียดของบทเพลงที่ได้ฟังกันมากขึ้น มีการร้องตามในบางจังหวะ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้นี่แหละคืออิทธิพลของสิ่งที่เรียกว่า จิตวิทยาของเสียงดนตรี ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทสัมผัสของมนุษย์ ผ่าน 4 องค์ประกอบหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น
1. จังหวะของดนตรี
ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วล้วนมีผลต่อการรับรู้ที่ต่างกันออกไปทั้งสิ้น จังหวะของดนตรีที่ช้า ก็จะทำให้คุณมีเวลาสำรวจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น ตรงกันข้ามกับจังหวะของดนตรีที่เร็ว ที่จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้กิจกรรมที่คุณกำลังทำอยู่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น มีแรงหึกเหิมมากขึ้น ลองยกตัวอย่าง ปฏิกริยาของคุณเวลาฟังเพลงจังหวะร็อกกันดูได้
2. แนวเพลง
รูปแบบของแนวเพลงที่ใช้ก็ส่งผลต่อการรับรู้ได้เช่นเดียวกัน สมมุติว่าคุณไปสปา แต่ทางร้านกลับเปิดเพลงแดนซ์ ก็อาจจะทำให้คุณเกิดความรู้สึกอึดอัด หรือว่าไม่ผ่อนคลายสักเท่าไหร่ แนวเพลงสบายๆ เลยกลายเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มากกว่าสำหรับการทำสปา
3. ระดับเสียง
ที่ดูเหมือนว่าจะไม่สำคัญ แต่ระดับเสียงนั้นเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการรับรู้และจดจำได้เช่นเดียวกัน เพราะสินค้าหรือบริการบางอย่างอาจจะเหมาะกับระดับเสียงเพลงที่ดัง บางอย่างอาจจะเหมาะกับระดับเสียงเพลงที่เบา ยกตัวอย่างเช่น เพลงบรรเลงที่เปิดคลอเบาๆ ระหว่างที่คุณกำลังนวด หรือทำสปา ที่จะช่วยส่งเสริมทำให้คุณเกิดความรู้สึกสบายและรีแลกซ์กับสิ่งรอบข้างได้มากกว่านั่นเอง
4. โหมดของเสียง
ไม่ว่าจะเป็นเสียงเบส เสียงนุ่ม เสียงทุ้ม หรือเสียงกระจาย ทุกโหมดของเสียงสามารถส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่างกันได้
ข้อดี Music Marketing คืออะไร ?
- ช่วยสร้างตัวตนของแบรนด์ : โดยผ่านการเชื่อมต่อทางอารมณ์ที่ส่งไปถึงผู้บริโภค อีกทั้งถ้าผู้บริโภคของคุณได้ยินเสียงเพลงนั้นอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เกิดการจดจำที่เพิ่มขึ้นได้ ยิ่งถ้าเพลงไหนมีเนื้อร้อง หรือมีการใส่เรื่องราวเข้าไปประกอบด้วย ตัวตนของแบรนด์ก็จะยิ่งชัดขึ้น
- ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม : ข้อนี้จะเห็นตัวอย่างได้ชัดในรูปแบบของวงดนตรี เพราะถ้ากลุ่มเป้าหมายมีการบริโภคผลงานจนเกิดการจดจำได้ในระดับที่ดี พวกเขาเหล่านั้นก็จะค่อยๆ กระจายการมีส่วนร่วมออกไปในช่องทางอื่นๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Social Media, แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง รวมไปถึงช่องทางการติดตามอื่น ๆ ของศิลปิน
- ช่วยส่งเสริมการขาย : ย้อนกลับไปในหัวข้อ 4 องค์ประกอบทางจิตวิทยาก่อนหน้านี้ คุณจะเห็นแล้วว่าทุกองค์ประกอบมีความเชื่อมโยงถึงกันหมด เมื่อผู้บริโภคเกิดการรับรู้และจดจำ สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นนั่นก็คือ ‘การตัดสินใจซื้อ’ แต่มีข้อแม้ที่ต้องระวังอยู่ข้อเดียวนั่นก็คือ เลือกเพลงอย่างไร ให้กลยุทธ์การตลาดผ่านเสียงเพลงของคุณ พิชิตใจคนส่วนใหญ่ได้มากที่สุด
Music Marketing ตัวอย่างการทำการตลาดผ่านเสียงเพลงที่ประสบความสำเร็จ !
1. ตัวอย่าง Music Marketing : แบรนด์ Donki
เพลงประกอบร้าน Donki ที่เชื่อว่า 90% ของคนส่วนใหญ่ที่เคยมีประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ร้านค้าแห่งนี้ แค่ได้ยินทำนอง หรือบางท่อนของดนตรี ล้วนจะต้องจำได้อย่างแน่นอน กับดนตรีประกอบร้านทำนองสนุกๆ มีท่อนร้องอันเป็นเอกลักษณ์อย่าง Don Don Don Donki
2. ตัวอย่าง Music Marketing : แบรนด์ Lactasoy
หรือจะเป็นกรณีเพลง ทรงอย่างแบด ที่ถูกนำไปรีเมกในเวอร์ชันของแบรนด์สินค้าอย่าง แลตตาซอย ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงของทาร์เก็ตที่หลากหลายมากขึ้น ผ่านศิลปินที่กำลังมีชื่อเสียงในขณะนั้นอย่าง PaperPlanes
3. ตัวอย่าง Music Marketing : แบรนด์ Buttebear
และล่าสุดกับปรากฏการณ์น้องหมีเนย (Butter Bear) Mascot ของร้าน Butter Bear ที่มีเพลงประจำตัวจังหวะสนุกสนาน ฟังครั้งเดียวก็ร้องตามได้ทันที
Music Marketing ทำอย่างไรให้พิชิตใจคนวัยมันส์ !
หนึ่งจุดที่ยาก สำหรับการทำการตลาดผ่านเสียงเพลงในยุคนี้นั่นก็คือ ‘ปริมาณของคู่แข่ง’ ดังนั้นจุดที่คุณควรจะโฟกัสเพื่อเดินหน้าปั้นกลยุทธ์ Music Marketing ให้ประสบความสำเร็จนั่นก็คือ…
- กำหนดตัวตนของแบรนด์ให้ชัดเจน : ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ของการทำการตลาดในครั้งนี้, ภาพลักษณ์ที่ต้องการสื่อสาร, กลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงสินค้าและบริการที่คุณต้องการจะโปรโมตผ่านเสียงเพลงนั้นคืออะไร สโคปออกมาให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด เพื่อที่ว่าคุณจะสามารถต่อยอดกับสิ่ง ๆ นั้นได้ง่าย และตรงกับวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้จริงๆ
- เลือกเพลงที่เหมาะสม : ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้าก้าวเท้าพลาดแค่นิดเดียว แคมเปญที่คุณกำลังทำอยู่อาจจะเกิดการสะดุดขึ้นมาได้ ซึ่งเคล็ดลับของการเลือกเพลงที่เหมาะสมในการทำการตลาด ก็มาจากการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลทุกอย่างออกมาในข้อที่ 1 นั่นเอง
- สื่อสารออกไปอย่างไรให้น่าสนใจ : บอกเลยว่าเทคนิคประกอบต่างๆ นั้นสำคัญมาก คุณอาจจะไม่ได้ทำเพลงออกมาเพียงแค่อย่างเดียว อาจจะมีมาสคอต, มิวสิกวิดีโอ หรือเนื้อร้องเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับดนตรีก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการวางแผนทำการตลาดกับบทเพลง ที่จะต้องดีไซน์ออกมาเป็นลำดับขั้นตอน จะโปรโมตผ่านช่องทางไหน เทรนด์ตอนนี้เป็นอย่างไร ทุกอย่างที่ถูกนำมาใช้ในการอ้างอิง คุณสามารถ Research หรือหาข้อมูลด้วยตัวเองได้ผ่านการเข้าไปคลุกคลีกับการตลาดในช่วงนั้น
บทสรุป
เชื่อว่าพวกคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ น่าจะพอเห็นภาพกว้างๆ ของการทำ Music Marketing กันแล้ว ว่าสิ่งไหนที่ควรโฟกัส และควรจะให้ความสำคัญในการทำการตลาดประเภทนี้ นอกเหนือจากนี้คุณยังสามารถหาไอเดียและ Inspiration จากแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วก่อนหน้านี้ได้ เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น
แต่ถ้าหากใครยังไม่แน่ใจ หรือไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำมาร์เก็ตติ้งผ่านเสียงดนตรีมาก่อน ทาง Digital Factory ของเรารับให้คำปรึกษา รวมไปถึงรับทำการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่อยากได้ทีมงานที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์คลุกคลีอยู่กับวงการ Marketing มานาน ในการเข้ามาช่วยดูแลแบรนด์ของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเราเข้ามา เพราะเรามีทีมงานคอยสแตนบายให้คำปรึกษากับคุณอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก : Talkatalka Stepstraining
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
เริ่มต้นสร้างรายได้ออนไลน์ด้วย Affiliate Marketing ง่าย ๆ ไม่ง้อทุน
บทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ Affiliate Marketing การตลาดออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสร้างผลประโยชน์ให้ทั้งกับเจ้าของสินค้าและคนช่วยโปรโมตแบบ Win-Win
CPAS หรือ Collaborative Ads คืออะไร ช่วยเพิ่มยอดขาย E-Commerce ได้อย่างไร
บทความนี้จะพาคุณไปพบกับ "CPAS" หรือ Collaborative Ads ที่จะช่วยให้คุณสร้างแคมเปญโฆษณาและวิธีการยิง CPAS ให้ตรงใจลูกค้า ทำให้สินค้าขายดีขึ้นกว่าที่เคย