Generative AI คืออะไร พลิกโฉมโลกการทำงานได้อย่างไร ?

Generative AI คืออะไร พลิกโฉมโลกการทำงานได้อย่างไร ?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ค่ะว่าการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพยังเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างแบรนด์อยู่ ซึ่งคอนเทนต์ที่ดีบางครั้งก็ต้องผ่านการวางแพลน Content Pillar ผ่านกระบวนการคิด การจัดวางข้อมูลมาอย่างละเอียด และใช้เวลาที่ค่อนข้างนาน แต่สำหรับเจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดบางท่านที่คนในทีมน้อย มีภาระงานที่เยอะ การจะสร้างคอนเทนต์ท์ที่ดีแต่ใช้เวลาคิดวิเคราะห์นานๆ อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีสักเท่าไหร่ ดังนั้น Generative AI จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ! ว่าแต่ Generative AI คืออะไร ย่อมาจากอะไร สามารถนำมาปรับใช้กับ Content Pillar หรือ ธุรกิจใดได้บ้าง Digital Factoryหาคำตอบมาให้คุณแล้วค่ะ !


Generative AI คืออะไร

Generative AI คืออะไร และมีหลักการทํางานอย่างไร ?

Generative AI หรือ AI ย่อมาจาก “Artificial Intelligence” คือ ปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการสร้างเนื้อหาใหม่ๆ คล้ายกันกับที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งความสามารถพิเศษและประโยชน์ Generative AI คือ มันถูกพัฒนาขึ้นมาผ่านการเทรนระบบจากชุดข้อมูลจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของรูปภาพ เสียง เพลง หรือโค้ด 

โดย Generative AI อาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนขยายหนึ่งของ Machine Learning ที่พิเศษกว่าเดิมเลยก็ว่าได้ จากที่ในรูปแบบเดิมจะมีการเทรนโมเดลให้สามารถคาดการณ์ และจัดหมวดหมู่ของข้อมูล สามารถพิจารณาจากแพทเทิร์นของข้อมูลที่มีอยู่เดิม จึงทำให้เจ้า Generative AI ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถระบุรูปแบบและโครงสร้างของข้อมูล จากนั้นใช้ชุดความรู้นั้นเพื่อสร้างเป็นเนื้อหาใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าทั้ง 2 อย่างนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันอยู่ดี ในแง่ของจำนวนและขนาดของการคาดการณ์หรือการสร้าง 

ยกตัวอย่างเช่น ปกติแล้ว Machine Learning จะคาดการณ์คำถัดไป ในขณะที่ Generative AI คือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้าง Paragraph หรือย่อหน้าถัดไปได้



AI vs Generative AI เหมือนหรือต่างกันยังไง ?

ในยุคที่เทคโนโลยี AI พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “AI” แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีอีกประเภทที่เรียกว่า “Generative AI” ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองในตอนนี้ แล้วในแต่ละประเภททำงานอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ “AI vs Generative AI” ว่าต่างกันอย่างไร 

1. AI หรือ Traditional AI คืออะไร

เปรียบเสมือน “ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน” ทำงานเฉพาะงานที่ได้รับการฝึกฝนมา โดยวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลลัพธ์ตามชุดข้อมูลที่มีอยู่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น

  • AI หมากรุก : วิเคราะห์กลยุทธ์และคาดเดาการเดินหมากของคู่ต่อสู้จากกฎกติกาที่มีอยู่
  • Siri หรือ Alexa : ตอบคำถามและทำงานตามคำสั่งที่ตั้งโปรแกรมไว้
  • AI แนะนำสินค้า : วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานและนำเสนอสินค้าที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้

2. Generative AI คืออะไร

Generative AI ต่างจาก AI ทั่วไปตรงที่ “สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้” โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่และข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเพิ่มเติม สำหรับ Generative AI ใช้สำหรับงานใดบ้างนั้น เราจะขอตัวอย่างง่ายๆ ให้ทุกคนเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้

  • เขียนบทความหรือแต่งนิยาย : จากข้อมูลที่ผู้ใช้กำหนด เช่น หัวข้อ เนื้อหา หรือสไตล์
  • สร้างรูปภาพ : จากภาพตัวอย่างหรือคำอธิบาย
  • แต่งเพลง : ทั้งทำนองและเนื้อร้อง
  • เขียนโค้ด : จากคำอธิบายการทำงานของโปรแกรม

สรุปง่ายๆ ว่า AI วิเคราะห์ คาดการณ์ ทำงานเฉพาะด้าน ส่วน Generative AI สร้างสรรค์ คิดค้น พัฒนาสิ่งใหม่ ทั้ง AI และ Generative AI ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ AI ประเภทใด ขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะงานร่วมด้วยนั่นเอง



ประโยชน์ของ Generative AI มีอะไรบ้าง ?

1. สร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ใหม่ๆ 

ปลดปล่อยขีดจำกัดทางความคิด สร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ๆ รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บทความ โฆษณา วิดีโอ หรือแม้แต่โค้ด เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ผ่านเครื่องมือ Generative AI ที่ใช้งานง่าย ช่วยให้คุณประหยัดเวลาและพลังงาน มุ่งมั่นทุ่มเทกับงานสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ทลายขีดจำกัดเดิมๆ ปล่อยให้ Generative AI จัดการงานซ้ำซากจำเจ อาทิ การเขียนอีเมล การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการสร้างรายงาน ช่วยให้พนักงานโฟกัสกับงานที่ท้าทายและสร้างคุณค่ามากขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่พุ่งทะยาน

3. ปลดล็อกศักยภาพ ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ

ค้นพบโอกาสและไอเดียบรรเจิดที่เหนือความคาดหมาย ผ่าน Generative AI ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็น เพลง วิดีโอ หรือแม้แต่โมเดล 3 มิติ เพียงแค่ป้อนข้อมูลหรือคำอธิบาย AI จะเนรมิตผลงานสุดพิเศษตามที่คุณต้องการ เช่น หากต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันสักตัว แต่เขียนโค้ดไม่เป็น ก็ใช้การเขียนแบบ Natural Language ในการสร้างโค้ดขึ้นมาได้ 

4. เข้าถึงลูกค้าอย่างลึกซึ้ง

เข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างถ่องแท้ ด้วย Generative AI ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า พฤติกรรม และความสนใจ ช่วยให้คุณสร้างสรรค์กลยุทธ์ทางการตลาดที่ตรงใจลูกค้า สร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด

5. พัฒนาผลิตภัณฑ์ล้ำสมัย

ทลายกรอบความคิดเดิมๆ พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างลงตัว ผ่าน Generative AI ที่สามารถออกแบบ ทดสอบ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ ช่วยให้คุณนำสินค้าที่ตรงใจลูกค้าออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว

Generative AI เปรียบเสมือนผู้ช่วยอัจฉริยะที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณสู่จุดสูงสุด และนำพาคุณไปสู่โลกแห่งอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาส ความสำเร็จ และทันสมัยมากยิ่งขึ้น



Content Pillar และการปรับใช้กับ Generative AI


“A Window to the Future of Colour” Content Pillar ตัวช่วยที่จะมาจัดระเบียบให้กับการสื่อสาร กำหนดแนวทางหรือเรื่องราวที่แบรนด์จะสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายนั้นตรงจุด ไม่หลุดโฟกัสจนเกิดเป็นการทำคอนเทนต์ที่สะเปะสะปะ


สำหรับคำถามที่ว่าการทำ Content Pillar คืออะไร สามารถใช้ควบคู่ไปกับ Generative AI ได้ไหม ? คำตอบคือ สามารถทำได้ และตอบโจทย์มากสำหรับนักการตลาดแบบ All Rounder ที่ต้องดูงานด้านการตลาดแบบ 360 องศา เมื่อใน 1 วันของการทำงาน นักการตลาดอย่างคุณยังมีอีกหลายเรื่องให้ต้องดูแล การใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้การทำงานไวขึ้นจึงเป็นกลยุทธ์การทำงานที่ดีที่สุด


นำ Generative AI ปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจ

การนำ Generative AI ไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจ

จากการสำรวจเรื่องการใช้งาน Generative AI ในประเทศไทยโดยอ้างอิงจาก Salesforce (เซลส์ฟอร์ซ) บริษัท AI CRM อันดับ 1 พบว่า 99% ของพนักงานในไทย มองว่า ‘โมเดลภาษาขนาดใหญ่’ หรือ Generative AI ช่วยให้พวกเขาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย 63% เชื่อว่า หากมีความรู้หรือความเชี่ยวชาญในเรื่อง Generative AI ในการทำงาน จะส่งผลให้พวกเขาเป็นที่ต้องการในบริษัทต่างๆ ดังนั้น วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 5 ตัวอย่างธุรกิจที่มีการนำ Generative AI ไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจอย่างลงตัว 

1. การสร้างคอนเทนต์การตลาด

งานการตลาดถือเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่สำคัญของธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลังจากที่ทำการตลาดออฟไลน์มาเป็นอย่างดี แต่ท้ายที่สุดแล้วถ้าลูกค้าไม่รู้จักเกี่ยวกับสินค้าและบริการของธุรกิจ หรือไม่รู้ว่าธุรกิจของคุณ ว่าทำเกี่ยวกับอะไร ก็อาจจะยากที่ลูกค้าจะมาซื้อสินค้า เพราะการตลาดไม่ใช่แค่เรื่องของการทำโฆษณาเพียงอย่างเดียว การสื่อสารออกไปให้ลูกค้าเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ก็นับเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์อาจเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา และบางครั้งก็ต้องอาศัยเรื่องของโชคชะตา การใช้ Generative AI มารังสรรค์ผลงานหรือคอนเทนต์ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมาย อาทิ Chat GPT, Jasper AI และ Writer AI

2. การพัฒนาการขาย

จริงอยู่ที่แนวคิด Product-led growth (PLG) หรือ กลยุทธ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์ ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ (Quality) และความต้องการของลูกค้านั้นเติบโตขึ้นมาก แต่ในขั้นตอนการขายเอง การพูดคุยกับลูกค้าก็ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องมีอยู่ ทำให้พนักงานขายต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจลูกค้า และนำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละท่าน โดยเฉพาะกับการขายสินค้า และบริการที่มีมูลค่าสูง

จะดีกว่าไหม ? หากคุณเปลี่ยนแปลงขั้นตอนเหล่านี้ได้ด้วย Generative AI ที่ทำให้คุณมีทั้งคุณภาพและปริมาณไปพร้อมกัน 

ตัวอย่างเช่น Sellscale ที่ใช้ AI ในการปรับแต่งการขายให้เหมาะกับกลุ่มคนที่ยังไม่เคยใช้สินค้าและบริการ เจ้าตัวนี้จะเข้ามาสำหรับเป็นตัวช่วยในการสะกดคำ ตรวจไวยากรณ์ด้วยเทคโนโลยี NLP ของ Gmail ที่ช่วยทำให้พนักงานขายประหยัดเวลา และมีเวลาไปโฟกัสกับขั้นตอนการขายอื่น ๆ ได้มากขึ้น

3. การสนับสนุนลูกค้าให้เกิด Royalty

Generative AI ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนวิธีในการให้บริการลูกค้า เพราะการให้บริการลูกค้าได้พบกับประสบการณ์ซื้อที่ดี จะช่วยสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าให้เกิดการอุดหนุนในครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม การจัดหาทรัพยากรและบุคลากรที่เพียงพออาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับธุรกิจ และเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ การใช้เครื่องมือ Generative AI สำหรับการให้บริการลูกค้าจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด 

ตัวอย่างเช่น Forethought ได้พัฒนา Generative AI สำหรับการให้บริการลูกค้าเป็นเจ้าแรก โดยระบบ AI ของ Forethought ได้ปรับแต่งโมเดลภาษาขนาดใหญ่จากข้อมูลการให้บริการลูกค้าของธุรกิจ, การแก้ปัญหารวมถึงตอบข้อสงสัยต่างๆ กับลูกค้า และการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาที่มีความซับซ้อน หรือ aiKMS ระบบ AI-Powered knowledge management จาก AIGEN ที่รวมความสามารถของเทคโนโลยี NLP และ AI-OCR เข้าด้วยกัน ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างเป็นระบบ Customer self-service เพื่อให้ลูกค้าค้นหาข้อมูลที่ต้องการ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองในเบื้องต้นได้ โดยที่ไม่ต้องติดต่อไปที่ศูนย์บริการลูกค้าของธุรกิจ 

4. การพัฒนาแอปพลิเคชัน

ในอดีตการสร้างแอปพลิเคชันนั้นเกี่ยวข้องกับการเขียนโค้ดที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ และเตรียมโครงสร้างเพื่อพัฒนาฟังก์ชันการทำงานของแอปพลิเคชัน ซึ่งถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ อาจจะทำไม่ได้ หรือทำได้ยาก แต่ในปัจจุบัน Generative AI ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือวิธีในการพัฒนาแอปพลิเคชันไปอย่างสิ้นเชิง โดยแทนที่จะเขียนโค้ดในภาษาของคอมพิวเตอร์ แต่นักพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถใช้ภาษาทั่วไปในการสื่อสาร และ AI จะสร้างโค้ดออกมาให้เองโดยอัตโนมัติ เหมือนกับที่ AI ได้สร้างคอนเทนต์บทความ 

ตัวอย่างเช่น Github Copilot และ Arcwise ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเขียนโค้ดโดยใช้ภาษาทั่วไป ไม่ต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโค้ดแบบเดิมๆ ช่วยทำให้ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทำให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์มือใหม่ที่ต้องการเริ่มสร้างแอปพลิเคชัน

5. การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ในปัจจุบันการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเป็นอะไรที่สำคัญมากสำหรับคนที่ทำธุรกิจ การปล่อยให้เกิดการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์นอกจากจะเสี่ยงต่อการโดนบทลงโทษทางกฎหมายแล้ว ยังเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงอีกด้วย

การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่หลายแบรนด์เริ่มให้ความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น Mostly.ai และ Tonic.ai ใช้ Generative AI ในการสร้างข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data) จากข้อมูลจริง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวในขณะที่สามารถรักษาให้ข้อมูลตรงกับความเป็นจริงให้ได้มากที่สุดเพื่อใช้ในการทดสอบ และทดสอบให้โมเดล AI และ Private AI สามารถปกปิดข้อมูลโดยไม่ระบุ PII ภายในชุดข้อมูล 


บทสรุป

เพราะ Generative AI คืออีกหนึ่งสาขาของเทคโนโลยี AI ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะในแง่ของพนักงานในองค์กรที่จะมีเวลาโฟกัสกับงานที่ต้องใช้ความคิดและงานเชิงกลยุทธ์มากยิ่งขึ้น ลดภาระหน้าที่งานบางอย่างที่ Generative AI สามารถช่วยซัพพอร์ตได้ หรือลูกค้าที่ได้รับบริการและประสบการณ์ในการซื้อสินค้าที่น่าประทับใจผ่าน Auto Chat ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วย Generative AI ให้ตอบทุกปัญหาที่สงสัยได้อย่างรวดเร็ว

หากคุณสนใจการนำ Generative AI ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จแต่ยังไม่มั่นใจว่าจะเริ่มขั้นตอนอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการรับทําการตลาดออนไลน์ สามารถติดต่อ Digital Factory เพื่อพูดคุย รับคำแนะนำ กับผู้เชี่ยวชาญได้ที่ ติดต่อเรา



ขอบคุณข้อมูลจาก : Vultureprime

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Music Marketing คืออะไร ทำการตลาดวงการดนตรีอย่างไรให้พิชิตใจวัยมันส์

Music Marketing คืออะไร การตลาดด้วยเสียงเพลง หรือ เสียงดนตรี ทำไมถึงเป็นหนึ่งกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ที่ถูกนำมาใช้กันเยอะ ซึ่งมีข้อดีอย่างไร มาดูไปพร้อมๆ กัน !

ดึงดูดสายตา สร้างการจดจำ ด้วยสื่อโฆษณา OOH ที่คุณไม่ควรมองข้าม

สื่อโฆษณาแบบ OOH (Out Of Home) คืออะไร สื่อโฆษณานอกบ้านจะช่วยพาแบรนด์เติบโตได้จริงหรือ ? และทำไมแบรนด์ส่วนใหญ่ต่างเลือกทำการตลาดเช่นนี้ บทความนี้มีคำตอบ !

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.