Work Life Balance ทฤษฎีกลลวง หรือสูตรลับสู่ชีวิตที่ลงตัว ?

Work Life Balance ทฤษฎีกลลวง หรือสูตรลับสู่ชีวิตที่ลงตัว ?

ใครเคยทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำบ้าง ? แล้วเหตุผลของการทำงานติดต่อกันมากกว่า 8 ชั่วโมงนั้นคืออะไร ? ซึ่งแน่นอนว่าคำตอนก็คงไม่พ้น ทำงานไม่เสร็จ, ทำงานไม่ทัน หรืออาจจะมีบางคนตอบว่า ไอเดียชอบมาตอนดึก ๆ กับอีกสารพัดเหตุผล แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานแบบ Non Stop คือ ปัญหาด้านสุขภาพจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งทางกรมแรงงานเคยระบุไว้ว่า งานทั่วไปไม่ควรเกิน 48 ชม./สัปดาห์ แต่ข้อมูลจาก สสช. ปี 2566 กลับพบว่า มีผู้ที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีเพิ่มขึ้นประมาณ 3.5 แสนคน นั่นเท่ากับมีคน 3.5 แสนคนกำลังประสบปัญหาเรื่องการพักผ่อนไม่เพียงพอ

ปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาระดับชาติเลยก็ว่าได้ จนถึงขนาดที่มีเทรนด์หนึ่งผุดขึ้นมา ซึ่งเป็นเทรนด์ที่คนทำงาน เหล่ามนุษย์เงินเดือนให้ความสนใจไม่น้อยเลย สิ่งนั้นก็คือ “Work Life Balance” หลายคนเชื่อว่า Work Life Balance คือ สิ่งที่จะช่วยเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนให้หันมาสนใจความสมดุลระหว่าง การทำงาน และชีวิตส่วนตัวมากขึ้น 


Work Life Balance คืออะไร


Work Life Balance คืออะไร ?

Work Life Balance คือ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการทำงานที่หนักเกินไป โดยทฤษฎีนี้จะมีแนวคิดว่า คุณไม่จำเป็นต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับงานมากมายจนเกินไป แต่ควรที่จะบาลานซ์ชีวิตหรือมีเวลาไปใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่เที่ยว พักผ่อนเฉย ๆ อยู่กับครอบครัว หรือแม้แต่การมีเวลาไปกินของอร่อย ๆ นอกจากนั้น ทฤษฎี Work Life Balance ยังถือเป็นทฤษฎีที่เป็นประโยชน์กับทุกอาชีพอีกด้วย 

ดังนั้น ทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นว่า การทุ่มเทให้กับงานเพียงอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่หมายถึงการคุณรู้จักแบ่งเวลา ใส่ใจสุขภาพ ความสัมพันธ์ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และระหว่าง หน้าที่การงาน กับ ชีวิตส่วนตัว ของแต่ละเรื่องได้อย่างชัดเจน



ทำไม Work Life Balance ถึงสำคัญ ?

ในยุคสมัยที่การทำงานแข่งขันสูง หลายคนทุ่มเทให้กับงานจนละเลยเวลาส่วนตัว และไม่รู้ว่าความสมดุลของชีวิตคืออะไร จึงมอง “Work Life Balance” ว่าเป็นเพียงความปรารถนาที่ไกลเกินเอื้อม แต่แท้จริงแล้ว Work Life Balance ที่ดี หมายถึงมากกว่าแค่การมีเวลาส่วนตัว

งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า Work Life Balance ที่ดีจะช่วยส่งผลดีต่อทั้ง สุขภาพจิต และสุขภาพกาย ของทั้งพนักงานออฟฟิศและอาชีพอิสระ การขาดสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว นำไปสู่ภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) นิยามไว้ว่า


“ภาวะทางจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ซึ่งไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ส่งผลให้รู้สึกสูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย รู้สึกเหินห่างจากงาน คิดลบต่องาน และประสิทธิภาพการทำงานลดลง”


ภาวะหมดไฟในการทำงานกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลให้พนักงานสูญเสียแรงจูงใจ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และยังเชื่อมโยงกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ การรักษาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว จึงไม่ใช่แค่ความต้องการส่วนตัว แต่เป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพที่ดีทั้งของตัวเราเอง



วิธีการสร้าง Work Life Balance มีอะไรบ้าง ? 

สำหรับการสร้าง Work Life Balance ที่ดีนั้นมีหลายแนวคิดด้วยกัน แต่จะขอยกตัวอย่างข้อที่จัดเป็นประเด็นหลัก และเกือบทุกสำนักเห็นตรงกันมา 3 ข้อดังนี้

1. ความชัดเจน

ความชัดเจนในที่นี้ก็คือ ขีดเส้นให้เรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวอย่างชัดเจน เช่น เลิกงานแล้วจะไม่เอางานกลับมาทำที่บ้าน ไม่เอาเครียดจากที่ทำงานกลับมาร่วมโต๊ะอาหารกับครอบครัว ถ้ามีวันหยุดก็ให้พัก ถ้ามีวันลาก็ให้ใช้อย่างไม่รู้สึกผิด แบ่งเวลาไปออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ชอบ และก็เช่นเดียวกันกับเวลาเข้างานก็ทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่เหมือนกัน 

2. รู้จักจัดลำดับความสำคัญ

ข้อนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก การจัดลำดับความสำคัญจะช่วยให้การทำงานเป็นระเบียบแบบแผนมากขึ้น และเมื่อการทำงานมีความเป็นระเบียบแบบแผน นั่นย่อมส่งผลต่อเวลาในการทำงาน และคุณภาพของงาน นอกจากจะช่วยให้คุณทำงานเสร็จทันเวลาแล้ว ยังช่วยทำให้ได้งานที่ถูกต้องไม่ตามแก้ไขในภายหลัง 

3. อย่ากดดันตัวเอง 

ต้องเข้าใจก่อนว่าแต่ละคนมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ต่างกัน การกดดันตัวเองเพื่อให้เก่าเท่าเพื่อนร่วมงาน ใช้เวลาทั้งวันทั้งคืนเพื่อทำงานให้เทียบเท่าคนที่มีประสบการณ์มากกว่า ก็จะส่งผลให้สมองเครียด ร่างกายเครียด และอาจจะเสียเวลาส่วนตัวไปแบบเปล่าประโยชน์อีกด้วย แนะนำให้ค่อยเป็นค่อยไป เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปตามพร้อมกับงานแบบพอดี และหยุดพักมีเวลาให้กับตัวเองบ้างจะดีที่สุด



ข้อดี Work Life Balance มีอะไรบ้าง ?

1. ลดความเครียดและภาวะหมดไฟ

เมื่อมีเวลาพักผ่อนเพียงพอ ทำกิจกรรมที่ชอบ ร่างกายและจิตใจจะผ่อนคลาย ลดความเครียด ช่วยให้รู้สึกสดชื่น มีพลังงาน กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น

การมีเวลาออกกำลังกาย ทานอาหารดีต่อสุขภาพ นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ

3. ความสัมพันธ์ที่ดี

เมื่อมีเวลาให้ครอบครัว เพื่อนฝูง พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เติมเต็มความสุข ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ

4. ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่ม

เมื่อร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง จดจ่อกับงาน คิดสร้างสรรค์ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ดีขึ้น

5. มีความสุขมากขึ้น

เมื่อชีวิตมีความสมดุล มีเวลาให้ตัวเอง ครอบครัว และสิ่งที่ชอบ ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น



ข้อเสีย Work Life Balance มีอะไรบ้าง ? 

1. กระทบต่อความต่อเนื่องของงาน

โดยเฉพาะงานที่มีการรับส่งไม้ต่อกันในทีม หรือระหว่างแผนก ปฏิเสธไม่ได้ว่า งานบางงานถ้าไม้แรกไม่ส่งมา ไม้สองก็ทำต่อไม่ได้ ยิ่งถ้าไม้แรกเข้มงวดกับ Work Life Balance ชนิดที่เลิกงานปุ๊บปิดคอมปั๊บ ไม่ทำงานล่วงเวลาเด็ดขาด ! นั่นก็อาจจะทำให้งานหยุดต้องชะงักทันที ถึงแม้ไม้สองจะพร้อมทำงานล่วงเวลาเพื่อให้งานเสร็จในเย็นวันศุกร์เลยก็ตาม

2. ตกเทรนด์ ไม่ทันกระแส

สำหรับสายงานที่เกี่ยวเนื่องกับกระแสโซเชียล เช่น งานเขียนคอนเทนต์ หรืองานข่าวสาร สมมุติว่า วันเสาร์ตอน 00.00 น. แอปเปิ้ลเปิดตัว Macbook รุ่นใหม่ล่าสุด คนเขียนข่าวอัปเดตอาจจะเสีย Engagement นี้ไป ทำให้คู่แข่งที่คอยจับกระแสอาจนำเสนอข่าวต่อสาธารณชนได้ก่อน เนื่องจากเคร่ง Work Life Balance ปิดมือถือ ปิดช่วงทางการสื่อสารไปตั้งแต่เย็นวันศุกร์หลังเลิกงาน

3. เสียโอกาสทางธุรกิจ

แม่ค้าออนไลน์ เพจขายของต่าง ๆ อาจจะสูญเสียรายได้สำคัญไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ การเติมสต็อก Labubu ถ้าร้านเติมตอน 21.00 น. แต่แม่ค้า นักรับหิ้ว นักรีเซลต่างกดไม่ทัน โอกาสทำกำไรก็จะน้อยลงไปด้วย

4. เสียเปรียบคู่แข่ง

ในยุคที่การแข่งขันสูง พนักงานที่ทุ่มเทให้กับองค์กร มักได้รับการโปรโมตและโอกาสที่ดีกว่า พนักงานที่ยึดมั่นกับ Work Life Balance จนละเลยงาน ย่อมเสียเปรียบในเรื่องนี้



Work Life Balance ทำได้จริงไหม จริงหรือลวง ? มุมมองจากหลายแง่มุม

อาจจะเห็นว่า ก็แค่เลิกงานตรงเวลา ไม่เอางานมาทำที่บ้าน ถึงเวลาเข้างานก็โฟกัสและให้เวลากับงานอย่างเต็มที่ไม่เห็นจะยากเลย ! ใช่สามารถทำแบบนั้นได้เลยแบบง่าย ๆ แต่ไม่ใช่กับทุกคน บางคนประกอบอาชีพที่ต้องแข่งกับเวลา เช่น แพทย์ อาชีพที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าคนไข้จะเข้ามาเวลาไหน แพทย์โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉินจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลา และบางสัปดาห์อาจจะต้องทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์ เลยด้วยซ้ำ 

กับคนอีกกลุ่มที่อาจจะไม่มี Work Life Balance เลยก็คือ คนที่มีความสุข และสนุกกับการทำงาน เพราะพวกเขามีความเห็นส่วนตัวว่า “การทำงานหนักคือความก้าวหน้า และความท้าทายของชีวิต” ข้อนี้มีตัวอย่างคนดัง ๆ ให้เห็นมากมายเช่น อีลอน มัสก์, มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เป็นต้น และคนอีกกลุ่มคือ คนที่สามารถสร้างรายได้มหาศาลจากการทำงานล่วงเวลา แน่นอนว่ายิ่งทำงานมากเท่าไหร่ พวกเขาก็มีรายได้เข้ามากเท่านั้น  

ดังนั้น คำถามที่ว่า Work-Life Balance ทำได้จริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ

  • ลักษณะอาชีพ : บางอาชีพอาจมีความยืดหยุ่นของเวลาทำงานมากกว่าบางอาชีพ

  • มุมมองและค่านิยมส่วนตัว : บางคนให้ความสำคัญกับการทำงานหนักเพื่อความสำเร็จ บ้างก็ให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวและครอบครัวมากกว่า

การบรรลุ Work-Life Balance ที่แท้จริง จึงไม่ใช่แค่การเลิกงานตรงเวลาเสมอไป แต่หมายถึงการ จัดสรรเวลา จัดลำดับความสำคัญ และ หาความสมดุล ระหว่างหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งแต่ละคนอาจมีวิธีการที่แตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือ คุณต้องเข้าใจ ค้นหา และกำหนดรูปแบบของ Work Life Balance ที่เหมาะกับตัวเอง และอย่าลืม เติมพลัง ให้กับตัวเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ รู้จัก แบ่งเวลา และตั้งขอบเขต ระหว่างเวลาส่วนตัวกับเวลาทำงาน

ท้ายที่สุดแล้ว Work-Life Balance ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่เป็นการเดินทางที่เราต้องค้นหา ปรับเปลี่ยน และพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและบรรลุเป้าหมาย ทั้งในด้านการงาน และด้านส่วนตัว


บทสรุป

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า การมี Work Life Balance นั้นช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมี Work Life Balance ที่ดีได้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพต้องทำงานแข่งกับเวลา และกลุ่มอาชีพที่ต้องคอยเกาะกระแสโซเชียลตลอด เช่น การขายของออนไลน์ ซึ่งกลุ่มนี้ต้องอาศัยการจัดการระบบการทำงานที่ดี เพื่อให้การตลาดมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ และถ้าคุณกำลังมองหามืออาชีพด้านการจัดการระบบการตลาดที่มีคุณภาพ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลาส่วนตัวมานั่งเฝ้า ตามเช็ก ตามแก้ไขตลอดละก็ ที่นี่เรารับทําการตลาดออนไลน์และะออฟไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน 



ขอบคุณข้อมูลจาก :  Bangkokinternationalhospital  กระทรวงแรงงาน  PPTV HD 36  

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Google Tag Manager คืออะไร พร้อมบอกวิธีสมัครและติดตั้ง Tag ง่าย ๆ

Google Tag Manager คืออะไร มีวิธีสมัครและติดตั้ง Google Tag Manager อย่างไร พร้อมเผยวิธีใช้ GTM จัดการแท็กง่าย ๆ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด ที่สำคัญยังใช้งานฟรี !

ROI คืออะไร ? เผยสูตรคำนวณ ROI ที่ช่วยวัดผลตอบแทนก่อนลงทุน

ROI คืออะไร ? อยากรู้ว่าเงินที่ลงทุนไป ได้ผลตอบแทนกลับมาคุ้มค่าแค่ไหน บทความนี้เราจะพาทุกคนเจาะลึกสูตรคำนวณ ROI แบบหมดเปลือก คลิกเลย!

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.