Content Marketing คืออะไร ทำคอนเทนต์อย่างไรให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง
คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง (Content Marketing) คำที่หลายคนอาจได้ยินกันบ่อยๆ ในยุคที่การตลาดดิจิทัลเข้ามาเป็นพระเอกในการทำธุรกิจ ดังนั้น วันนี้ Digital Factory เราจะพามาทำความรู้จักกับคำว่า “Content Marketing” กัน ว่า Content Marketing ในที่นี้หมายถึงอะไร และถ้าหากสนใจที่จะสร้างธุรกิจให้ปังด้วยคอนเทนต์นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย !
ทำความรู้จักคำว่า ‘Content Marketing’ คืออะไร
ก่อนอื่นเราอยากให้คุณมาทำความเข้าใจความหมายของแต่ละคำเพื่อให้เห็นภาพกันชัดเจนมากขึ้นก่อน เริ่มด้วยคำแรก คำว่า “Content” “คอนเทนต์” คืออะไร ซึ่งในที่นี้สามารถตีความหมายได้ถึง สาร หรือ เนื้อหา ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับสารในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บล็อกโพสต์, E-Books, Infographics, Videos, รูปภาพ และอื่นๆ
ส่วนคำว่า “Marketing” คือ กิจกรรมใดๆ ที่มีขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายอย่างการตั้งราคา การทำโฆษณาทั้งออนไลน์ หรือสื่อ Out Of Home อย่างบิลบอร์ด ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจุดประสงค์ทางการตลาดของ Content Marketing จะออกมาในรูปแบบของการมีส่วนร่วม (Engagement) ให้กับธุรกิจ ตัวอย่างคอนเทนต์ปังๆ จะช่วยดึงดูดหรือช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายจนนำไปสู่การสร้าง Conversion อาทิ การอ่านบทความ การซื้อสินค้า การสมัครสมาชิก และในท้ายที่สุดก็เพื่อโอกาสในการทำกำไรจากลูกค้าผ่านการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่านั่นเอง
Content Marketing มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง (Content Marketing) คือ การตลาดเนื้อหา ที่กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ธุรกิจต่างๆ นิยมใช้เพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างการรับรู้ และเพิ่มยอดขาย แต่ก่อนที่จะลงมือสร้างคอนเทนต์ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจประเภทของการตลาดเนื้อหาที่มีอยู่ เพื่อสามารถวางแผนกลยุทธ์ Content Marketing ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เนื้อหาเพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness Content)
มุ่งเน้นไปที่การแนะนำแบรนด์ สินค้า หรือบริการ ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก เนื้อหาประเภทนี้มักอยู่ในรูปแบบบทความ บทความบล็อก อินโฟกราฟิก วิดีโอ หรือภาพถ่าย เน้นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจ และสร้างการจดจำให้กับแบรนด์
2. เนื้อหาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement Content)
มุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ เนื้อหาประเภทนี้มักอยู่ในรูปแบบบทความ คำถาม ควิซ เกม โพสต์บนโซเชียลมีเดีย หรือวิดีโอ เน้นการสร้างการสนทนา กระตุ้นให้ผู้ชมแสดงความคิดเห็น แชร์ หรือกดไลค์
3. เนื้อหาเพื่อสร้างการพิจารณา (Consideration Content)
มุ่งเน้นไปที่การนำเสนอข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ เนื้อหาประเภทนี้มักอยู่ในรูปแบบบทความ รีวิว เปรียบเทียบสินค้า บทความวิเคราะห์ หรือวิดีโอสาธิต เน้นการนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน ตอบคำถาม และช่วยให้ผู้ชมตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
4. เนื้อหาเพื่อสร้างการตัดสินใจ (Conversion Content)
มุ่งเน้นไปที่การโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ เนื้อหาประเภทนี้มักอยู่ในรูปแบบข้อเสนอพิเศษ โปรโมชั่น ส่วนลด คูปอง บทความขายสินค้า หรือวิดีโอรีวิว เน้นการนำเสนอข้อดีของสินค้าหรือบริการ กระตุ้นให้ผู้ชมตัดสินใจซื้อ
5. เนื้อหาเพื่อสร้างความภักดี (Loyalty Content)
มุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเก่า เนื้อหาประเภทนี้มักอยู่ในรูปแบบบทความขอบคุณ บทความให้ความรู้ วิดีโอแนะนำวิธีการใช้งานสินค้า หรือวิดีโอขอบคุณลูกค้า เน้นการสร้างความรู้สึกประทับใจ ดูแลเอาใจใส่ และสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า
เมื่อคุณเข้าใจประเภทของการตลาดเนื้อหาแล้ว คุณก็สามารถสร้างกลยุทธ์ “Content Marketing Plan” ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ลองวิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณเหมาะกับ Content Marketing ประเภทไหน วางแผนการสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูด ให้ความรู้ โน้มน้าว สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย รับรองว่า Content Marketing จะช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นแน่นอน
วิธีสร้างกลยุทธ์ Content Marketing ให้ปังและวัดผลได้
หวังว่าตอนนี้คุณจะเริ่มมองเห็นภาพรวมของคำว่า Content Marketing คืออะไรแล้วล่ะสิ ในสเต็ปถัดไปเรามาจะสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าเพื่อเจาะลึกถึงกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดกันต่อเลย !
1. กำหนดเป้าหมายของแบรนด์ให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
เริ่มต้น Content Marketing ด้วยการร่างวัตถุประสงค์ของคุณให้ชัดเจนกันก่อนว่าเป้าหมายของ Content Marketing ของคุณคืออะไร เช่น การเพิ่มการรับรู้แบรนด์ เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ สร้างโอกาสในการขาย หรือเพิ่มยอดขาย เป็นต้น
2. รู้จักและทำความเข้าใจผู้ชมของคุณให้มากขึ้น
จากนั้นมาทำความเข้าใจความต้องการ ความชอบ และ Pain Points ของกลุ่มเป้าหมายของคุณ เพื่อการสร้าง Buyer Persona หรือ การจำลองกลุ่มลูกค้าสมมติ เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจบุคลิก ความต้องการ และมองเห็นข้อแตกต่างของลูกค้าแต่ละประเภท สำหรับใช้เป็นแนวทางในการสร้างคอนเทนต์ของคุณว่าจะสื่อสารไปในรูปแบบไหน
3. ทำ Research Keywords ค้นหา Keywords ที่น่าสนใจ
สิ่งที่ควรทำต่อมาคือการค้นหาเรื่องที่คนกำลังให้ความสนใจกันอยู่ เพราะการปั้นคอนเทนต์โดยการทำการค้นหา Keywords ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนั้นจะช่วยคุณได้มากทีเดียว โดยสามารถใช้เครื่องมือ อย่าง Google Keyword Planner, AHrefs หรือ SEMrush เพื่อค้นหาคำหลักที่มีการเข้าชมสูง การแข่งขันต่ำ และมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ เพื่อใช้สำหรับการทำ SEO
4. สร้างปฏิทินคอนเทนต์ เรียงตามลำดับความสำคัญอย่างตรงจุด
เมื่อได้หัวข้อคอนเทนต์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าคอนเทนต์ของคุณจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้คุณสามารถจัดระเบียบภาพรวมของคอนเทนต์และง่ายต่อการวางภาพรวมของคอนเทนต์ว่าต้องโพสต์เมื่อไหร่ วันไหน เวลาไหน เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดโดยรวมของคุณ
5. กระจายประเภทคอนเทนต์ ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย
บางครั้งการทำการตลาดก็เปรียบเสมือนการเล่นเกม ซึ่งต่างมีเป้าหมายเหมือนกันก็คือ "การชนะ" หรือ ต้องการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น ถ้าอยากชนะในการเล่นเกมการตลาดครั้งนี้ สิ่งที่ต้องโฟกัสเป็นอันดับต้นๆ คือ การปั้น “Content Strategy” ของคุณ โดยทดลองใช้คอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น บล็อกโพสต์ อินโฟกราฟิก วิดีโอ พ็อดคาสท์ และเนื้อหาเชิงโต้ตอบสองทาง เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของ Target Audience ของคุณ และเมื่อผลลัพธ์ของคอนเทนต์ประเภทนั้นตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายได้ดี สิ่งที่ควรทำต่อมา คือ ศึกษาเพิ่มเติมว่าอะไรเป็นส่วนที่ทำให้เนื้อหานั้นประสบผลสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหรือผู้ชม จากนั้นก็นำส่วนนั้นๆ มาประยุกต์ใช้กับเนื้อหาใหม่ได้เรื่อยๆ
6. คุณภาพคอนเทนต์ต้องอยู่เหนือปริมาณ
หากคุณต้องการสร้างภาพลักษณ์ไปพร้อมกับการทำ Content Marketing ควรมุ่งเน้นการสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงและมีคุณค่า เพราะการมีคอนเทนต์เจ๋งๆ เพียงไม่กี่ชิ้นนั้นดีกว่าเนื้อหาธรรมดาๆ จำนวนมากเสมอ เนื่องจากเนื้อหาคุณภาพสูงและมีประโยชน์ จะช่วยดึงดูดผู้ชมและจดจำแบรนด์ของคุณมากยิ่งขึ้น
7. วัดและวิเคราะห์ผลลัพธ์อยู่เสมอ
ในสเต็ปนี้ คุณสามารถเลือกใช้เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ เช่น Google Analytics หรือข้อมูลเชิงลึกของโซเชียลมีเดีย เพื่อติดตามประสิทธิภาพของเนื้อหาของคุณ โดยกำหนด KPI หรือความคืบหน้าของเป้าหมายและวัตถุประสงค์ เช่น การเข้าชม การมีส่วนร่วม และคอนเวอร์ชั่น ตามการตั้งเป้าหมายของแบรนด์ในตอนต้น ซึ่งการประเมินกลยุทธ์การตลาดเนื้อหาอยู่เป็นประจำ จะช่วยทำให้เห็นว่าคอนเทนต์ไหนทำผลลัพธ์ได้ดี และสำหรับคอนเทนต์ไหนยังมีจุดบอด สิ่งที่ควรตระหนัก คือ เนื้อหาทุกชิ้นควรได้รับการตรวจสอบ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการและพัฒนาคอนเทนต์ของคุณตามข้อมูลที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น
5 ขั้นตอนวางแผน Content Marketing เพื่อให้ได้ตัวอย่างคอนเทนต์ปังๆ
5 ขั้นตอนที่จะช่วยต่อยอดจากวิธีการสร้างกลยุทธ์ Content Marketing โดยจะมุ่งเน้นไปที่การวางเป้าหมาย ทิศทางการสร้างคอนเทนต์ รวมไปถึงวิธีการที่จะวัดผลได้อย่างชัดเจน!
1. เลือกช่องทางการทำ Content Marketing ที่เหมาะกับแบรนด์
วิธีการเลือกช่องทางการทำ Content Marketing ที่เหมาะกับแบรนด์ โดยปกติแล้วค้นหาได้จากการจำลองกลุ่มลูกค้าสมมติ หรือ Buyer Persona เพื่อศึกษาแนวโน้มกลุ่มลูกค้าของคุณว่าเสพสื่อจากช่องทางหรือแพลตฟอร์มไหนมากเป็นพิเศษ เช่น อีเมล เว็บไซต์ บล็อก หรือ Social Media และหาช่องทางที่เหมาะกับคอนเทนต์และลูกค้าของคุณนั่นเอง
2. เลือกประเภทคอนเทนต์ที่เหมาะกับแบรนด์ (Content Type)
ในขั้นตอนการกำหนดประเภทของคอนเทนต์ คือ การเลือกรูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มของคุณ เพราะในแต่ละแพลตฟอร์มจะมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป สำหรับรูปแบบคอนเทนต์นั้นจะมีตั้งแต่รูปภาพ วิดีโอ บล็อก พ็อดแคสต์ อินโฟกราฟิก และ User-Generated Content หรือเนื้อหาคอนเทนต์ทุกประเภทที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเหล่าผู้บริโภคตัวจริงและมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าบริการหรือแบรนด์โดยตรง ดังนั้น การเลือกแพลตฟอร์มและรูปแบบคอนเทนต์ที่ถูกที่ถูกทาง จะช่วยทำให้คอนเทนต์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. รักษาความสม่ำเสมอในการเผยแพร่คอนเทนต์
การเผยแพร่คอนเทนต์ตามตารางเวลาที่สม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นอย่าลืมรักษาการทำงานให้เป็นไปตามแผนด้วยปฏิทินคอนเทนต์ที่จัดระเบียบเอาไว้ ทั้งในรูปแบบการเผยแพร่รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพราะการใช้ปฏิทินจะช่วยให้คุณจัดทำงบประมาณได้ในเวลาที่เหมาะสมและเป็นไปตามเวลาที่กำหนดได้
4. ประมาณการผลตอบแทนที่จะได้รับ
หลังจากวางแผนคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับ Buyer Persona แล้ว ต่อมาคือการประเมิน และประมาณการค่าใช้จ่ายในการผลิตและเผยแพร่คอนเทนต์ในช่องทางต่างๆ ที่คุณได้เลือกไว้ เพื่อนำไปสู่การประมาณการรายได้ที่จะสร้างให้กับธุรกิจ โดยคุณสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น สูตร ROI ของการตลาดผ่านคอนเทนต์ สำหรับใช้ในการประมาณการต้นทุน ผลตอบแทน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตคอนเทนต์ การแก้ไข การออกแบบ เครื่องมือ ซอฟต์แวร์ การส่งเสริมการขายด้วย ทั้งนี้การวิเคราะห์ผลตอบแทนของคุณอาจรวมถึงโอกาสในการขาย ลูกค้า การอ้างอิง การรักษาลูกค้า หรือความภักดี
5. ทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
การวางแผน Content Marketing นั้นมี Cycle ของมันเอง การปรับปรุงกลยุทธ์ให้ดีมากยิ่งขึ้นด้วยการ Feedback คอนเทนต์ทุก 3-6 เดือนจะช่วยคุณได้ เพราะแน่นอนเลยว่ากลยุทธ์คอนเทนต์ที่เคยประสบความสำเร็จในวันนี้ไม่ได้การันตีว่าจะเป็นสูตรสำเร็จในอนาคต ดังนั้นอย่าลืมที่จะอัปเดต Buyer Persona อยู่เสมอ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับการวางแผน Content Marketing ต่อไป
บทสรุป
สุดท้ายนี้หากคุณสนใจการทำ Content Marketing ที่มีประสิทภาพและวัดผลได้ แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะวางแผนหรือยังไม่เห็นภาพรวมของการลงทุนกับ Content Marketing ที่สามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้อย่างไร ปรึกษาเราได้เลย เพราะเราเชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการโซเชียลมีเดียและสร้างสรรค์คอนเทนต์ ทั้งรับทำ Content Marketing เขียนและผลิตคอนเทนต์ที่เป็นมากกว่าคอนเทนต์ เพื่อให้คอนเทนต์เป็นตัวช่วยธุรกิจของคุณเติบโตได้มากขึ้น และกระตุ้นยอดขายเชื่อมโยงแบรนด์ของคุณเข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงประเด็น สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ!
ขอบคุณข้อมูลจาก : Linkedin Hubspot Thaibusinesssearch
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Micro Influencer คืออะไร ทำไมถึงเป็นกลยุทธ์การตลาดที่มาแรง
Micro Influencer คืออะไร อยากจ้างไมโครอินฟลูเอนเซอร์ในไทย ราคาและค่าใช้จ่ายต้องมีงบเท่าไหร่ ค่าตัวแพงไหม สามารถสร้าง Engagement และกระตุ้นยอดขายได้จริงหรือ
Line OA คืออะไร พร้อมเจาะลึกฟีเจอร์เด็ดที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด
Line OA คืออะไร ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณอย่างไร ? และมีฟีเจอร์เด็ดอะไรบ้างที่ช่วยซัพพอร์ตคนทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี Digital Factory จะพาคุณไปเจาะลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน !