SWOT Analysis คืออะไร พร้อมถอดรหัสการทำ SWOT สู่ความสำเร็จ

SWOT Analysis คืออะไร พร้อมถอดรหัสการทำ SWOT สู่ความสำเร็จ

เคยสงสัยไหมว่า ธุรกิจเก่งๆ เขาทำยังไงให้ประสบความสำเร็จ ? เคล็ดลับหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์ SWOT นั่นเอง สำหรับคำว่า “SWOT Analysis” นักการตลาดหลายท่านคงจะได้ยินคำนี้กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งนักการตลาดบางคนก็คงจะเข้าใจคำนี้เป็นอย่างดี แต่สำหรับบางคนก็อาจจะเคยได้ยินผ่านๆ แต่ไม่ทราบรายละเอียดเชิงลึกสักเท่าไหร่ว่ามันหมายถึงอะไร 

บทความนี้ จะพาคุณไปทำความรู้จักเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการวิเคราะห์ SWOT คืออะไร พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจ เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับนักธุรกิจมือใหม่ เพื่อที่คุณจะหาจุดแข็งจุดอ่อนในการทำงานได้นั่นเอง !


SWOT Analysis คืออะไร

SWOT คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ ?

SWOT Analysis คือ การนำปัจจัย 4 อย่างของธุรกิจ คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค มาวิเคราะห์ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำจุดแข็งไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาวะทางการตลาด และจัดการกับจุดอ่อนด้วยการแก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อองค์กร เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถไปต่อได้อย่างราบรื่น 



ใครเป็นคนคิดทฤษฎี  SWOT Analysis ?

ผู้คิดค้นแนวคิดนี้ คือ “อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey)” สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาก Harvard Business School  furthermore ทำงานที่องค์กรส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย Stanford Research Institute (SRI International) อีกทั้งยังเป็นนักวิจัย ผู้ให้คำปรึกษา คำแนะนำ เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและพัฒนาได้ยั่งยืนกว่าเดิม เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่มีโปรไฟล์สวยหรูมากเลยทีเดียว

หากย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 1960-1970 อัลเบิร์ต ฮัมฟรี ทำงานอยู่ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) ในตอนนั้น เขากำลังศึกษาหาสาเหตุว่า “ทำไมแผนธุรกิจบางบริษัทถึงล้มเหลว ?” ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกเริ่มที่ทำให้เขาริเริ่มสร้างเครื่องมือวิเคราะห์ที่ชื่อว่า “SOFT Analysis” ต่อมาจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “SWOT” หรือ “SWOT Analysis” อย่างที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกัน 

และในปัจจุบัน SWOT Analysis ก็กลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ถูกนำไปใช้วิเคราะห์ธุรกิจ กลยุทธ์ การตลาด โครงการ ฯลฯ



เจาะลึกองค์ประกอบ SWOT มีอะไรบ้าง

SWOT ย่อมาจาก 4 องค์ประกอบหลัก ที่จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ธุรกิจ โปรเจค หรือแม้แต่ตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าแต่ละองค์ประกอบของ SWOT คืออะไรกันบ้าง

1. S = จุดแข็ง (Strength)

อะไรคือ “ไม้ตาย” ของคุณ ? สินค้า บริการ ทีมงาน หรือกลยุทธ์สุดล้ำ ? จุดแข็งเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นเหนือคู่แข่ง และความสามารถในการสร้างสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพสูง ทำให้ลูกค้าชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่โดดเด่นหรือแตกต่างจากคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น คุณเป็นบริษัทขายเมทัลชีทที่นำเข้าม้วนคอยล์เองจากจีน จุดแข็งคือ ความสามารถในการคุมราคาเมทัลชีท เป็นต้น

2. W = จุดอ่อน (Weakness)

ธุรกิจต่างมีจุดอ่อนด้วยกันทั้งนั้น แต่อะไรคือสิ่งที่ต้องพัฒนา ? ต้นทุนที่สูง ? เทคโนโลยีที่ล้าสมัย ? หรือการขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ หรือ กิจกรรมทางธุรกิจที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น การขาดแคลนเงินทุน หรือ การอบรมเรื่อง “Service Mind” ให้เจ้าหน้าที่บริการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ทำให้คุณภาพงานบริการสู้คู่แข่งไม่ได้ เนื่องจากการระบุจุดอ่อนเหล่านี้จะช่วยให้คุณแก้ไขและเสริมสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

3. O = โอกาส (Opportunities)

การมองหาเทรนด์ใหม่ๆ ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจของคุณ ! เศรษฐกิจที่เติบโต ? เทคโนโลยีล้ำสมัย ? หรือแม้แต่พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง โอกาสเหล่านี้รอให้คุณคว้าไว้ เพื่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจหรือองค์การของคุณ ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่คุณขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

4. T = อุปสรรค (Threats)

อะไรคือภัยคุกคามต่อธุรกิจของคุณ ? คู่แข่งรายใหม่ ? กฎระเบียบที่เข้มงวด ? หรือวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม การวิเคราะห์อุปสรรคจะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือภาวะที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลเสียต่อการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ราคาวัตถุดิบของคุณเพิ่มสูงขึ้นแต่เศรษฐกิจซบเซาคนไม่มีกำลังซื้อ คุณจะขึ้นราคาสินค้าก็ไม่ได้ จะทำโปรโมชันก็ยาก



วิธีการวิเคราะห์ SWOT ต้องทำยังไง

วิธีการวิเคราะห์ SWOT ต้องทำยังไงให้ปัง ? ด้วย 5 ขั้นตอน ง่าย ๆ สู่ความสำเร็จ

1. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กร

เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรเป็นอะไรที่สำคัญมาก โดยคุณอาจจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดผ่านการสรรหาคนที่เหมาะสมที่สุดจากทุกตำแหน่งในบริษัทหรือจากทุกทีมมาร่วมประชุม เพื่อมองหามุมมองต่อธุรกิจที่แตกต่างกัน จากนั้นมาแชร์ข้อมูลมุมมองของแต่ละคนเกี่ยวกับธุรกิจ มองหาจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคที่พวกเขาเจอ

2. วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน

หลังจากที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากทุกหน่วยงานและแต่ละทีมแล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบและระบุจุดแข็งของธุรกิจที่มีอยู่ เช่น ทีมที่เก่ง สินค้าที่โดนใจ บริการสุดยอด พร้อมทั้งหาจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา เช่น ระบบที่ล้าสมัย กลยุทธ์ที่ไม่ค่อยปัง เพื่อหารือว่าสิ่งไหนบ้างที่คุณควรปรับ สิ่งไหนบ้างที่คุณควรแก้ สิ่งไหนบ้างที่คุณควรพัฒนาให้มันดีขึ้น

3. จัดทำแผนการดำเนินงาน

เมื่อคุณได้ข้อมูลการวิเคราะห์หาจุดแข็ง-จุดอ่อนแล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มากำหนดยุทธวิธีในการใช้จุดแข็งเพื่อเอาไปแก้ไขจุดอ่อน นำโอกาสมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร จัดการลดอุปสรรคที่จะเป็นปัญหาต่อองค์กรในอนาคต และรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเตรียมแผนสำรองเผื่อไว้ด้วยนะ

4. ประเมินแผนการดำเนินงาน

เมื่อเริ่มจัดทำแผนการดำเนินงานแล้ว ก็อย่าลืมประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบของแผนการดำเนินงานที่สร้างขึ้นด้วย ทางที่ดีเตรียมแผนที่ 1 แล้ว ก็อย่าลืมเตรียมแผนที่ 2 เผื่อฉุกเฉินต้องนำมาปรับใช้รับมือยามแผนที่ 1 ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังด้วย

5. การดำเนินงานและติดตามผล

เมื่อมีแผนแล้ว ก็เริ่มลุยเลย ! โดยดำเนินการตามแผนและติดตามผลตามที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบว่ากำลังไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ รวมถึงการวัดผลลัพธ์ที่ได้เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากการติดตามผลที่ได้จะช่วยในการระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นและการปรับปรุงแผนการดำเนินการต่อไป



ตัวอย่าง SWOT ธุรกิจร้านกาแฟ 

เราจะขอหยิบยกการสมมุติเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ธุรกิจประเภทคาเฟ่ที่เน้นขายพายผลไม้และพายเนื้อในมิชิแกน โดยสินค้าที่จำหน่ายนั้นครอบคลุมทั้งแบบพายร้อนพร้อมรับประทาน และพายแช่แข็งที่นำกลับบ้านได้ ตลอดจนถึงการจำหน่ายสลัดผักสดและเครื่องดื่มต่างๆ 

โดยวางแผนเปิดสาขาใหม่แถบชานเมือง รวมทั้งเน้นพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ขยายกิจการได้เร็ว ง่าย และไปสู่การสร้างแฟรนไชส์ เมื่อวิเคราะห์ธุรกิจตามกรอบคิด SWOT แล้วนั้น จะได้องค์ประกอบดังนี้

1. Strength

ทำเลดี ทำเลแถบชานเมืองแห่งแรกจะดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้ซื้อในแถบดังกล่าว โดยทางแบรนด์มีเอกลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นกว่าคู่แข่งในตลาด คือ เป็นร้านฟาสต์ฟู้ดที่จำหน่ายอาหารเกรดคุณภาพดี มีการจัดการเป็นระบบ และมีทีมงานมากความสามารถ รวมถึงประสบการณ์ทางธุรกิจที่หลากหลาย 

2. Weakness

ทางแบรนด์ขาดเงินทุน ทำให้การลงทุนขยายสาขาของธุรกิจสตาร์อัปเช่นนี้เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจากนักลงทุน หรือกู้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน อีกทั้งทางแบรนด์เองก็ยังขาดชื่อเสียง เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้ผลิตพายเนื้อรายใหญ่ที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

3. Opportunity

การเติบโตของทำเล พื้นที่ชานเมืองที่วางแผนจะขยายสาขาไปนั้นมีอัตราการเติบโตปีละ 8.5%

เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนของครอบครัววัยทำงาน อีกทั้งย่านดังกล่าวยังเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวที่ต้องทำงานและมีลูกเล็ก พ่อแม่ที่ทำงานและมีลูกแตไม่มีเวลาเตรียมอาหารให้ลูกทุกมื้อ ฟาสต์ฟู้ดจึงกลายเป็นตัวเลือกที่เข้ามาตอบโจทย์ Pain Point ส่วนนี้

4. Threat

เนื่องจากในตลาดมีส่วนแบ่งและมีคู่แข่งเยอะเกินไป อีกทั้งร้านขายพายเนื้อที่จำหน่ายสินค้าแบบเดียวกัน มีลูกค้าประจำอยู่แล้ว



ข้อควรระวังในการวิเคราะห์ SWOT เพื่อหลีกเลี่ยง 4 กับดัก
SWOT Analysis เครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าใจตัวเอง ลู่ทาง และคู่แข่ง แต่ระวัง! กับดักที่ซ่อนอยู่ 4 ข้อนี้ อาจทำให้ SWOT ของคุณอาจนำไปสู่กลยุทธ์ที่ผิดพลาด มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง และจะเลี่ยงได้อย่างไร

1. อคติและความคิดเห็นส่วนตัว

การตัดสินใจอะไรสักอย่าง โดยอาศัยแค่ “ความรู้สึก” หรือ “ลางสังหรณ์” ว่า “สินค้าตัวนี้ดี ลูกค้าต้องชอบแน่ๆ” โดยไม่มีข้อมูลอะไรมายืนยัน เชื่อไหมว่า วิธีคิดแบบนี้ มักนำไปสู่กลยุทธ์ที่ผิดพลาด สูญเสียเงินทอง และโอกาสมากมาย ลองจินตนาการดูสิคะ ว่าถ้าคุณเอาเงินไปลงทุนกับสินค้าที่ "คิดว่าดี" โดยไม่วิเคราะห์ข้อมูลให้ละเอียด สุดท้ายสินค้าอาจขายไม่ดี เงินก็สูญเปล่า

วิธีแก้:

  • หาข้อมูลเชิงลึกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น สถิติ การวิจัย
  • วิเคราะห์เชิงปริมาณ ควบคู่กับเชิงคุณภาพ
  • ใช้ตัวเลข เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบ

2. มองไม่รอบด้าน มองแต่แง่ดี

มัวแต่โฟกัสจุดแข็ง โอกาส แต่ละเลยจุดอ่อน อุปสรรค กลยุทธ์ที่ออกมาอาจดูสวยหรู แต่ยากต่อการปฏิบัติจริง ตัวอย่างเช่น “คุณเก่งเรื่องเทคโนโลยี แต่พนักงานในทีมยังไม่เข้าใจเทคโนโลยี” จะทำงานร่วมกันได้ยังไง ? กลยุทธ์ที่วางไว้ดีแค่ไหน สุดท้ายก็ไปต่อไม่ได้อยู่ดี

วิธีแก้:

  • มององค์กรอย่างรอบด้าน วิเคราะห์ทั้งแง่บวก แง่ลบ
  • ถามพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ระดมความคิดเห็น
  • มองหาจุดอ่อนที่ซ่อนอยู่ เช่น ต้นทุนที่สูง

3. การวิเคราะห์ที่ไม่ครอบคลุม

บ่อยครั้งที่เผลอตื่นเต้นกับโอกาสใหม่ คิดว่าธุรกิจนี้ต้องปังแน่ ๆ แต่พอลงมือทำเท่านั้น.. ทำไมมันไม่เป็นอย่างที่คิด นั่นเพราะโอกาสไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ  ขาดการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ จริง ๆ แล้ว โอกาสเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ต้องผ่านการวิเคราะห์อย่างละเอียด รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย เพื่อดูว่ามันมีโอกาสงอกงามและเติบโตเป็นธุรกิจที่มั่นคงหรือเปล่า

วิธีแก้:

  • วิเคราะห์โอกาสอย่างเป็นรูปธรรม พิจารณาความเป็นไปได้
  • ประเมินความเสี่ยง ควบคู่กับโอกาส
  • ตั้งเป้าหมายที่ SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, and Time-bound)

4. ขาดการติดตามผล

กลยุทธ์สุดเจ๋ง วิเคราะห์ SWOT เสร็จสรรพ แต่ทำไมไม่เห็นผลลัพธ์ ? สาเหตุหลักๆ เลยก็คือ การขาดการติดตามผล นั่นเอง เปรียบเสมือนมีแผนที่ แต่ไม่รู้เส้นทาง ผลลัพธ์คือ...หลงทางแน่นอน !

วิธีแก้:

  • วัดผลลัพธ์ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • วิเคราะห์ว่าอะไรดี อะไรต้องปรับปรุง
  • พัฒนาปรับกลยุทธ์ให้ดียิ่งขึ้น

SWOT ที่ดีเปรียบเสมือนกลยุทธ์ที่เฉียบคมนำทางธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ระวังหลุมพรางเหล่านี้ให้ดี ปรับใช้ SWOT ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ แล้วคุณจะไปถึงเป้าหมายได้อย่างแน่นอน !


บทสรุป

และนี่ก็คือสาระดี ๆ เกี่ยวกับ SWOT Analysis ที่เรานำมาฝากคุณในวันนี้ การวิเคราะห์ SWOT เป็นอีกกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ใหม่หรือต่อยอดจากเดิมให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและส่งผลในทางบวกต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า SWOT นั้น ไม่ใช่คำตอบเดียวที่จะมาแก้ปัญหาทุกปัญหาทั้งภายในและภายนอกได้ อย่าลืมว่าการทำธุรกิจคือการวิ่งระยะไกล ทุกอย่างต้องใช้เวลาและใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อจะได้รับมือกับปัญหารวมถึงอุปสรรคได้ทัน 

สำหรับใครที่ไม่มีทีมงานมากพอสำหรับช่วยกันทำ SWOT แต่อยากไปถึงเส้นชัย ให้ Digital Factory เป็นผู้ช่วยของคุณสิ ! เพราะที่ Digital Factory เราพร้อมให้บริการด้านการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร และ รับวางแผนกลยุทธ์การตลาด แล้วการวิ่งระยะไกลให้ถึงเส้นชัยของคุณจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป !



ขอบคุณข้อมูลจาก :  Thewisdom  Contentshifu  

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

6 ทริค ! สร้างรายได้จาก Facebook Reels มือใหม่ทำได้ ง่ายนิดเดียว

Facebook Reels คืออะไร รูปแบบการคลิป Reels ต้องทำอย่างไรบ้าง พร้อมแนะนำฟีเจอร์ครบครัน เพลงดัง เอฟเฟคเจ๋ง สร้างรายได้ง่าย ๆ บนมือถือฉบับมือใหม่กัน !

เผยสถิติเวลาโพสต์คลิปวิดีโอบน YouTube ที่ดีที่สุด

อัพโหลดวีดีโอลงยูทูปต้องลงตอนเวลาอะไร โพสต์ตอนไหนคนเห็นเยอะ ใครที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราหาวิธีลงคลิปในยูทูปแบบคุ้มค่าทุกการอัพโหลดในปี 2024 มาให้แล้ว

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.