Fandom Marketing คืออะไร ตีตลาดแฟนด้อมอย่างไรให้ Impact

Fandom Marketing คืออะไร ตีตลาดแฟนด้อมอย่างไรให้ Impact

ปัจจุบันเราจะเห็นว่าหลาย ๆ แบรนด์เริ่มหันมาทำ “Fandom Marketing” กันมากขึ้น เพราะแรงสนับสนุนของกลุ่มแฟนคลับนั้นมีพลังมากกว่าที่คิด นอกจากจะช่วยสร้างการรับรู้เป็นวงกว้างแล้ว พวกเขาเหล่านี้ยังสามารถช่วยให้สินค้า Sold Out จนรีสต็อกของแทบไม่ทันได้ด้วย ! แต่ก่อนที่จะลงสนามไปตีตลาดแฟนคลับให้แตกด้วย Fandom Marketing มาทำความรู้จักกับคำว่า Fandom กันให้มากขึ้นก่อนดีกว่า


แฟนด้อม (Fandom) คืออะไร ?

Fandom หรือ แฟนด้อม คือ คำศัพท์ที่มาจากคำว่า Fanclub (แฟนคลับ) บวกกับคำว่า Kingdom (อาณาจักร) มีไว้สำหรับเรียกคนกลุ่มหนึ่งที่ชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เช่น ศิลปิน วงดนตรี ดารานักแสดง เป็นต้น คำว่า “ด้อม” ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มแฟนคลับศิลปินดาราหรือวงการบันเทิงเท่านั้น แต่คำว่าแฟนด้อมยังใช้เรียกกลุ่มแฟนคลับในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มผู้ชื่นชอบในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น กีฬา การ์ตูน อนิเมะ มังงะ เกมส์ E-Sport หรือแม้แต่การแผ่ขยายอิทธิพลไปสู่เวทีการเมือง ทำให้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่น่าจับตามอง



Fandom คืออะไร

แฟนคลับกับแฟนด้อมแตกต่างกันยังไง ?

คำว่าแฟนคลับและแฟนด้อม แม้ว่าจะมีความหมายคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย ในบางครั้งแฟนคลับบางคนอาจชื่นชอบเพียงผลงานของศิลปิน ไม่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับแฟนคลับคนอื่น ๆ ขอตามผลงานเงียบ ๆ คนเดียวก็พอใจแล้ว

แต่สำหรับคำว่าแฟนด้อมมักจะมีวัฒนธรรมบางอย่างที่แสดงถึงความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแฟนคลับด้วยกัน จนเป็นเหมือนคอมมูนิตี้หนึ่ง เช่น มีการจัดกิจกรรมให้แฟนคลับมาพบปะกัน เทรนด์ Hashtag ช่วยกันกระจายข่าวสารและผลงานของศิลปิน หรือคำศัพท์เฉพาะที่รู้กันในแฟนด้อม เป็นต้น



Fandom Marketing คืออะไร ?

Fandom Marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นสร้างการรับรู้หรือสร้าง Engagement ให้กับแบรนด์โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มแฟนด้อม โดยใช้ศิลปิน ดารา หรือบุคคลมีชื่อเสียงเป็นสื่อกลางในการทำการตลาด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มาแรงมากในปัจจุบัน

เนื่องในยุคที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย การจะดึงดูดใจลูกค้าให้หันมาสนใจแบรนด์ของคุณไม่ใช่เรื่องง่าย แบรนด์ต่าง ๆ ต่างต้องงัดกลยุทธ์เด็ดออกมาแข่งขันกัน และหนึ่งในกลยุทธ์ที่กำลังมาแรงและพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังนั่นคือ “แฟนด้อมมาเก็ตติ้ง Fandom Marketing”



Fandom Marketing สร้างผลดีให้กับแบรนด์ได้ยังไงบ้าง ?

1. กระตุ้นยอดขายได้รวดเร็ว

กลุ่มแฟนคลับเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง ถ้าหากว่าศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบเป็นพรีเซนเตอร์ มีการทำคอลเลกชันพิเศษร่วมกับแบรนด์ หรือมีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์สินค้าทางใดทางหนึ่ง มีโอกาสสูงมากที่จะได้การตอบรับจากแฟนคลับเป็นอย่างดี และมีการตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ๆ ได้ง่าย เพราะการจ่ายเงินเปย์ก็เปรียบได้กับการแสดงออกถึงความรัก และยังเป็นการสนับสนุนผลงานของศิลปินอย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง

2. สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมที่ทรงพลัง

การทำ Fandom Marketing สามารถช่วยสร้างการรับรู้ได้เป็นวงกว้าง จะเห็นได้จากเวลาที่แบรนด์มีแคมเปญหรือสินค้าที่มีคนดังเป็นพรีเซนเตอร์ เรามักจะเห็น Hashtag แบรนด์ติดอันดับเทรนด์ในทวิตเตอร์ หรือได้รับการพูดถึงบนโซเชียลมีเดียเสมอ นั่นก็เป็นเพราะฝีมือการปั่นเทรนด์ Hashtag ขั้นเทพของเหล่าแฟนคลับนั่นเอง ซึ่งก็จะส่งผลดีกับแบรนด์ และยังได้ยอด Engagement ที่มีประสิทธิภาพด้วย 

3. ได้กลุ่มลูกค้าที่มีความ Loyalty สูง

กลุ่มแฟนคลับหรือแฟนด้อมมีความ Loyalty ต่อสิ่งที่ตัวเองสนใจสูงมาก การใช้กลยุทธ์ Fandom Marketing จึงเป็นเหมือนตัวช่วยที่ทำให้แบรนด์สามารถเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้กลายมาลูกประจำและมีความ Loyalty ต่อแบรนด์สูงได้อีกทางหนึ่งนั่นเอง



เรื่องที่ควรรู้เมื่อคิดจะทำ Fandom Marketing

1. เลือกศิลปินให้เหมาะสมกับแบรนด์

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำ Fandom Marketing คือการเลือกศิลปินและแฟนด้อมที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ บางแฟนด้อมส่วนใหญ่เป็นวัยเรียน บางแฟนด้อมเป็นวัยทำงาน หรือบางแฟนด้อมอาจมีแต่ผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากเลือกศิลปินจากแค่ความดังเพียงอย่างเดียว แต่แฟนคลับเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เหมาะกับสินค้าของแบรนด์ การทำ Fandom Marketing ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ


เลือกศิลปินให้เหมาะสมกับแบรนด์


2. ทำตัวให้เป็นหนึ่งเดียวกับแฟนด้อม

การทำตัวให้กลมกลืนเสมือนเป็นหนึ่งเดียวกับแฟนด้อมคือเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ในการทำ Fandom Marketing แนะนำให้ทำการบ้าน หาข้อมูลและ Insight ของแฟนด้อมนั้น ๆ ด้วย เช่น ผลงานล่าสุดหรือผลงานโดดเด่นของศิลปิน คำศัพท์เฉพาะ เรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็น เพื่อให้เหล่าแฟนคลับรู้สึกว่าแบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ ยิ่งทำตัวเป็นหนึ่งเดียวกับแฟนด้อมได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้แฟนคลับรับรู้ได้ถึงความใส่ใจของแบรนด์ และคุณจะได้ใจจากพวกเขาในที่สุด

3. ขายของได้ แต่ต้องจริงใจด้วย

ความจริงใจจากแบรนด์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนมองหา การที่นำศิลปินมาเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างแบรนด์กับแฟนด้อม เพื่อเน้นการขายของแบบ Hard Sale เพียงอย่างเดียว อาจเป็นการแสดงออกที่สื่อถึงความไม่จริงใจ ไม่สนใจ และไม่รับฟังข้อเสนอแนะของแฟนคลับ อาจส่งผลลบกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ นอกจากนี้แบรนด์ต้องไม่สร้างภาพลักษณ์ที่เสียหาย และควรให้เกียรติศิลปินของพวกเขา จะส่งผลดีกับแบรนด์ในระยะยาวมากกว่าด้วย

 


กลยุทธ์ที่มักใช้ในการทำ Fandom Marketing

1. Presenter / Brand Ambassador

การมีศิลปินที่รักและชื่นชอบเป็น Presenter หรือ Brand Ambassador ของแบรนด์ จะช่วยให้แฟนคลับมีความรู้สึกทางบวกกับแบรนด์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเลือกศิลปินมาเป็น Presenter หรือ Brand Ambassador ควรคำนึงถึงความเหมาะสมและภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วย 

2. Top Spender  

การมอบสิทธิพิเศษให้กับแฟนคลับที่มียอดซื้อสะสมสูงที่สุด เช่น มีสิทธิ์เข้าร่วมงาน Meet & Greet, มีสิทธ์รับลายเซ็นสด, สิทธิ์ถ่ายรูปแบบ 1:1 กับศิลปินที่ชื่นชอบ เป็นต้น

3. Limited Edition หรือ Box Set

การออกแบบแพ็กเกจลายพิเศษ สินค้าคอลเลกชันพิเศษ หรือจัดสินค้า Box Set แบบ Limited Edition  เพื่อให้แฟนคลับได้เก็บสะสมโดยเฉพาะ

4. Gift with Purchase

การทำของแถมสุดพิเศษ สำหรับแฟน ๆ ที่ซื้อสินค้าของแบรนด์ เช่น Photocard, Postcard, รูปโพลารอยด์พร้อมลายเซ็นสุดเอ็กซ์คลูซีฟ เป็นต้น



ตัวอย่างการทำ Fandom Marketing ที่ประสบความสำเร็จ

1. โทนเนอร์พี่จุน : พลังแห่งการบอกต่อจาก “ซูโฮ EXO”

กระแสของ “โทนเนอร์พี่จุน” ที่เกิดจาก “ซูโฮ วง EXO” ได้แนะนำว่าตัวเองใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้อยู่และใช้ดี เกิดกระแสให้แฟนคลับหาซื้อมาใช้ตามจนสินค้าขาดสต็อก และจากกระแสดังกล่าวทำให้แบรนด์ตัดสินใจเลือกซูโฮมาพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์ ANUA

2. BLACKPINK x Pepsi : ความร่วมมือสุดคิ้วท์ ดึงดูดใจวัยรุ่น

“BLACKPINK” กับการเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Pepsi เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น แบรนด์ได้ทำ Pepsi แบบกระป๋องแพ็กแกจสุดพิเศษ ในโทนสีดำ-ชมพู พร้อมรูปสาว ๆ ทั้ง 4 คน ในจำนวนจำกัด เพื่อให้ Blinks ได้เก็บสะสม

3. พี่จอง-คัลแลน : รีวิวแบบเรียล ๆ จากยูทูปเบอร์สายเที่ยว

“พี่จอง-คัลแลน” ยูทูปเบอร์ชาวเกาหลีชื่อดังกับการเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับโทรศัพท์รุ่นล่าสุดอย่าง Samsung Galaxy S24  มีทั้งการปรากฏตัวในโฆษณาและยัง Tie-In ใช้สินค้าให้เห็นจริงในคลิปท่องเที่ยวของพวกเขาด้วย

4. “BTS Meal” : อิ่มอร่อยร่วมกับเมนูสุดพิเศษจาก McDonald’s

“BTS” ศิลปินบอยแบนด์ชื่อดังจากประเทศเกาหลีใต้ ร่วมมือกับ McDonald’s เปิดตัว "BTS Meal" เซ็ตอาหารสุดพิเศษ ซึ่งสร้างกระแสความตื่นเต้นให้กับเหล่า ARMY แฟนคลับ BTS ทั่วโลก ด้วยการสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่โดนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ 


บทสรุป

Fandom Marketing นับว่ากลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนโดยแฟนด้อมอย่างแท้จริง โดยใช้พลังความรักของพวกเขาที่มีต่อสิ่งที่คลั่งไคล้ ช่วยสร้าง Impact ให้กับแบรนด์ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งช่วยกระตุ้นยอดขาย สร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วม จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมหลาย ๆ แบรนด์จึงหันมาใช้กลยุทธ์นี้กันมากขึ้น

ถ้าหากว่าธุรกิจของคุณต้องการทำ Fandom Marketing โดยการใช้คนดังเพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย Digital Factory มีทีมงานพร้อมให้คำแนะนำ พร้อมรับวางแผนกลยุทธ์การตลาด เพื่อช่วยธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย



ขอบคุณข้อมูลจาก : Bangkokbiznews  Thedigitaltips  Forbes

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

เจาะลึกจุดเด่นโฆษณา Google Display Network (GDN) ที่คนทำ Ads ต้องรู้

Google Display Network (GDN) คืออะไร มีจุดเด่นอะไรบ้าง สำหรับรูปแบบโฆษณาเพื่อใช้ทำธุรกิจ ถ้าพร้อมแล้ว มาทำความรู้จักกับ Google Display Network ให้มากขึ้นกัน

Evergreen Content คืออะไร พร้อมเคล็ดลับทำให้เขียวชอุ่มตลอดทั้งปี

คำว่า "Evergreen Content" หมายถึงอะไร
เป็นคอนเทนต์ที่ต่อให้กระแสจะหมดไป หรือเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังคงมีความสามารถในการดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้ทุกเมื่อ แล้ว Evergreen Content คืออะไร ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.