Infographic vs Motion Graphic ต่างกันยังไง? เลือกแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน
Infographic กับ Motion Graphic เป็น 2 รูปแบบของการทำการตลาดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยทั้งสองรูปแบบนี้ มีหลากหลายวิธีในการสร้างสรรค์ชิ้นงานให้ออกมาน่าสนใจ และสามารถสร้างความแตกต่าง รวมไปถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ของคุณได้
แต่การจะเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย คนทำแบรนด์อย่างคุณจะต้องเลือกอย่างไร แล้วทั้ง 2 รูปแบบการนำเสนอที่ว่านี้ มีข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกันตรงไหน ให้บทความนี้ได้คลายข้อสงสัยเหล่านั้นให้กับพวกคุณกัน
อินโฟกราฟฟิค (Infographic) คืออะไร ?
ปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักจะเคยผ่านตากับรูปแบบการนำเสนอผลงานประเภทอินโฟกราฟิกกันมาไม่ใช่น้อย ซึ่งโดยปกติแล้วลักษณะของเนื้อหาที่พบได้บ่อยในลักษณะชิ้นงานประเภทอินโฟกราฟิก คือ เนื้อหาประเภทข้อมูล (Data), เนื้อหาที่ให้ข้อมูลตามความจริง (Fact) ไปจนถึงเนื้อหาในลักษณะที่เป็นข้อความยาว ๆ ก่อนจะทำการพลิกแพลงเนื้อหาเหล่านั้น ผลิตออกมาในลักษณะของรูปภาพ (ลักษณะเดียวกันกับ Poster) ที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจและนำพามาสู่การรับรู้ที่ชัดเจนกว่า ซึ่งแน่นอนว่า อินโฟกราฟฟิค คือ การนำเสนอข้อมูลเชิงซับซ้อน ให้อ่านง่าย เข้าใจเร็ว ผ่านภาพ กราฟิก ไอคอน และข้อความให้กลายเป็นภาพสวย ดึงดูดสายตา ช่วยให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
ข้อดีของ อินโฟกราฟฟิค (Infographics) มีอะไรบ้าง ?
โดยข้อดีของ Infographics คือ การช่วยเพิ่มความเข้าใจให้กับเนื้อหาเหล่านั้นได้ ภายในรูปภาพรูปเดียว ไม่ว่าจะด้วยวิธีการสรุป ตัด หรือย่อข้อมูลจากที่เยอะมากให้สั้นลง, หรือจะเป็นการใช้ภาพประกอบตกแต่งเข้ามาช่วยเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้ที่พบเห็น, การบิดวิธีการเล่าเรื่อง (Story Telling) ให้เข้าใจได้ง่าย ไปจนถึงการใช้สัญลักษณ์ (Symbol) แทนการอธิบายข้อความที่ยาวพรืด ให้คนทำความเข้าใจกันได้ผ่านการมองสัญลักษณ์ตัวแทนต่าง ๆ เหล่านั้น
โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) คืออะไร ?
ทางด้านของ Motion Graphic คือ การหยิบเอาอินโฟกราฟิกที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วมาต่อยอด หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ภาพเคลื่อนไหว” เป็นสับเซ็ตของอินโฟกราฟิกอีกทีนั่นแหละ เพราะชื่อเต็ม ๆ ของ Motion Graphic เป็นการผสมระหว่างคำว่า Motion กับ Infographic ซึ่งพอมาอยู่ในรูปแบบของ Motion แล้วนั้น ก็จะมีการผสมผสานเอาความเป็นภาพเคลื่อนไหวเข้ามาแซมด้วย
ข้อดีของโมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) มีอะไรบ้าง ?
ข้อดีของ “ภาพเคลื่อนไหว” ประเภทนี้ คือ สามารถดึงดูดความสนใจจากคนที่พบเห็นได้ง่ายกว่า สะดุดตากว่า เพราะชิ้นงานประเภทนี้จะไม่ได้มีแค่ตัวหนังสือ หรือภาพประกอบนิด ๆ หน่อย ๆ อีกต่อไป แต่บางชิ้นงานอาจจะมีเสียงพากย์, คำบรรยาย (Subtitle) รวมไปถึงการหยิบเอาเสียงดนตรีเข้ามาอยู่ในผลงานชิ้นนั้นของคุณด้วย
ซึ่งแน่นอนว่าพอมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้งบประมาณ และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานนั้น ๆ ก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน และต่อให้จะใช้งบประมาณที่น้อยกว่า แต่ความยากของการเป็นอินโฟกราฟิกคือ จะทำยังไง ให้คนหยุดความสนใจมาที่ชิ้นงานของเราได้ภายในไม่กี่วินาทีเท่านั้น และโจทย์ที่ตามมาก็คือ แล้วไอเดียที่อยู่ในหัวของคุณตอนนี้ ควรจะไปเส้นทางไหน ถึงจะตอบโจทย์ความต้องการและคุ้มค่ามากกว่ากัน
เลือกอะไรดี ระหว่าง Infographic กับ Motion Graphic
มาถึงคำถามโลกแตกของใครหลายคน อย่างการที่จะต้องเลือก รูปแบบการนำเสนอผลงาน ระหว่างการนำเสนอผลงานด้วยภาพนิ่งธรรมดา กับภาพที่มีการผสมผสานการเคลื่อนไหวลงไปด้วย ซึ่งเงื่อนไขที่จะมาช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนั้น มีหลายองค์ประกอบมาก นับตั้งแต่
1. งบประมาณที่มีอยู่ในมือ
เปรียบเสมือนกรอบการทำงาน เริ่มต้นด้วยการตั้งงบให้ชัดเจน โดยเลือกสื่อที่เหมาะสมและคุ้มค่า วันตรุษจีน 2567
2. เรื่องราวที่จะนำเสนอ มีความสั้น-ยาวมากแค่ไหน
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางโฆษณาถึงดูดึงดูดใจ บางโฆษณากลับน่าเบื่อ ? นั่นเป็นเพราะความสั้น-ยาวของเนื้อหามีผลต่อการนำเสนอ สื่อบางชนิดเหมาะกับเนื้อหาสั้นกระชับ บางสื่อก็เหมาะกับเนื้อหาเชิงลึก ดังนั้น การเลือกสื่อและรูปแบบการนำเสนอ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจ และสร้างความเข้าใจให้กับผู้รับสารได้อย่างเป็นอย่างดี
3. ความยาก-ง่ายของเรื่องราวที่จะนำเสนอเป็นอย่างไร มีดีเทลที่สำคัญเยอะไหม
ระดับความยากง่ายของเรื่องราวมีผลต่อการเลือกสื่อ ดังนั้น เนื้อหาเยอะ มีรายละเอียดสำคัญ Infographic ตอบโจทย์ ด้วยรูปแบบภาพนิ่ง จัดเรียงข้อมูลอ่านง่าย ทำให้เข้าใจไว แต่ถ้าอยากได้แบบ...ดึงดูดสายตา น่าสนใจ ต้อง Motion Graphic ด้วยภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี บวกกับการเล่าเรื่องสนุกแถมครบรส
4. สถานที่ ที่ชิ้นงานนั้น ๆ จะไปปรากฏอยู่ คือที่ไหน
ผลงานแต่ละชิ้นมีสถานที่ที่เหมาะกับการนำเสนอที่แตกต่างกัน สื่อบางประเภทเหมาะกับการนำเสนอในสถานที่ปิด บางประเภทเหมาะกับการนำเสนอแบบเปิดโล่ง การเลือกสื่อให้เหมาะกับพื้นที่และการใช้งาน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การนำเสนอผลงานของคุณมีประสิทธิภาพ
5. จุดประสงค์ของการใช้งาน (ใช้เนื่องในโอกาสอะไร)
เพื่อให้คุณเข้าใจวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ ว่าต้องการสร้างความรู้ ความเข้าใจ กระตุ้นอารมณ์ หรือเพื่อความบันเทิง และเลือกสื่อที่ตรงกับเป้าหมาย
ซึ่งองค์ประกอบเบื้องต้นทั้ง 5 ข้อนี้ จะสามารถช่วยตัดสิ่งที่ใช่และไม่ใช่ให้กับคุณได้ในขั้นแรก ก่อนจะนำมาสู่บทสรุปในขั้นต่อไป ว่ารูปแบบการนำเสนอเวย์ไหน จะเป็นคำตอบสุดท้ายที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น การนำเสนอความรู้สึกผ่านสื่อที่ใช่ ด้วยการบอกค่ะใน “วันวาเลนไทน์” สำหรับ Infographic เปรียบเสมือนการ์ดอวยพรสุดคลาสสิก เต็มไปด้วยข้อมูล ข้อความ และภาพประกอบ เรียบง่าย แต่อบอุ่น ในส่วนของ Motion Graphic เปรียบเสมือนภาพยนตร์รักโรแมนติก เต็มไปด้วยภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง และการเล่าเรื่อง สื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก ทุกคนคงพอจะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมล่ะ ว่าระหว่าง Infographic กับ Motion Graphic คุณควรเลือกการสื่อสารแบบไหนดี
บทสรุป
สมมุติว่าชิ้นงานที่คุณต้องการจะนำเสนอนั้น เป็นลักษณะของขั้นตอนที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก อยากจะแค่นำเอาข้อมูลเหล่านั้น สรุปออกมาให้คนเข้าใจง่ายขึ้น เห็นภาพชัดขึ้น คุณอาจจะใช้รูปแบบของ อินโฟกราฟิก แทนคำตอบนั้นได้ เพราะนี่คือข้อดีของ Infographic ที่เหมาะสำหรับการย่อข้อมูล สรุป และดีไซน์ออกมา เพื่อให้คนเข้าใจง่าย เพียงเท่านี้ก็ถือว่าน่าจะเพียงพอ
แต่ถ้าข้อมูลที่คุณมีอยู่ มีความซับซ้อนขึ้นมา หรือเป็นวัฏจักรที่มีการเปลี่ยนแปลงไล่ไปทีละลำดับชั้น เป็นประวัติของแบรนด์ที่ต้องเล่าเป็น Timeline การใช้ Motion Graphic เข้ามาช่วยอธิบาย ไล่เรียงไปทีละสเต็ป ก็อาจจะช่วยเพิ่มความเคลียร์ให้กับผู้ที่พบเห็นได้มากกว่า
หรือถ้าชิ้นงานนั้น ๆ ของคุณจะไปปรากฏอยู่ในลิฟต์ ในลักษณะของสื่อประชาสัมพันธ์ การใช้ Motion Graphic เข้ามาช่วย ก็อาจจะทำได้ดีมากกว่าการนำเสนอผ่านภาพนิ่งธรรมดา จะเห็นได้ว่ารูปแบบของ Content Marketing ทุกวันนี้มีอะไรแปลกใหม่ ที่คุณจะต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจกันอยู่ตลอด โดยอินโฟกราฟิก และโมชันกราฟิกนั้นก็เป็นหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยม แถมยังมีเทคนิคในการสื่อสารออกมาให้น่าสนใจมาก โดยที่คนทำแบรนด์อย่างคุณควรจะต้องศึกษา และนำไปพินิจพิจารณาก่อนจะวางแผนกลยุทธ์การตลาดกัน
หากใครมีข้อสงสัยหรืออยากขอแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบสื่อสำหรับการโฆษณา ทางบริษัทมีผู้เชี่ยวชาญที่รับออกแบบสื่อโฆษณา การันตีจากประสบการณ์ที่ผ่านมากับหลากหลายบริษัทชั้นนำ โดยคุณสามารถเข้าไปดูรายละเอียดและรับคำปรึกษาเบื้องต้นก่อนได้ที่ คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก : Creativeblend Thewebtier Arenatilakroad
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Clickbait คืออะไร มีวิธีใช้งานอย่างไร เผยกลไกทางจิตวิทยาดึงดูดใจคน
เคยสงสัยไหมว่าทำไมถึงหลงกลคลิกข่าว ? บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกกลไกทางจิตวิทยาของคลิกเบต (Clickbait) คืออะไร และเผยวิธีรับมือกับพาดหัวข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
ChatGPT คืออะไร แชตบอทอัจฉริยะ AI เขียนบทความแทนคนได้จริงเหรอ ?
ChatGPT คืออะไร ใช้งานยังไงและเหมาะกับใคร สามารถช่วยทำงานให้ง่ายและราบรื่นมากยิ่งขึ้นจริงหรือ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบแชตบอทอัจฉริยะ AI เรื่องนี้ไปพร้อมกัน