ทำความรู้จักกับ Sitemap แผนผังเว็บไซต์ก่อนลงมือทำเว็บ
เว็บไซต์ที่ดีคือเว็บไซต์ที่ช่วยให้ผู้เข้าชมหาสิ่งที่ต้องการเจอได้สะดวกรวดเร็ว เช่น ถ้าลูกค้าอยากจะเข้ามาหาซื้อเสื้อสักตัว เว็บก็ควรจะรวมมีเมนูเสื้อแยกไว้เด่นๆ ให้ลูกค้ากดดูได้เลยโดยไม่ต้องเลื่อนหาแบบไร้จุดหมาย หรือถ้าลูกค้าอยากจะดูว่าสถานะการสั่งซื้อถึงขั้นตอนไหนแล้ว ก็ควรจะมีเมนูติดตามการสั่งซื้อให้ลูกค้ากดดูได้อย่างสะดวกเช่นกัน
ซึ่งความสะดวกรวดเร็วที่ว่ามานี้ต้องอาศัยการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่มีความเป็นระเบียบ แยกทุกอย่างเป็นหมวดหมู่ ฝังลิงก์ให้กดไปหน้าต่อไปได้เลยโดยไม่ต้องเลื่อนหาให้เสียเวลา และสิ่งที่จะเข้ามาตอบโจทย์เรื่องการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราอยากจะแนะนำว่า ต้องทำ และต้องทำให้ดีที่สุดก็คือ การทำ Sitemap (ไซต์แมพ) นั่นเอง
Sitemap (แผนผังเว็บไซต์) คืออะไร ?
Sitemap คือ แผนผังของเว็บไซต์ หรือแผนที่นำทางในเว็บไซต์ คล้ายกับเวลาที่คุณไปเที่ยวสวนสนุก แล้วมีแผนที่บอกว่าโซนนี้อยู่ตรงไหน ของเล่นอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง Sitemap ก็ทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน คือบอกให้ทั้งผู้ใช้งานและ Search Engine ให้รู้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีหน้าเพจอะไร อยู่ตรงไหน ซึ่งแผนผังนี้จะแสดงภาพรวมของเว็บไซต์มีอะไรบ้าง ทำให้คนที่เข้ามาชมเว็บไซต์เข้าใจถือโครงสร้างของเว็บไซต์ได้
ยกตัวอย่าง Sitemap ของเว็บไซต์ขายหนังสือออนไลน์ชื่อ BOOKstore.com เว็บนี้ขายหนังสือเกือบทุกประเภทก็อาจจะมี Sitemap ดังนี้
เกี่ยวกับร้าน
หน้าสินค้า และก็อาจจะมีเมนูย่อยออกไปอีกดังนี้
- หนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัย
- หนังสือนิยาย
- หนังสืองานเงิน/การลงทุน
- หนังสืองานเงิน/การลงทุน
- หนังสือสำหรับเด็ก
- หน้าติดตามสถานะการสั่งซื้อ
ซึ่ง Sitemap หลัก ๆ เหล่านี้ก็คือแถบเมนูที่ถูกวางไว้ในหน้าแรกของเว็บ เพื่อที่จะช่วยให้ลูกค้าคลิกเข้าไปดูหน้าที่ต้องการได้อย่างง่ายดายนั่นเอง
Sitemap มีความสำคัญต่อเว็บไซต์อย่างไร ?
ถ้าหนังสือมีสารบัญ เว็บไซต์ก็ต้องมี Sitemap ! เมื่อเปรียบเทียบ Sitemap เหมือนการทำสารบัญให้กับหนังสือ เช่น หนังสือรวมบทสวดมนต์ วันนี้เพิ่งทำบุญเสร็จอยากจะกรวดน้ำสักหน่อย แต่หนังสือดันไม่ทำสารบัญแจกแจงหน้ามาให้ สมมติหนังสือมีอยู่ 50 หน้า นั่นหมายความว่า คุณก็ต้องเปิดทีละหน้าเพื่อหาบทกรวดน้ำให้เจอ เรียกว่าทั้งลำบากและเสียเวลาชีวิตเป็นที่สุด เว็บไซต์ที่ไม่มี Sitemap ก็เช่นเดียวกัน ลองคิดสภาพว่าลูกค้าอยากจะสั่งหนังสือนิยายรักสักเรื่อง แต่ต้องเสียเวลานั่งไล่หาไปทีละหน้า ๆ โดยไม่รู้เลยว่าจะเจอเมื่อไหร่ นั่นทำให้ลำบากขนาดไหน ซึ่งแน่นอนว่าพอเว็บไซต์คุณใช้งานยาก ทำให้เสียเวลาชีวิต ก็ไม่มีลูกค้าที่ไหนอยากจะเข้ามาสั่งซื้อ สุดท้ายก็จะส่งผลเสียกับรายได้ของร้านในที่สุด
Sitemap มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
Sitemap จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ HTML Sitemap และ XML Sitemap ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีจุดที่เหมือนและต่างกันดังนี้เลย
1. HTML Sitemap คือะไร ?
HTML Sitemap คือ หน้าเพจที่เป็นจุดรวบรวมลิงก์ หรือเมนูต่างๆ มีชื่อลิงก์ หรือชื่อเมนูชัดเจนเข้าใจง่าย เช่น หน้าหลักของ BOOKstore.com จะมีเมนูหลักเป็น เกี่ยวกับร้าน, หน้าสินค้า (สามารถกดดูเมนูย่อยได้อีก), และหน้าติดตามสถานะการสั่งซื้อนั่นแหละ HTML Sitemap จะถูกสร้างมาเพื่อให้ลูกค้า หรือคนที่เข้ามาชมเว็บเข้าใจว่า เว็บนี้ทำเกี่ยวกับอะไร หรือถ้าขายของก็ขายอะไรบ้าง แถมยังสะดวกในการใช้งานอีกด้วย
2. XML Sitemap คืออะไร ?
XML Sitemap คือ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับ HTML Sitemap นั่นแหละ เพียงแต่ว่า HTML Sitemap ถูกสร้างมาเป็นสารบัญเพื่อสื่อสารกับลูกค้า หรือคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ ในขณะที่ XML Sitemap ถูกสร้างมาเหมือนเป็นสารบัญให้กับ “Bot” หรือเรียกอีกอย่างว่า “Search Engine Bot” ของ Google เข้ามาตรวจสอบ และเก็บข้อมูลของเว็บไซต์คุณ โดยเจ้า Bot นี่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่ตัวหนังสือ, ไฟล์, รูปภาพ, รวมถึงวีดีโอด้วย ถ้าถามว่าเก็บไปทำไม คำตอบก็คือ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลจัดอันดับ (Ranking) บนหน้าการค้นหาของ Google
นอกจากนี้ยังมีอีก 1 จุดที่ XML Sitemap แตกต่างจาก HTML Sitemap ก็คือ XML Sitemap จะมีแค่ URL ของแต่ละหน้าเท่านั้น จะไม่มีชื่อกำกับอย่าง รายการสินค้า, ติดตามสถานะการสั่งซื้อ กำกับไว้เหมือน HTML Sitemap
Sitemap มีประโยชน์กับใครบ้าง ?
จากข้อมูลข้างต้นทำให้เดาไม่ยากเลยว่า Sitemap มีประโยชน์กับใครบ้าง ซึ่งก็จะมีหลัก ๆ ดังนี้เลย
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ อาจจะลูกค้า หรือคนที่เข้ามาหาความรู้ เมื่อเว็บไซต์ของคุณมีความเป็นระเบียบ ก็ทำให้ใช้งานได้อย่างสะดวกลื่นปรื๊ดมากขึ้น
คนทำงานที่ต้องคอยพัฒนาเว็บไซต์ เมื่อเว็บไซต์มีโครงสร้างชัดเจน ก็ง่ายต่อการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีเยี่ยมอยู่เสมอ
ช่วยให้ Bot ของ Search Engine อย่าง Google มาเก็บข้อมูลได้ง่าย ซึ่งพอเก็บข้อมูลได้ง่ายแล้ว การติดอันดับในหน้าค้นหาของ Google ก็จะง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน
เว็บไซต์แบบไหนที่ควรทำ Sitemap
1. เว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีเนื้อหาเยอะ ๆ
พอเว็บไซต์คุณใหญ่แต่กลับไม่มีการทำ Sitemap นั่นจะส่งผลให้ Bot ของ Google มาเก็บข้อมูลได้อย่างลำบาก ก็คล้าย ๆ กับว่าหนังสือขนาด 150 หน้าแต่ไม่มีสารบัญกำกับ คงสร้างความปวดหัวให้คนอ่านไม่น้อยเลย เผลอ ๆ อาจจะทำให้คนเลิกอ่านไปเลยก็ได้ ซึ่งก็เช่นเดียวกันถ้าเว็บไซต์ขนาดใหญ่ไม่ทำ Sitemap เจ้า Bot ของ Google ก็จับเว็บไซต์ได้อย่างลำบาก และสุดท้ายเว็บคุณก็จะไม่ติดอันดับการค้นหา
2. เว็บที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่
เพราะเว็บที่สร้างขึ้นมาใหม่จะมีจำนวน External Link เข้ามาที่เว็บไซต์ ค่อนข้างน้อย เจ้า External Link ก็คือลิงก์ที่เว็บไซต์อื่น ๆ อ้างอิงถึงเว็บไซต์คุณนั่นเอง ซึ่งพอจำนวน External Link ของเว็บคุณมีน้อย ก็เป็นเรื่องจำเป็นมากที่เราจะทำ Sitemap ให้ดี เพื่อที่ Bot ของ Google ค้าหาเว็บไซต์คุณเจอได้ง่าย ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการติดอันดับในหน้าแรกของการค้นหาได้ในที่สุด
Sitemap ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ?
Sitemap Website ที่ดีคงต้องแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ดีต่อผู้ใช้งานเว็บไซต์ และดีต่อ Bot ของ Search Engine เหตุผลก็เพราะ ทำ Sitemap เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ และให้ Bot ของ Search Engine ที่เราคุ้นเคย และมีความสำคัญต่อ SEO อย่าง Google เข้ามาเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก
Sitemap ที่ดีสำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ ก็คงไม่พ้นเรื่องของการจัดระเบียบให้ใช้งานง่าย กดลิงก์ง่าย หาเมนูที่ต้องการง่าย จัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เช่น เว็บไซต์ BOOKstore.com มีเมนูสินค้าเป็นเมนูหลักเมนูย่อยก็ควรจะเป็นหนังสือแต่ละประเภทจะได้ง่ายต่อการค้นหา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ จัดหมวดให้เรียบร้อย หาง่าย และอย่าลืมที่จะฝังลิงก์เพื่อให้คลิกเข้าไปชมได้สะดวก
Sitemap ที่ดีสำหรับ Bot ของ Google ด้วยความที่ Bot ของ Google จะจับพวก URL เพราะฉะนั้น URL ควรจะต้องตั้งค่าให้มีการอัปเดตบ่อย ๆ อาจจะทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน แล้วหากเว็บไซต์มีการเพิ่มหน้าเนื้อหาเข้ามาใหม่ ก็ควรจะรีบอัปเดตโดยเร็วเพื่อที่ Bot ของ Google จะเข้ามาจับได้อย่างรวดเร็วทันใจ แต่อย่างไรก็ตามในการสร้าง URL ก็ควรจะจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน เรียบร้อยด้วยเช่นกัน
บทสรุป
จากทั้งหมดนี้จะเห็นว่า การทำ Sitemap เป็นอีก 1 หัวใจของการทำเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ ทั้งต่อคนที่เข้ามาชมเพจ และต่อ Search Engine ซึ่งพอเว็บไซต์มีคุณภาพที่ดีแล้วผลดีที่ตามมาก็คือ ยอดเอ็นเกจเมนต์ก็ดีขึ้นตามไปด้วย ยิ่งถ้าเว็บไซต์คุณสามารถติดอันดับในหน้าค้นหาได้ล่ะก็ ชื่อเว็บไซต์ของคุณก็จะเป็นที่จดจำ ความน่าเชื่อถือก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะทำเว็บไซต์ให้เป็นที่ต้องตาต้องใจกลุ่มเป้าหมาย หรืออยากจะให้เว็บไซต์ติดอันดับแรก ๆ ในหน้าค้นหา อย่าลืมที่จะให้ความสำคัญกับการทำ Sitemap แต่ถ้ากำลังมองหาที่ปรึกษาในการรับทำเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ ที่นี่เรามีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการทำเว็บไซต์คอยให้คำปรึกษา
ขอบคุณข้อมูลจาก : Bepgroup Thedigitaltips
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Niche Market คืออะไร ? เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มอย่างไรให้ครองใจคุณ
Niche Market คืออะไร Niche Marketing มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง Niche Market ในไทย ️และแนะนำกลยุทธ์การตลาดแบบ Niche เพื่อให้คุณตัดสินใจก่อนเริ่มต้นธุรกิจ
TikTok SEO คืออะไร สร้างคอนเทนต์ ปรับแต่งเนื้อหาอย่างไรให้ถูกค้นหาเจอ
หากคุณใช้ TikTok ในการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ควรพลาดบทความนี้เด็ดขาด ! เพราะเรานำสาระดี ๆ เกี่ยวกับ TikTok รวมถึง การทำ TikTok SEO มาฝากคุณแล้ว !