Marketing Strategy คืออะไร พร้อมทริคลับเฉพาะ ฉบับเจ้าพ่อการตลาด

Marketing Strategy คืออะไร พร้อมทริคลับเฉพาะ ฉบับเจ้าพ่อการตลาด

ว่ากันว่า ในการทำการตลาด กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต ฉะนั้นแล้วการวางกลยุทธ์ที่รัดกุมและรอบคอบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แล้ว Marketing Strategy ทำอะไรบ้าง และเจ้าของธุรกิจอย่างคุณจะต้องมีแนวคิดอย่างไรในการออกแบบกลยุทธ์การตลาดให้ปัง เพื่อเป็นแผนลับที่จะพาคุณไปสู่เป้าหมายได้ ใครที่เป็นนักการตลาดมือใหม่ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบกับปัญหานี้อยู่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณ !

Marketing Strategy คืออะไร ทำความรู้จักกับกลยุทธ์พื้นฐานที่นักการตลาดต้องรู้ !

Marketing Strategy คือ คำว่า “กลยุทธ์การตลาด” ในภาษาไทย โดยคำนี้เกิดจากการนำคำว่า “กลยุทธ์” และ “การตลาด” มารวมกัน โดยกลยุทธ์การตลาด คือ แนวทางในการทำให้สินค้า บริการ และแบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อให้มียอดขายและเกิดการเติบโตของธุรกิจ 

ว่ากันว่าในปัจจุบันมีกลยุทธ์ทางการตลาดมากมายเลยที่นักการตลาดนิยมใช้กัน แต่กลยุทธ์การตลาดแบบที่เป็นพื้นฐานที่นักการตลาดทุกคนจะต้องทราบนั้นก็คือ กลยุทธ์ Marketing Mix โดยการตลาดประเภทนี้ ในอดีตจะเป็นแบบ 4Ps ก่อน แต่ในปัจจุบันการตลาดแบบ 4Ps ไม่เพียงพออีกต่อไป จึงขยายออกมาเป็นกลยุทธ์การตลาดแบบ 7Ps และ 8Ps ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน


4Ps Marketing


1. กลยุทธ์การตลาด 4Ps Marketing

กลยุทธ์นี้เปรียบเสมือนสูตรผสมลับที่ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกใช้เพื่อดึงดูดลูกค้า เพิ่มยอดขาย และสร้างความสำเร็จ เป็นการตลาดแบบที่เน้นไปที่ตัวสินค้าและบริการเป็นหลัก ซึ่งจะประกอบไปด้วย 

  • Product (สินค้าหรือบริการ)

  • Price (ราคา)

  • Place (ช่องทางหรือสถานที่จัดจำหน่าย) 

  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) 

ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของการทำการตลาดทั่วไปเลยก็ว่าได้


7Ps Marketing


2. กลยุทธ์การตลาด 7Ps Marketing

กลยุทธ์การตลาด 7Ps เปรียบเสมือนสูตรอาหารลับฉบับพิเศษ ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากกลยุทธ์ 4Ps ดั้งเดิม เพิ่มเติมด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงใจลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และบรรลุเป้าหมายทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 7 ประการของกลยุทธ์ 7Ps ประกอบด้วย ดังนี้

  • Product (สินค้าหรือบริการ)

  • Price (ราคา)

  • Place (ช่องทางหรือสถานที่จัดจำหน่าย) 

  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) 

  • People (คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด ทั้งลูกค้า พนักงาน และพาร์ทเนอร์)

  • Process (กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า) 

  • Physical Evidence (สิ่งที่ลูกค้าจะสัมผัสได้จากเรา เช่น คุณภาพของสินค้า การบริการของพนักงาน หรือการตกแต่งร้านสวย ๆ เป็นต้น)


8Ps Marketing

3. กลยุทธ์การตลาด 8Ps Marketing

เมื่อการแข่งขันทางธุรกิจรุนแรง การสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างแบรนด์กับลูกค้า กลายเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จ กลยุทธ์การตลาดแบบ 8Ps จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่ มุ่งเน้นไปที่การสร้าง "Royalty" หรือความภักดีต่อแบรนด์ กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อซ้ำ บอกต่อ และกลายเป็นผู้สนับสนุนตัวยง ซึ่งกลยุทธ์ 8Ps ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ 8 ประการ ดังนี้

  • Product (สินค้าหรือบริการ)

  • Price (ราคา)

  • Place (ช่องทางหรือสถานที่จัดจำหน่าย) 

  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) 

  • People (คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด ทั้งลูกค้า พนักงาน และพาร์ทเนอร์)

  • Process (กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า) 

  • Physical Evidence (สิ่งที่ลูกค้าจะสัมผัสได้จากเรา เช่น คุณภาพของสินค้า การบริการของพนักงาน หรือการตกแต่งร้านสวย ๆ เป็นต้น)

  • Performance (ประสิทธิภาพของสินค้าและบริการ) 

  • Programs / Partnership (รูปแบบการให้บริการ)



8 กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ที่แนะนำว่าควรทำ จะได้ไม่ตกขบวนธุรกิจยุค 5G

เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ทุกกระแสและเทรนด์เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นยุคที่ทุกคนใช้งานโซเชียลมีเดียออนไลน์กันเป็นหลัก จากรายงานของ We Are Social ทราบว่าคนไทยนั้นมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 85.3% และอยู่ในอันดับ 23 ของโลกเลยทีเดียว นั่นจึงทำให้ธุรกจของคุณต้องแน้นการทำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มากขึ้น หากคุณอยากให้ธุรกิจเติบโตและเข้าถึงผู้คนมากกว่าเดิม และนี่คือ 8 กลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ ที่เราที่แนะนำว่าควรทำ จะได้ไม่ตกขบวนธุรกิจยุค 5G

1. SEO (Search Engine Optimization)

การทำการตลาดผ่านเครื่องมือการค้นหาอย่าง Google, Bing, Yahoo, Naver และ เว็บไซต์เพื่อการค้นหาอื่น ๆ อีกมากมาย โดยการทำ SEO นั้นจะเริ่มจากการสร้างเว็บไซต์ก่อนเพื่อเป็นฐานในการรวบรวมข้อมูล จากนั้นก็ปรับปรุงเว็บไซต์และผลิตคอนเทนต์คุณภาพที่ใช้ Keyword เป็นตัวนำผู้คนบน Search Engine ให้มาเจอกับเว็บไซต์

ข้อดีของการทำ SEO มีดังนี้

  • การเปิดการมองเห็นให้แก่เว็บไซต์

  • ติดอันดับการค้นหาในหน้าแรก

  • เพิ่มยอด Organic Traffic บนเว็บไซต์

  • สร้างความน่าเชื่อถือ และเปลี่ยน “ผู้ชม” ให้กลายเป็น “ลูกค้า” 

2. Google Ads

การทำโฆษณาผ่านช่องทาง Google Search ซึ่งจะมีการใช้ Keyword มาเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกันกับ SEO แต่กลยุทธ์นี้มีค่าใช้จ่ายในการยิงโฆษณา เพื่อทำให้เกิด Traffic เข้ามาบนเว็บไซต์ นั่นจึงทำให้มันมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Paid Search จริงอยู่ที่การทำการตลาดแบบนี้เห็นผลเลยในทันที แต่เนื่องจากมันเป็นการเสียเงิน เมื่อหยุดจ่ายเงินโฆษณาก็จะหยุดลงทันที การทำการตลาดด้วยกลยุทธ์นี้จึงไม่ยั่งยืน 

ข้อดีของการทำ Google Ads มีดังนี้

  • สร้างการรับรู้แบรนด์

  • เพิ่มยอดผู้ใช้งานบนเว็บไซต์

  • เพิ่มยอดลงทะเบียน

  • เพิ่มยอดสั่งจองสินค้า

  • เพิ่มยอดขาย

3. Facebook

คนไทยส่วนใหญ่นิยมเข้าใช้งาน Facebook เป็นประจำ ! การทำการตลาดด้วย Faceook Ads เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด เนื่องจากการทำโฆษณาของ Facebook Ads นั้น จะเน้นไปที่การทำรูปภาพและวิดีโอเพื่อดึงดูดความสนใจและทำให้กลุ่มเป้าหมายหยุดอ่านโฆษณาภายในเวลาเพียงเสี้ยววินาที

ข้อดีของการทำ Facebook มีดังนี้

  • สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก 

  • ช่วยเพิ่มการมองเห็นได้ดี

  • สร้างการรับรู้ได้

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • ช่วยประกอบการพิจารณาในการซื้อสินค้า

  • ช่วยเร่งให้เกิดการซื้อสินค้า และทำให้การปิดการขายง่ายขึ้น

4. TikTok 

นอกจาก Facebbook จะเป็นแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศไทยแล้ว อีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่ฮิตตีคู่มากับ Faceook เลยก็คือ TikTok ด้วยจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และไม่มีทีท่าว่าจะน้อยลง อีกทั้งคอนเทนต์ก็ยังเป็นกระแสได้ง่าย ทำให้สินค้าตัวไหนที่เป็นไวรัลมียอดขายที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน !

ข้อดีของการทำ TikTok มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • สร้างการรับรู้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี 

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • ปิดการขายง่ายขึ้นด้วยฟีเจอร์และระบบหลังบ้านที่ดีของ TikTok

5. Social Media Marketing

จริงอยู่ที่ Platform Online อื่น ๆ อาทิ Facebook และ TikTok นั้นมีส่วนช่วยในการทำให้ธุรกิจเติบโต แต่นอกจาก 2 แพลตฟอร์มนี้แล้ว ยังมีแพลตฟอร์มอื่นอีกมากมายที่ช่วยทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและปิดการขายได้อย่างดี นั่นก็คือ X, Instagram, LinkedIn, LINE หรือ YouTube โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้จะเน้นไปที่การสร้างคอนเทนต์ให้ตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากจะเห็น โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างการรับรู้และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์

แต่การแข่งขันบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ค่อนข้างดุเดือดมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยมันสมองด้านการครีเอทีฟ หากคุณไม่แกร่งจริง ๆ บอกเลยว่า “ยาก” แนะนำให้จ้างเอเจนซี่รับทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะเข้ามาดูแลจะดีกว่า เพื่อประโยชน์สูงสุดและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ข้อดีของการทำ Social Media Marketing มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • สร้างการรับรู้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี 

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

6. e-Commerce Marketing

นี่คือกลยุทธ์การตลาดที่จะช่วยเพิ่มยอดขายของออนไลน์ให้แก่ธุรกิจโดยตรงเลยก็ว่าได้  โดยคุณอาจทำกลยุทธ์นี้บนร้านค้าของตนเอง (เว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่เปิดเอง) หรือจะทำผ่าน Marketplace อย่างพวก Lazada, Shopee, Facebook Marketplace, TikTok Shop หรือ LINE My Shop ก็ได้เช่นกัน

ข้อดีของการทำ e-Commerce Marketing มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • ปิดการขายง่ายขึ้น

7. Influencer Marketing

อาจกล่าวได้ว่ากลยุทธ์ทางการตลาดแบบนี้คือการใช้จิตวิทยาเข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากเป็นการใช้ “ผู้มีอิทธิพลทางความคิด” ในเรื่องนั้น ๆ มาโปรโมตสินค้าและแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านการแนะนำ รีวิว หรือบอกต่อ นั่นเอง เมื่อผู้ที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นได้รับชม ก็จะรู้สึก “เชื่อมั่น” ในสินค้ามากขึ้น จนเกิดการคล้อยตามและซื้อสินค้าเหล่านั้นมาใช้งานในที่สุด

ข้อดีของการทำ Influencer Marketing มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • เข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

  • กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมง่าย

  • สร้างการรับรู้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี 

  • ช่วยประกอบการพิจารณาในการซื้อสินค้า

8. Affiliate Marketing

การที่แบรนด์ให้บุคคลอื่น อาทิ บุคคลทั่วไป อินฟลูเอนเซอร์ หรือบริษัทต่าง ๆ มาโปรโมตสินค้าและขายสินค้าให้แทน โดยนายหน้าจะได้รับส่วนแบ่ง (Commission) ตามเปอร์เซ็นต์ที่แบรนด์กำหนด 

ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing มีดังนี้

  • Win-Win ทั้งสองฝ่าย

  • แบรนด์ไม่ต้องเสียเวลาโปรโมตเอง แค่รอรับออเดอร์และแพ็กสินค้าส่งเท่านั้น 

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย

  • ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

  • ปิดการขายง่ายขึ้น


บทสรุป

และนี่ก็คือสาระดี ๆ ที่เรานำมาฝากคุณในวันนี้ เพราะนี่คือการทำการตลาดในยุค 5G ที่ความไวเป็นเรื่องของปีศาจ กลยุทธ์การตลาด หรือ Marketing Strategy จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม อย่าลืมว่าแบรนด์ของคุณจะโตขึ้นมากแค่ไหน มียอดขายสูงเพียงใด และในระยะยาวจะต่อยอดธุรกิจไปได้ไกลหรือไม่ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการวางกลยุทธ์ทางการตลาดเป็นหลัก !

ทั้งนี้ ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่ากลยุทธ์แบบไหนดีถึงจะช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจของคุณสามารถปรึกษากับทีมผู้เชี่ยวชาญของ Digital Factory เพื่อให้เราวิเคราะห์ธุรกิจและแนะนำแนวทางในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะที่ Digital Factory พร้อมให้บริการ Social Media Marketing และ รับวางกลยุทธ์ทางการตลาด แบบครบวงจร !



ขอบคุณข้อมูลจาก :  Thedigitaltips Tumwai

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

CPAS หรือ Collaborative Ads คืออะไร ช่วยเพิ่มยอดขาย E-Commerce ได้อย่างไร

บทความนี้จะพาคุณไปพบกับ "CPAS" หรือ Collaborative Ads ที่จะช่วยให้คุณสร้างแคมเปญโฆษณาและวิธีการยิง CPAS ให้ตรงใจลูกค้า ทำให้สินค้าขายดีขึ้นกว่าที่เคย

Twitter เปลี่ยนชื่อเป็น X แล้วมีฟีเจอร์ใหม่อะไรเพิ่มเติมมาบ้าง ?

X คืออะไร ? ทำไมต้องเปลี่ยนจากทวิตเตอร์ ? คำตอบอยู่ที่นี่ ! มาเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับ X ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงฟีเจอร์ใหม่ที่คุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

Blogs
รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.